ศาลอุทธรณ์ของสหรัฐฯ ตัดสินว่า Johnson & Johnson ไม่สามารถให้บริษัทลูกเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเพื่อปกป้องตัวเองจากหนี้สินที่เกิดจากการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แป้งเด็ก ส่งผลให้หุ้นของบริษัทลดลงมากถึง 4% กว้างล้างมาร์เก็ตแคปไป 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 5.6 แสนล้านบาท
Johnson & Johnson เผชิญคดีเกี่ยวกับโรคมะเร็งกว่า 40,000 คดี โดยกล่าวหาว่าแป้งฝุ่นสูตรเด็กมีการปนเปื้อนสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่อผู้ใช้ ซึ่งทาง Johnson & Johnson ได้ยึดมั่นในสูตรแป้งเด็ก และปฏิเสธว่ามีส่วนผสมของแร่ใยหินที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
เพื่อต่อสู้กับปัญหาการเงินที่ค้างคาจากคดีความที่ยืดเยื้อ Johnson & Johnson ใช้กลยุทธ์ทางกฎหมายที่เรียกว่า ‘Texas Two-Step’ ได้ก่อตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อ LTL Management และโอนหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับคดีความเกี่ยวกับแป้งเด็กไปยังหน่วยงานดังกล่าว หลังจากนั้นได้ยื่นล้มละลายภายใต้ Chapter 11 เพื่อขอความคุ้มครองทางกฎหมายจากศาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- สู้ไม่ไหว ก็ล้มซะเลย! Johnson & Johnson ให้บริษัทลูกยื่น ‘ล้มละลาย’ ในคดีแป้งฝุ่นก่อมะเร็ง
- Johnson & Johnson ประกาศจะยุติการผลิตแป้งเด็กที่ทำจากแร่ทัลก์ในปี 2023 โดยจะเปลี่ยนไปผลิตแป้งเด็กจากแป้งข้าวโพดแทน
- ตามคาด! Genesis บริษัทสินเชื่อคริปโตยักษ์ใหญ่ของโลก ยื่นล้มละลายหลังขาดสภาพคล่อง
หากศาลอุทธรณ์มองว่า การให้บริษัทในเครือยื่นล้มละลายนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะบริษัทไม่ได้ประสบปัญหาทางด้านการเงิน หลังคำตัดสินออกมาทาง Johnson & Johnson ยืนยันว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อไป
ทนายความของโจทก์และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายบางคนโต้แย้งกลวิธีที่ Johnson & Johnson หยิบมาใช้อาจเป็นตัวอย่างให้บริษัทอื่นๆ ทำตาม เพื่อหลีกเลี่ยงการฟ้องร้อง
ลินด์ซีย์ ไซมอน ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยจอร์เจีย กล่าวว่า “เป็นการตอกย้ำความคิดที่ว่า บริษัทใดก็ตามสามารถใช้กลวิธีเดียวกันนี้เพื่อจำกัดความรับผิดฐานละเมิดจำนวนมากได้”
รายงานของ Reuters ชี้ว่า การยื่นฟ้องล้มละลายมักจะระงับการดำเนินคดีในศาล บังคับให้โจทก์เข้าสู่การเจรจาประนอมหนี้ที่ใช้เวลานาน ในขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขาไม่สามารถดำเนินคดีในศาลที่พวกเขาฟ้องร้องได้
อ้างอิง: