×

เสริมแกร่งธุรกิจด้วย Innovation Management สุดยอดโมเดลการบริหารจัดการองค์กรยุค Now Normal

18.03.2021
  • LOADING...
เสริมแกร่งธุรกิจด้วย Innovation Management สุดยอดโมเดลการบริหารจัดการองค์กรยุค Now Normal

HIGHLIGHTS

  • วิกฤตโควิด-19 สร้างบรรทัดฐานใหม่ในทุกวงการธุรกิจ ต้องเผชิญความท้าทายรุนแรงให้ทุกองค์กรต้องปรับตัว สู่ยุค Now Normal หรือยุคที่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กลายเป็นเรื่องธรรมดา
  • Gartner ระบุว่า หัวใจหลักของการจัดการองค์กรยุคปัจจุบันควรเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับบุคลากร กลายเป็นเทรนด์การบริหารที่เปลี่ยนโลกการทำงานในปีนี้
  • การที่บุคลากรทุกระดับสามารถมีแนวคิดเชิงนวัตกรรมได้ องค์กรต้องสร้างบรรยากาศการทำงานแบบเปิดกว้าง สร้างสรรค์ ผ่านการใช้นวัตกรรมการจัดการที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบการบริหาร ไม่ยึดติดกับรูปแบบการปฏิบัติ
  • เป้าหมายการบริหารจัดการรูปแบบนี้ไม่ได้มุ่งเน้นผลกำไรอย่างเดียว แต่เน้นพัฒนาศักยภาพให้แต่ละคนบรรลุเป้าหมายการทำงาน ช่วยให้องค์กรเติบโตยั่งยืน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในวันนี้การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสิ่งที่เราทำ รวมถึงทุกวงการธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างรุนแรง เรียกได้ว่าเป็นเสมือนตัวเร่งให้ทุกคน ทุกองค์กร ต้องปรับตัว รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ให้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อให้อยู่รอดภายใต้บริบทของโลกใบเดิมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปในยุค ‘Now Normal’ หรือยุคที่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กลับกลายมาเป็นเรื่องธรรมดา 

 

คำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ การบริหารจัดการแบบใดที่จะช่วยนำพาองค์กรพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเติบโตได้ในสถานการณ์เช่นนี้

 

จากการศึกษาของ Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก เผยว่า หัวใจหลักของการบริหารจัดการองค์กรยุคปัจจุบันควรเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับบุคลากร ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกระเพื่อมให้องค์กรขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จมากที่สุด อีกทั้งจะกลายมาเป็นเทรนด์การบริหารองค์กรที่จะเปลี่ยนโลกการทำงานในปีนี้

 

เทรนด์การบริหารจัดการองค์กรในระดับโลก

  • การปรับองค์กรให้ Flat & Lean เพื่อให้กระบวนการตัดสินใจสามารถทำได้คล่องตัวขึ้น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที ลดงบประมาณการจ้างงานในตำแหน่งที่ไม่จำเป็น
  • ส่งเสริมประสบการณ์การใช้ชีวิตของพนักงาน ด้วยการสนับสนุนความต้องการพื้นฐานของพนักงาน ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสุขภาพทางการเงิน (Financial Health) เพียงอย่างเดียว แต่ความมั่นคงทางด้านจิตใจหรือสุขภาพจิต (Mental Health) ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกัน
  • ความยืดหยุ่นในการทำงาน (สถานที่และเวลาในการทำงาน) ในปีที่ผ่านมา การเข้าทำงานในออฟฟิศไม่จำเป็นอีกต่อไป หลายบริษัทเริ่มมีการปรับนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้านเพื่อความสะดวกและปลอดภัยกับสุขภาพ
  • ให้คุณค่ากับการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมือง (Societal and Political) องค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องปรับตัวให้มีการแสดงออกทางการเมืองและสังคมอย่างเหมาะสม เนื่องจากพนักงานยุคใหม่ให้คุณค่ากับการมีส่วนร่วมทางสังคม สิ่งนี้จะส่งผลให้พนักงานทุ่มเททำงาน เพื่อพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พวกเขาเชื่อว่าก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้

  

ปรับให้ถูกจุด ก้าวข้ามแนวคิดบริหารธุรกิจที่ล้าหลัง

 

 

ในยุคปัจจุบันกระแสสังคมแบบ Now Normal ที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกำลังมาแรง และถูกนำมาปรับใช้ในทุกแวดวง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นต่างเป็นสิ่งใหม่ หากองค์กรใดหยุดปรับตัวอาจจะตกอยู่ในสถานะที่เรียกว่า ‘ล้าหลัง’ ได้ อิทธิพลของกระแสสังคมดังกล่าวส่งผลให้องค์กรต้องปรับแนวคิดของบุคลากรในทุกระดับให้เป็นแบบ Innovative Thinker หรือการเป็นนักคิดเชิงนวัตกรรมมากขึ้น

 

การที่บุคลากรในทุกระดับจะสามารถมีแนวคิดเชิงนวัตกรรมได้นั้น องค์กรหรือฝ่ายบริหารต้องสร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเปิดกว้างและสร้างสรรค์ ผ่านการปรับใช้ Innovation Management หรือนวัตกรรมการจัดการ ที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหาร ให้ก้าวทันทุกการเปลี่ยนแปลง ไม่ยึดติดกับรูปแบบปฏิบัติ กระบวนการทำงาน หรือแบบแผนเดิม โดยมีหัวใจสำคัญดังนี้

 

  • Flexibility คือการที่โครงสร้างองค์กรหรือระบบการบริหารงานภายในองค์กรสามารถถูกปรับให้ยืดหยุ่น ตอบรับกับสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ สามารถรวบรัดสายการสั่งการที่ไม่จำเป็น เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรได้อย่างทันท่วงที
  • Equity พนักงานสามารถเข้าถึงทรัพยากรด้านการดำเนินงานและแหล่งข้อมูลในองค์กร รวมถึงให้สิทธิ์ในการตัดสินใจในเรื่องที่ส่งผลกระทบสำคัญต่อองค์กร ตลอดจนการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
  • Ecosystem: การให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร-ระบบนิเวศ-กลุ่มเป้าหมาย ทำให้การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น

 

โดยเป้าหมายของการบริหารจัดการในรูปแบบนี้ไม่ได้เน้นไปที่ความสำเร็จด้านผลกำไรของบริษัทเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งไปที่การพัฒนาศักยภาพให้แต่ละคนบรรลุเป้าหมายในการใช้ชีวิตและการทำงาน ผ่านการผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ในแง่ของการสร้างคุณค่าให้กับสังคม รวมทั้งสร้างสินค้าหรือบริการที่เป็นประโยชน์ เป็นที่ต้องการของระบบนิเวศ หรือ Ecosystem นั้นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้องค์กรหรือธุรกิจสามารถเติบโตในอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

 

การเข้าถึงหลักการบริหารจัดการในระดับสากลนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะศูนย์วิจัยการจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (IMRC) ภายใต้ความดูแลของศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ร่วมกับสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) สู่การเป็นแหล่งรวมหลักสูตรองค์ความรู้จากเครือข่ายองค์กรชั้นนำต่างๆ ระดับโลกด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมและการทรานส์ฟอร์มองค์กร เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้คุณภาพแห่งการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กร และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในประเทศไทย 

 

โดยผู้ที่สนใจศึกษาหลักสูตรการบริหารจัดการนวัตกรรม และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายผู้นำผู้บริหารระดับสูงขององค์กรไทยผ่านทาง SEAC สามารถทำได้โดยลงทะเบียนผ่านทาง https://bit.ly/3qzselC

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising