การตายของพะยูนน้อยมาเรียมเพราะกินพลาสติกไม่ใช่ปัญหาใหม่ในเมืองไทย เนื่องจากปัญหาขยะในทะเลสร้างผลกระทบให้กับสิ่งมีชีวิตมานานแล้ว เต่าตนุกินขยะทะเลตาย ซากโลมาเกยตื้นที่พบกล่องเครื่องดื่มและหลอดดูดในกระเพาะอาหาร นี่แค่ผลกระทบที่เกิดขึ้นในน่านน้ำทะเลไทย ยังไม่นับรวมปัญหาขยะจากทะเลทั่วโลกที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งขยะที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ คือขยะพลาสติก โดยเฉพาะขยะพลาสติกประเภท Single Use
ต่อให้องค์กรระดับประเทศออกมารณรงค์ บริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตเครื่องกำจัดขยะที่ดีที่สุด แต่ถ้ามนุษย์ทุกคนยังไม่ตระหนักถึงปัญหานี้ สัดส่วนการใช้ขยะพลาสติกแบบ Single Use ต่อวันต่อคนมากกว่าสัดส่วนการกำจัด ไม่มีวันที่ปัญหานี้จะหายไปจากโลก
หลายประเทศทั่วโลกเอาจริงกับวิกฤตนี้ โดยเฉพาะประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ล้วนแล้วแต่มีโครงสร้างและระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพทั้งในมุมของวิธีกำจัดขยะที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
โลกที่ปราศจากการใช้พลาสติก 100% ดูไม่น่าจะเป็นจริงได้ ดังนั้นทางออกที่ทำได้จริงเห็นจะเป็นการจัดการขยะด้วยวิธีที่ถูกต้องและแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน นั่นคือการยืดอายุวัสดุให้เป็นขยะช้าลงด้วยการเปลี่ยนขยะพลาสติกไร้ค่าให้มีมูลค่า หรือที่เรียกว่า Upcycle หลายประเทศทั่วโลกก็นำวิธีนี้ไปใช้ แค่เปลี่ยนมุมมองใหม่ให้ขยะพลาสติก เติมความคิดสร้างสรรค์เข้าไป โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพที่ใช้พลังงานหรือกระบวนการทางเคมีให้น้อยที่สุด
Green Capital แห่งแรกของทวีปยุโรปอย่างสวีเดนที่ปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในประเทศรู้จักแยกขยะและนำไปทิ้งในที่ที่เทศบาลจัดเตรียมไว้ให้ และยังมีศูนย์รับขยะของชุมชนและของรัฐบาล มีการแยกขยะเป็นประเภทเพื่อนำไปรีไซเคิล ของบางอย่างยังใช้การได้ดี แค่ใส่ไอเดียเข้าไปก็กลายเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycle
ทางฝั่งแคนาดาก็ใช้แนวคิด Upcycle เปลี่ยนกระป๋องน้ำอัดลมที่ผลิตจากอะลูมิเนียมมาหลอมและผลิตเป็นกระป๋องใหม่ ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ๆ ลดการถลุงแร่อะลูมิเนียม ลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะจากเหมือง ลดโลกร้อน
สายแฟชั่นน่าจะรู้จักแบรนด์ Freitag จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่เปลี่ยนผ้าใบคลุมรถบรรทุกไร้ค่า สายเข็มขัดนิรภัยเก่าๆ ใส่ไอเดียและคอนเซปต์เจ๋งๆ เข้าไปก็กลายเป็นแบรนด์กระเป๋าที่ดังไปทั่วโลก หรือแบรนด์ Kozm ที่ผลิตเสื้อยืด หมวก และกระเป๋าจากผ้าฝ้ายที่ผ่านกระบวนการ Upcycle และวัสดุที่ได้จากการรีไซเคิล ขวด PET รวมทั้งผ้าขนหนูสำหรับการเล่นโยคะที่ผลิตจากผ้าเช็ดตัวเก่าในห้องซาวน่า
บ้านเราก็เริ่มมีกลุ่มธุรกิจให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ หนึ่งในนั้นคือ อิชิตัน กรุ๊ป ที่จับมือกับ Qualy ผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เปิดตัวโครงการ Ichitan Green Factory Zero Waste นำขวดพลาสติกที่ชำรุดและไม่ผ่านมาตรฐานจากกระบวนการผลิตในโรงงานเข้าสู่กระบวนการ Upcycle เปลี่ยนขยะพสาสติกเป็นของตกแต่งบ้านดีไซน์เก๋และลดภาระการย่อยสลายของธรรมชาติ ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกได้กว่า 10 ตัน เทียบเท่ากับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 52,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเท่ากับการปลูกป่า 30 ไร่ หรือปลูกต้นสักได้ถึง 3,000 ต้น เช่น ที่เก็บถุงพลาสติกสำหรับใช้ซ้ำรูปวาฬ Moby 1 ชิ้น ผลิตจากขวด PET ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการผลิตจำนวน 28 ขวด หรือ Oasis Tray ถาดวางของอเนกประสงค์ 1 ชิ้น ผลิตจากขวด PET 56 ขวด ช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้กลายเป็นขยะช้าลงได้อย่างมากทีเดียว
Oasis Tray 1 ชิ้น ผลิตจากขวด PET 56 ขวด
จากขวดพลาสติกไร้ค่าที่คนเมินกลายเป็นที่รองแก้วที่ใครก็หันมอง
ขวดพลาสติก 8 ขวด สามารถสร้าง Micro Green House บ้านใส่กระถางต้นไม้ไซส์จิ๋ว
Forest Party Fork เซตไม้จิ้มผลไม้แฟนซี ผลิตจากขวด PET 7 ขวด
ผลิตภัณฑ์คอลเล็กชันสัตว์ในโครงการ Ichitan Green Factory Zero Waste ได้แรงบันดาลใจมาจากสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาขยะในทะเลจนเป็นข่าวสะเทือนใจ เพื่อสื่อสารความตั้งใจในการลดปัญหาขยะของอิชิตัน กรุ๊ป และ Qualy ตามแนวคิดในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และมุ่งมั่นที่จะจุดประกายความคิดให้ผู้คนได้เล็งเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใกล้ตัว และส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก การสร้างมูลค่าและคุณค่าใหม่ให้ขยะ
ที่เก็บถุงพลาสติกสำหรับใช้ซ้ำรูปวาฬ Moby 1 ชิ้น ผลิตจากขวด PET ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการผลิตจำนวน 28 ขวด
กระบวนการ Upcycle ทำให้ขวด PET 3 ขวดไม่กลายเป็นขยะ แต่กลายเป็นที่ใส่คอตตอนบัดม้าน้ำน่าใช้
เทียบกันให้เห็น ใช้ขวด PET ขนาด 420 มล. ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน
ผ่านกระบวนการ Upcycle แล้วจะกลายมาเป็นของแต่งงานบ้านสุดเก๋อะไรบ้าง
แม้ว่าสัดส่วนคนที่ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อหวังจะแก้ปัญหาวิกฤตขยะล้นโลกจะน้อยกว่าคนทิ้งขยะ แต่ใครเลยจะรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยอาจสร้างแรงสั่นสะเทือนเป็นวงกว้างสักวัน คุณเองก็เช่นกัน ไม่ต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติวิถีชีวิตแบบสุดโต่ง เริ่มจากเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว เปลี่ยนขยะ Single Use บางประเภทด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ เช่น ถุงหิ้ว แก้วกาแฟ หรือง่ายกว่านั้นก็แค่หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการ Upcycle ยิ่งใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากขึ้น จำนวนขยะพลาสติกที่ไร้ค่าก็ลดลง เปลี่ยนเป็นขยะพลาสติกที่มีมูลค่า
ชวนดูสารพัดวิธีตายอย่างไรไม่ให้เป็นภาระโลก
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
อ้างอิง:
- รายการ ทันโลก ช่อง Thai PBS program.thaipbs.or.th/Tunlok/episodes/41403%20#ThaiPBS
- www.ditp.go.th