×

รู้จัก ‘ค่าดัชนีความร้อน’ ระดับไหนทำให้เกิด Heatstroke

โดย THE STANDARD TEAM
05.04.2023
  • LOADING...
Heatstroke

ทำความรู้จัก ‘ค่าดัชนีความร้อน’ ค่าความร้อนที่แตกต่างจากค่าของ ‘อุณหภูมิอากาศ’ ในสภาพอากาศที่ร้อน แต่ร่างกายเรารู้สึกร้อนกว่า 

 

 Heatstroke

 

ค่าดัชนีความร้อน คืออุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ว่าขณะนั้นอากาศร้อนเท่าไร เป็นสภาวะที่ทำให้ร่างกายเรารู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิตามจริง 

 

หมายเหตุ: ดัชนีระดับความร้อน 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปทำให้เกิดการเจ็บป่วย มี 4 ระดับ 

 

  • ระดับเฝ้าระวัง แทนค่าดัชนีความร้อน 27-32 องศาเซลเซียส 

ผลต่อร่างกาย: อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว

  • ระดับเตือนภัย แทนค่าดัชนีความร้อน 32-41 องศาเซลเซียส
    ผลต่อร่างกาย: อาการตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด 
  • ระดับอันตราย แทนค่าดัชนีความร้อน 41-54 องศาเซลเซียส
    ผลต่อร่างกาย: ตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด อาจเกิดภาวะลมแดด (Heatstroke) 
  • ระดับอันตรายมาก แทนค่าดัชนีความร้อนมากกว่า 54 องศาเซลเซียส
    ผลต่อร่างกาย: เกิดภาวะลมแดด (Heatstroke) ตัวร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้หากสัมผัสความร้อนติดต่อกันหลายวัน 

 

หมายเหตุ: อุณหภูมิอากาศ คือปัจจัยพื้นฐานในการศึกษาสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา ปี ฤดูกาล เดือน และวัน 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

อ้างอิง: กรมอุตุนิยมวิทยา

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising