×

KKP เผยธุรกิจอสังหาฯ ปีนี้ชะลอตัว ชี้ยูนิตโครงการเปิดใหม่ในไทยต่ำแสนตลอดปี 2564-2565

20.04.2021
  • LOADING...
KKP เผยธุรกิจอสังหาฯ ปีนี้ชะลอตัว ชี้ยูนิตโครงการเปิดใหม่ในไทยต่ำแสนตลอดปี 2564-2565

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) สายงานสินเชื่อธุรกิจระบุว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะยอดขายยังชะลอตัว เพราะผู้ประกอบการไม่เร่งเปิดโครงการใหม่เนื่องจากความไม่แน่นอนต่างๆ โดยปี 2563 มีจำนวนยูนิตโครงการใหม่อยู่ที่ 72,752 ยูนิต ลดลง 34% จากปี 2562 และลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี

 

ทั้งนี้ KKP คาดว่าจำนวนยูนิตโครงการใหม่ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียมปี 2564-2565 จะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังน้อยกว่าช่วงปกติในปี 2562 ที่อยู่ระดับ 111,244 ยูนิต ซึ่งมีสัดส่วนยูนิตคอนโดมิเนียมอยู่ที่ 59% ของยูนิตทั้งหมด

 

  • ปี 2564 คาดว่าจะมีจำนวนยูนิตโครงการใหม่ 86,576 ยูนิต เพิ่มขึ้น 19% จากปี 2563 แบ่งเป็นแนวราบ 46,846 ยูนิต แนวสูง (คอนโดมิเนียม) 25,906 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 36% ของยูนิตทั้งหมด 

 

  • ปี 2565 คาดว่าจะมีจำนวนยูนิตโครงการใหม่ 93,945 ยูนิต เพิ่มขึ้น 8.5% จากปี 2564 แบ่งเป็นแนวราบ 56,810 ยูนิต แนวสูง (คอนโดมิเนียม) 37,135  ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 40% ของยูนิตทั้งหมด

 

อย่างไรก็ตาม ปี 2563 ที่ผ่านมายอดขายที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลปีลดลงต่อเนื่องมาสู่ระดับ 66,279 ยูนิต ลดลง 35% จากปี 2562 ซึ่งคิดเป็นอัตราขายได้ต่อจำนวนยูนิตเสนอขายทั้งหมดที่ 22% ลดลงจากปี 2562 ที่อยู่ 31% 

 

ทั้งนี้จากแนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น คาดว่าปี 2564 จะมีอัตราขายได้ต่อจำนวนยูนิตเสนอขายทั้งหมดที่ 24% และปี 2565 อยู่ที่ 25% ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเพราะการชะลอเปิดโครงการใหม่ๆ ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 

 

นอกจากนี้คาดว่าปี 2564 จะเห็นผู้ประกอบการเร่งพัฒนาโครงการแนบราวราคา 3-5 ล้านบาท ทั้งในรูปบบทาวน์เฮาส์ บ้านแฝดและบ้านเดี่ยว เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อและมีควาต้องการอยู่อาศัยจริง โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มาก 

 

เบื้องต้นคาดว่ายอดขายคอนโดมิเนียมปี 2564 จะชะลอตัวอยู่ที่ 30,000-32,000 ยูนิต แต่ปีนี้คาดว่ายอดขายทาวน์เฮาส์จะดีขึ้นจากปี 2563 สู่ระดับ 26,000 ยูนิตขึ้นไป 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising