×

เกร็ดน่ารู้ การเลือกตั้งในประชาคมโลกปี 2019

29.03.2019
  • LOADING...

ในปี 2019 นี้ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นในหลายๆ ประเทศทุกทวีปทั่วโลก โดยในปีนี้พลเมืองโลกเกือบ 2 พันล้านคนใน 53 ประเทศ จะได้ใช้สิทธิเลือกตั้งในปีนี้ โดยอินเดียจะจัดการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่สุดในโลกขึ้น ซึ่งมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงกว่า 800 ล้านคน ตามมาด้วยอินโดนีเซียและไนจีเรีย ในขณะที่จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยอยู่ที่ราว 51.2 ล้านคน

 

ประเทศส่วนใหญ่ในประชาคมโลก รวมทั้งประเทศไทย กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 16-21 ปี จึงจะมีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายในแต่ละประเทศกำหนด เช่น ประเทศแถบลาตินอเมริกาอย่าง บราซิล, อาร์เจนตินา, นิการากัว กำหนดให้ผู้มีอายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ก็สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้แล้ว ในขณะที่บางประเทศต้องมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เช่น มาเลเซีย, สิงคโปร์

 

โดย นิวซีแลนด์ ถือเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุญาตให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งได้ เมื่อปี 1893 ในขณะที่ผู้หญิงไทยมีสิทธิเลือกตั้งและลงรับสมัครเลือกตั้งได้เป็นครั้งแรก เมื่อปี 1932 ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นที่กระแสความเท่าเทียมกันทางเพศเริ่มเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

 

นอกจากนี้ผู้นำประเทศส่วนใหญ่สามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 1-2 วาระเท่านั้น แต่ก็ยังมีในบางประเทศ เช่น  แคนาดา, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, เวเนซุเอลา เป็นต้น ที่ผู้นำประเทศสามารถดำรงตำแหน่งกี่วาระก็ได้ ตราบที่ยังได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภาหรือจนกว่าจะยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ

 

โดยประเทศที่มีผู้นำทางการเมืองอยู่ในอำนาจติดต่อกันยาวนานที่สุด (เกิน 30 ปี) ได้แก่ แคเมอรูน อิเควทอเรียลกินี, กัมพูชาและยูกันดา

 

 

ภาพประกอบ: Karin Foxx.

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X