×

IMF แนะ Fed หากต้องการบรรลุเป้าหมายเสถียรภาพทางราคา ต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4-5% นานเกิน 1 ปี

19.02.2023
  • LOADING...

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดที่ 4-5% และคงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้นานกว่า 1 ปี จะช่วยให้ Fed บรรลุเป้าหมายเสถียรภาพทางราคา และการจ้างงานอย่างเต็มที่ (Full Employment) ได้

 

จากการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ของ IMF โดยใช้แบบจำลอง FRB/US ของ Fed แสดงให้เห็นว่า เพื่อให้ Fed บรรลุเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคา และการจ้างงานอย่างเต็มที่ (Full Employment) Fed ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแตะ 4-5% และคงอัตราดังกล่าวไว้ประมาณ 1 ปี – 1 ปีครึ่ง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะทำให้ความต้องการแรงงานลดลง และเพิ่มการว่างงานเล็กน้อย โดยสิ่งนี้จะลดแรงกดดันในการขึ้นค่าจ้างและราคาจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ ซึ่งจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อในที่สุด

 

ขณะที่ Andrew Hodge ผู้เขียน และนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำ Western Hemisphere Department ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อธิบายว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพด้านราคา และสร้างความสมดุลให้กับตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตาม ความต้องการจ้างงานใหม่ยังมีมากกว่าอุปทานแรงงานที่มีอยู่ในสหรัฐฯ เห็นได้จากอัตราการว่างงานที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 50 ปี และสิ่งนี้ก็มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

 

 

เงินเฟ้อรอบนี้มาได้อย่างไร?

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2021 การเพิ่มขึ้นของราคาจำกัดอยู่ในเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักที่เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่เท่านั้น เช่น ยานพาหนะ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี 2022 ภาวะเงินเฟ้อได้แพร่กระจายไปยังที่อยู่อาศัยและบริการอื่นๆ เช่น โรงแรมและร้านอาหาร ทำให้ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ Fed ให้ความสำคัญ ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5.5% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ 2%

 

ทำไมตลาดแรงงานสหรัฐฯ ถึงร้อนแรง?

ตั้งแต่กลางปี 2021 เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ความต้องการแรงงานจึงแซงหน้าอุปทาน ‘ไปมาก’ ทำให้คนงานมีแนวโน้มที่จะลาออกจากงานและมองหางานใหม่ นอกจากนี้การเกษียณอายุก่อนกำหนดยังทำให้อุปทานของคนงานที่มีอยู่ลดลง ในที่สุดปัจจัยเหล่านี้ได้เพิ่มอำนาจต่อรองของคนงานในการเจรจาขึ้นค่าจ้าง ซึ่งมีส่วนทำให้ทั้งค่าจ้างและเงินเฟ้อสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต้องขึ้นราคา เพื่อให้ชดเชยต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น โรงแรม และร้านอาหาร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X