×

วิธีรับมือกับวงจรความคิด ‘ฉันไม่เก่ง’

05.05.2023
  • LOADING...
ความคิด ฉันไม่เก่ง

เมื่อมีความเครียดและกดดันระดับสูงจากความไม่แน่ใจในความสามารถของตนเอง มีแนวโน้มทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และลงมือทำลดลง 

 

ในสังคมที่นิยมการแข่งขัน การเปรียบเทียบ และความสำเร็จ อีกทั้งการเอาตัวรอดจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่องค์กรต้องการลดจำนวนคนลง และต้องการคัดคนที่มีความสามารถไว้กับองค์กรเท่านั้น เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้คนพยายามที่จะมองหาความสามารถของตนเอง ทั้งความสามารถ ‘เฉพาะทาง’ และความสามารถแบบ ‘รอบด้าน’ หลายคนเคยชินกับการหาความรู้และพัฒนาตนเองซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ดี นำพาให้คนคนนั้นไปสู่ความสำเร็จที่ตนเองต้องการ 

 

แต่มีหลายคนที่ตกอยู่ในหลุมพรางของความ ‘เก่ง’ เพราะความเก่งนั้นแม้จะวัดได้ด้วยผลงาน การประเมิน และท่าทียอมรับจากคนอื่นๆ แต่ความรู้สึกเก่งที่สัมผัสได้จริงๆ ภายใน อาจสร้างไม่ง่ายอย่างที่คิด ซึ่งความเชื่อต่อตนเองนี้ส่งผลต่อความรู้สึกหวาดหวั่น กังวล กดดัน และเครียด ทั้งในช่วงของการประเมิน หรือแม้กระทั่งช่วงที่กำลังพัฒนาตนเอง  

 

เมื่อมีความเครียดและกดดันระดับสูงจากความไม่แน่ใจในความสามารถของตนเอง แนวโน้มที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และลงมือทำย่อมลดลง เมื่อผลในการลงมือทำไม่ได้ประสิทธิผลอย่างที่ตนตั้งใจไว้ แต่ต้นยิ่งยืนยันความเชื่อเรื่อง ‘ฉันไม่เก่ง’ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งๆ ที่ความไม่เก่งนี้มาจากความเครียดต่อความสามารถที่มากจนเกินไป หากเกิดวงจรอย่างนี้ซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการกล่าวโทษตนเอง และเชื่ออย่างเข้มงวดว่าตนเองไร้ความสามารถ เกิดเป็นความคิดอคติชนิด Self-Fulfilling Prophecy นำไปสู่ความพยายามและการลงมือทำที่น้อยลง หมกมุ่นและเลือกจดจำเฉพาะสิ่งที่ผิดพลาดและล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และอาจนำไปสู่ความเศร้าที่กล่าวโทษว่าตนเองไร้คุณค่า ทำให้ลดการทำงานร่วมกับคนอื่น และอาจนำไปสู่การลาออก ต่อไปนี้คือวิธีรับมือกับวงจรความคิดและพฤติกรรม ‘ฉันไม่เก่ง’ 

 

  1. รู้ทันความคิดอัตโนมัติที่ผ่านเข้ามา โดยเฉพาะความคิดอัตโนมัติเชิงลบที่เกี่ยวกับตนเองและคุณค่าในงาน โดยการรู้เท่าทันความคิดเป็นทักษะที่ฝึกฝนได้ ผ่านการทบทวนและจดบันทึก รวมทั้งหาวิธีในการผ่อนคลายความเครียด เพื่อให้กลับมามีประสิทธิภาพในการทำงานได้คล้ายเดิม

 

  1. ทบทวนความคิด เพราะความคิดว่าฉันไม่เก่ง เกิดจากความขัดแย้งกับความเชื่อในตัวเอง และการวางเงื่อนไขที่ไม่สมเหตุสมผล เช่น หากฉันได้คำชมเท่ากับหัวหน้าไม่รู้จักฉันจริงๆ ‘ที่ฉันทำได้ดีเพราะโชคช่วย’ ให้ลองทำตาราง เขียนสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง แบ่งเป็นสองฝั่งว่าส่วนไหนของความคิดเป็นส่วนที่เป็นจริง ส่วนไหนไม่เป็นจริง หลังจากทบทวนความคิดตามความเป็นจริงแล้ว กลับมาสังเกตความรู้สึกต่อตนเองว่าเปลี่ยนไปอย่างไร

 

  1. จากการทบทวนความคิดที่มีต่อตนเอง อาจพบได้ว่ามีความคิดบางส่วนไม่เป็นความจริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์ได้ระดับหนึ่ง ในส่วนความจริงที่อาจจะเป็นจริงว่า ‘ฉันมีส่วนไม่เก่ง’ อันเกิดจากความผิดพลาด อาจฝึกการยอมรับว่าความสมบูรณ์แบบไม่มีจริง แม้จะตั้งใจทำอย่างดีที่สุด การเกิดข้อผิดพลาดบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา ความผิดพลาดคือการเรียนรู้ และการยอมรับในความผิดพลาดเป็นหนึ่งวิธีในการพัฒนาตนเอง 

 

  1. นอกเหนือจากความสุขในผลงาน มองหาความสุขจากการลงมือทำ ความตั้งใจ ความรู้สึกดีในความพยายาม และความสำเร็จทางใจจากการทำงานหรือการเรียนที่ยุ่งยากและมีอุปสรรค ความร่วมมือกับตนเอง ความช่วยเหลือและเอื้ออำนวยจากผู้อื่น ล้วนแต่เป็นมุมมองความรู้สึกดีที่อาจถูกละเลยไป   

 

  1. ความสำเร็จไม่ได้มาจาก ‘เรา’ เท่านั้น เพราะปัจจัยของความสำเร็จอาจประกอบด้วยหลายอย่าง ทั้งความสามารถ ทีมงาน หรือจังหวะเวลา การมองปัจจัยของความสำเร็จได้ตามความเป็นจริงจะช่วยลดความกังวลต่อความสามารถของตนเองได้

 

  1. สื่อสารความต้องการ อุปสรรค และความผิดพลาดที่ได้เรียนรู้กับผู้ร่วมงาน เพื่อเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพราะในบางงานปัจจัยของความสำเร็จขึ้นอยู่กับทั้งตนเองและผู้อื่น การสื่อสารระหว่างกันเป็นระยะก่อนการต้องแสดงผลงาน อาจช่วยให้เราเกิดประสบการณ์ทางความคิดต่อเรื่องความสำเร็จในรูปแบบใหม่ 

 

  1. ลดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นโดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ เพราะในโลกออนไลน์ที่คนมักแสดงความสำเร็จให้ผู้อื่นเห็น อาจมีที่มาที่ไปที่ยากลำบากโดยที่เราไม่เข้าใจทั้งหมด ความสำเร็จที่เรามองเห็นอาจไม่จริงเสมอไปในแบบที่เรากำลังรับรู้ 

 

  1. ในเพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้างควรให้คำชมและตำหนิตามความเป็นจริง ไม่พร่ำเพรื่อ ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง ควรระมัดระวังการตีตรา และลดการเปรียบเทียบ เพราะมนุษย์แต่ละคนมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน และความสำเร็จไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะทำให้คนเรามีความสุข

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising