NASA เผยภาพถ่ายวัตถุคล้าย ‘ดอกกุหลาบ’ จากฝุ่นก๊าซและดวงดาวต่างๆ ในกาแล็กซีแอนโดรเมดา สุดตระการตาจากกล้องฮับเบิล
แอนโดรเมดาเป็นกาแล็กซีประเภทกังหันมีคาน คล้ายกับทางช้างเผือก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 152,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,500,000 ปีแสง โดยบริเวณที่กล้องฮับเบิลถ่ายภาพได้ คือกระจุกดาวที่ซ่อนอยู่ใต้ฝุ่นก๊าซ ณ พื้นที่ของแขนกังหันตอนบนของกาแล็กซี
ข้อมูลจากอุปกรณ์ ACS และ WFC3 ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ช่วยให้นักดาราศาสตร์มองทะลุผ่านฝุ่นก๊าซและพลาสมาที่ห้อมล้อม เผยให้เห็นรายละเอียดของดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัว ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาต้นกำเนิดและวิวัฒนาการดาวฤกษ์ของนักดาราศาสตร์
ด้วยระยะห่าง 2,500,000 ปีแสง หรือประมาณ 23,652,000,000,000 ล้านกิโลเมตร แอนโดรเมดายังเป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้โลกที่สุด และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการทำความเข้าใจความคล้ายหรือแตกต่างของกาแล็กซีทั้งหลายในจักรวาล ซึ่งมีระยะห่างหลายสิบล้านปีแสงจากโลก
ในปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบว่ากาแล็กซีแอนโดรเมดาและทางช้างเผือกกำลังเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยความเร็ว 110 กิโลเมตรต่อวินาที และจะควบรวมกันเป็นกาแล็กซีใหม่ในช่วงเวลา 2,000-4,000 ล้านปีจากนี้ แต่ในระหว่างนั้น แอนโดรเมดายังคงเป็นเป้าหมายสำคัญในการศึกษาของนักดาราศาสตร์ จากระยะห่างไกลแต่ใกล้ที่สุดแล้ว
ภาพ: NASA, ESA, M. Boyer (Space Telescope Science Institute), and J. Dalcanton (University of Washington)
อ้างอิง: