×

ถอดแนวคิด ‘โครงการออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพ’ กลยุทธ์วางฐานรากให้คนไทยสร้างรากฐานทางอาชีพอย่างยั่งยืน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
24.01.2022
  • LOADING...
โครงการออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพ

HIGHLIGHTS

3 mins. read
  • ธนาคารออมสิน ในฐานะธนาคารเพื่อสังคม ผลักดัน ‘โครงการออมสินสร้างงานสร้างอาชีพ’ วางนโยบายฟื้นฟูและช่วยเหลือประชาชนผู้ตกงานหรือขาดรายได้ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘4 ให้’ ได้แก่ ให้ทักษะ ให้เงินทุน ให้อุปกรณ์ และให้พื้นที่ค้าขาย
  • เปิดตัวโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ เตรียมเงินทุนสนับสนุนโครงการไว้ 5,000 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายส่งเสริมให้ผู้ที่เดือดร้อน หรือผู้ที่ตกงานได้กว่า 7 หมื่นราย รวมถึงการมอบเงื่อนไขพิเศษ ดอกเบี้ย 3.99% นาน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก และมีวงเงิน 10,000-300,000 บาท

ผลกระทบที่เลี่ยงไม่ได้จากการประกาศล็อกดาวน์ในหลายประเทศและยังคงเกิดขึ้นอีกหลายระลอก คือจำนวนผู้ตกงานเพิ่มมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการเยียวยาของรัฐบาลหรือภาคส่วนที่สามารถช่วยเหลือได้ในประเทศต่างๆ ก็พยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาระยะสั้น และปัญหาระยะยาว มาตลอด 2 ปี 

 

อย่างการสนับสนุนค่าจ้างในสหราชอาณาจักรโดยให้เงิน 80% ของค่าจ้างต่อเดือนก่อนหักภาษีสูงสุดไม่เกิน 2,500 ปอนด์ หรือประมาณ 111,000 บาท ต่อเดือน ตลอดโครงการ ในขณะที่บางประเทศมองไกลไปถึงการสร้างฐานรากแรงงานให้กลับมาพร้อมสำหรับโลกยุคใหม่ เช่น สิงคโปร์ มีโครงการ SGUnited Traineeships อุดหนุนค่าแรงให้กับธุรกิจที่เสนอการฝึกงานให้กับแรงงานหน้าใหม่ และตั้งเป้าสร้างงาน 10,000 ตำแหน่งภายใน 1 ปี หรือการจัดหาเงินทุน 55 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อพัฒนาทักษะแรงงานในกลุ่ม Arts & Culture และเพิ่ม Digitalization Efforts  

 

 

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายประเทศที่หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเยียวยา อาจเป็นเพราะ ‘การสร้างงานสร้างอาชีพ’ สร้างผลดีในระยะยาวได้มากกว่า โดยความรู้ใหม่ๆ และทักษะทางอาชีพที่ได้รับการถ่ายทอด ย่อมสร้างทางเลือกและช่องทางต่อยอดในการประกอบอาชีพมากขึ้น 

 

ด้วยเหตุนี้เอง ธนาคารออมสิน ในฐานะธนาคารเพื่อสังคม (Social Bank) ที่มีเป้าหมายหลักคือ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินที่เป็นธรรม จึงผลักดัน ‘โครงการออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพ’ วางนโยบายฟื้นฟูและช่วยเหลือประชาชนผู้ตกงานหรือขาดรายได้ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘4 ให้’ ได้แก่ ให้ทักษะ ให้เงินทุน ให้อุปกรณ์ และให้พื้นที่ค้าขาย โดยมีกรุงเทพมหานคร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสถาบันอุดมศึกษา เป็นหน่วยงานพันธมิตรในการขับเคลื่อนโครงการ

แนวคิด ‘4 ให้’ และโครงการที่จะช่วยสร้างรากฐานให้กับคนไทย ดังกล่าวมีอะไรบ้าง 

 

  1. ให้ทักษะ
    ทักษะอาชีพและองค์ความรู้เป็นทรัพย์สินที่ติดตัวเราไปตลอด จึงเป็นภารกิจแรกของโครงการออมสินสร้างงาน สร้างอาชีพ โดยมุ่งเน้นการสร้างทักษะให้แก่ผู้ที่สนใจ เสริมทักษะเดิม สร้างทักษะใหม่ จนสามารถต่อยอดสร้างงานสร้างอาชีพในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ผ่าน 6 โครงการหลัก โดยร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 18 แห่ง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยในโครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 64 สถาบัน และเครือข่าย เชฟชื่อดังระดับมิชลินสตาร์ ตลอดจนเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์มากมาย ได้แก่ 

 

 

  • โครงการออมสินอาชีวะสร้างอาชีพสู่ชุมชน จำนวน 21 หลักสูตร ให้กับผู้ที่สนใจนำทักษะที่ได้ไปสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและคนในชุมชน เช่น ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ช่างซ่อมวิทยุและโทรทัศน์ ช่างติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ช่างปูกระเบื้อง ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิด
  • โครงการฝึกอบรมอาชีพผ่านสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มากกว่า 48 หลักสูตร โดยเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพแรงงานที่ได้รับผลกระทบทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น การทำการตลาดออนไลน์ E-Commerce, ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรียุค New Normal, เทรนด์สมุนไพรแปรรูปเสริมรายได้
  •  โครงการครัวชุมชน สำรับออมสิน เน้นสร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ผ่านการพัฒนาศักยภาพด้านการประกอบอาหารที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนนั้นๆ เพื่อสร้างพ่อครัวแม่ครัวในชุมชน โดยมี เชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟมิชลินสตาร์ 2 ดาว มาช่วยฝึกอมรมทักษะให้แก่ผู้ที่สนใจ นอกจากจะช่วยสร้างอาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชน 6 ภูมิภาค 6 จังหวัด 6 ชุมชน อีกด้วย 
  • โครงการ GSB Smart Startup Company ธนาคารออมสิน มองเห็นศักยภาพของกลุ่มคนรุ่นใหม่จึงจับมือกับสถาบันอุดมศึกษา เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาที่สนใจเป็นผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ GSB Smart Startup Company พร้อมมอบเงินทุนในการก่อตั้งธุรกิจเพื่อผลักดันธุรกิจของคนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้นได้จริง 
  • โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ธนาคารออมสินจับมือกับสถาบันอุดมศึกษา โดยชวนคนรุ่นใหม่มาร่วมกันคิดและลงพื้นที่สร้างกิจกรรมในแต่ละชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาองค์ความรู้ทางธุรกิจให้กับชุมชนหรือกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้สามารถบริหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้พร้อมเข้าสู่ตลาดและสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน 
  • การอบรมและสนับสนุนองค์ความรู้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ สำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในโครงการออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพ จะได้รับโอกาสในการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ การสร้างอาชีพใหม่จากเจ้าของแฟรนไชส์ที่ลูกค้าสนใจ ซึ่งมีทั้งความรู้และประสบการณ์ พร้อมได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากธนาคารออมสิน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และต่อยอดธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้

 

 

  1. ให้เงินทุน  
    มีความรู้และทักษะพร้อมสร้างสินค้าและบริการออกสู่ตลาด แต่ยังขาดเงินทุน ธนาคารออมสิน เปิดโอกาสให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ช่าง ค้าขาย ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ร้านค้าแฟรนไชส์ ร้านค้าปลีกต่างๆ ฯลฯ สามารถขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพ หรือเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพได้ ลดการพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ได้แก่ 

 

  • สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ วงเงินให้กู้ 10,000-300,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ย 3.99% นาน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก โดยหากเป็นผู้มีวิชาชีพอยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติไว แต่ถ้ายังไม่มีวิชาชีพ สามารถเข้าอบรมวิชาชีพต่างๆ ตามโครงการที่ธนาคารออมสินเตรียมไว้ให้ โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ก็ได้รับวงเงินสินเชื่อ
  • สินเชื่อธนาคารประชาชน วงเงินให้กู้สูงสุด 200,000 บาท เน้นช่วยเหลือประชาชนแก้ไขหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หรือการอุปโภคบริโภค สามารถกู้ได้ตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้  

 

  1. ให้อุปกรณ์ค้าขาย
    ธนาคารออมสินจับมือกับ กทม. และ สวทช. มอบอุปกรณ์ค้าขายให้แก่ผู้ค้าริมบาทวิถี ไม่ว่าจะเป็น รถเข็น เต็นท์และร่มค้าขาย เพื่อสนับสนุนผู้ค้าสตรีทฟู้ดในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ไปแล้วกว่า 3,396 ร้านค้า นอกจากจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ค้า ยังได้ยกระดับมาตรฐานภูมิทัศน์ของกรุงเทพฯ ไปในตัว  

 

  1. ให้พื้นที่ทำกิน
    หนึ่งในปัญหาใหญ่ของคนทำมาหากิน โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นอาชีพ คือไม่มีพื้นที่สำหรับค้าขาย ธนาคารออมสินจึงให้พื้นที่ทำกินฟรีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การให้ใช้พื้นที่ของสาขาธนาคารออมสิน สำนักงานภาค หรือสำนักงานเขต จัดเป็นตลาดนัดออมสิน เปิดโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการรายย่อย ตั้งแผงค้าขายสินค้าได้ และเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย ประชาสัมพันธ์สินค้าและร้านค้าผ่าน ‘ตลาดนัดออนไลน์ Style GSB’ ทั้งใน Facebook, YouTube และ LINE ช่วยลดผลกระทบให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่สามารถเปิดหน้าร้านได้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 และในระยะยาวยังเป็นช่องทางสร้างรายได้เพิ่มเติมอีกด้วย  

 

 


‘โครงการออมสินสร้างงานสร้างอาชีพ’ เตรียมเงินทุนสนับสนุนโครงการไว้ 5,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายจะส่งเสริมให้ผู้ที่เดือดร้อน หรือที่ตกงานได้กว่า 7 หมื่นราย รวมถึงการมอบเงื่อนไขพิเศษ ดอกเบี้ย 3.99% แบบลดต้นลดดอก นาน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก และมีวงเงินให้กู้รายละ10,000-300,000 บาท (ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการ)  

 

 

ถือว่ากลยุทธ์ ‘สร้างงานสร้างอาชีพ’ ของออมสิน ที่ดำเนินการผ่านแนวคิด ‘4 ให้’ ตามข้อมูลข้างต้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความเท่าเทียมผ่านการสร้างทักษะ ซึ่งเป็นอาวุธสำคัญในการประกอบวิชาชีพ สร้างรายได้ สอดคล้องกับบทบาทของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม (Social Bank) ที่มีเป้าหมายหลักคือ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินที่เป็นธรรม

 

สามารถติดตามเรื่องราวโครงการ ออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/35aM6Xc หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center 1115 และธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ

 

#ออมสินสร้างงานสร้างอาชีพ #ธนาคารออมสินธนาคารเพื่อสังคม #สร้างโอกาสที่ยั่งยืนอย่างครบวงจร


อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising