×

จับตา GPSC ผนึกกำลัง CIP ผู้จัดการกองทุนชั้นนำจากเดนมาร์ก ตั้งบริษัทร่วมทุนลุยธุรกิจพลังงานลม ตั้งเป้าผู้นำในไทย [PR NEWS]

โดย THE STANDARD TEAM
07.12.2022
  • LOADING...
GPSC CIP

HIGHLIGHTS

  • GPSC หรือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ประกาศลงนามในสัญญาร่วมทุนอย่างเป็นทางการกับกลุ่ม Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจด้านพลังงานลมโดยเฉพาะ
  • CIP หรือ Copenhagen Infrastructure Partners ถือเป็นผู้จัดการกองทุนพิเศษ (dedicated fund manager)

ภายใต้สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่สู้ดี และการเผชิญหน้ากับภาวะโลกรวน ณ ขณะนี้ ภาคธุรกิจจำนวนมากจึงต้องมองหาทางเลือกในกลุ่มพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติกันอย่างพร้อมเพรียง ด้วยมองเห็นว่านี่คือทางเลือกที่เป็นมิตรกับโลก ทั้งยังยั่งยืนในเชิงการทำธุรกิจระยะยาวมากกว่า

 

ภาพดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกัน เมื่อบริษัทเอกชนหลายแห่งต่างก็ขยับตื่นตัวและหันมาใส่ใจในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน สอดรับกับแนวคิด ESG อย่างพอเหมาะพอเจาะ

 

ล่าสุด เมื่อเร็วๆ นี้ GPSC หรือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เพิ่งสร้างมูฟเมนต์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เมื่อพวกเขาได้ประกาศลงนามในสัญญาร่วมทุนอย่างเป็นทางการกับกลุ่ม Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) ผ่านกองทุน Copenhagen Infrastructure New Markets Fund I (CI NMF I) เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อดำเนินธุรกิจพลังงานลมโดยเฉพาะ พร้อมตั้งเป้าเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานลมในประเทศไทย ซึ่ง GPSC และ CI NMF I จะถือหุ้นในสัดส่วน 51% และ 49% ตามลำดับ  

 

ไม่เพียงเท่านั้น การตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อรุกธุรกิจพลังงานของ GPSC ในครั้งนี้ยังเป็นไปตามหมุดหมายความตั้งใจของพวกเขาที่ตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2060 หรืออีกราว 38 ปีต่อจากนี้อีกด้วย

 

วรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GPSC เปิดเผยว่า การร่วมทุนเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการผนึกความแข็งแกร่งของทั้งสองกลุ่มบริษัท เนื่องจาก CIP เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในการพัฒนาโครงการพลังงานลม ทั้งด้านการสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพ การบริหารโครงการก่อสร้าง และการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 

 

นอกจากนี้ CIP ยังมีพันธมิตรเป็นผู้ผลิตกังหันลมที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก จึงทำให้สามารถต่อยอดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมภายในประเทศ รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวให้กับ GPSC และประเทศไทยได้อย่างเกิดประโยชน์มหาศาล

 

GPSC CIP

 

CIP คือใคร การมีพันธมิตรจากเดนมาร์กรายนี้จะช่วยเสริมแกร่ง GPSC และประเทศไทยได้อย่างไร?

สําหร้บ CIP หรือ Copenhagen Infrastructure Partners คือผู้จัดการกองทุนพิเศษ (dedicated fund manager)ด้านกํารลงทุนเกี่ยวกับพลังงํานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีขนําดใหญ่ที่สุดในโลก

 

ทั้งยังเป็นผู้นำด้านพลังงานลมนอกชายฝั่งระดับโลกอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วกองทุนที่ CIP บริหารจัดการจะมุ่งเน้นไปที่การลงทุนเกี่ยวกับพลังงานลมนอกชายฝั่งและบนบก ระบบแผงโซลาร์เซลล์ พลังงานชีวมวลและพลังงานจากของเสีย การส่งและการจ่ายพลังงาน ความจุสำรองและการจัดเก็บพลังงาน การแปรรูปพลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นพลังงานประเภทอื่นๆ (Power-to-X) และพลังงานชีวภาพขั้นสูง เป็นหลัก

 

ไม่แปลกที่ CIP จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน และพลังงานหมุนเวียนเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ​เนื่องจากพอร์ตของพวกเขาส่วนใหญ่เน้นไปที่กลุ่มพลังงานรูปแบบดังกล่าวนั่นเอง

 

 

ดังนั้น ภายใต้ความร่วมมือการร่วมทุนระหว่าง GPSC และ CIP ที่เกิดขึ้น ต้องบอกว่าสิ่งที่โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ได้เต็มๆ คือการได้ทั้งโนฮาว ความรู้ วิทยาการในการดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียน พลังงานลม และพลังงานสะอาดให้กับกลุ่มบริษัทเพื่อยกระดับขึ้นไปอีกขั้น

 

เท่านั้นยังไม่พอ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นยังมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพให้ GPSC สามารถลงทุนตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2022) ซึ่งจะนำมาสู่การขับเคลื่อนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของ GPSC ให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% ในปี 2573 ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานเพื่อความยั่งยืน 

 

ก่อนหน้านี้ ถ้ายังจำกันได้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา GPSC เพิ่งผนึกความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่เพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด โดยมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าของพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพสูงด้านพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ 

 

นั่นจึงทำให้การร่วมทุนกับ CI NMF I ในครั้งนี้มีแต่จะยิ่งเพิ่มแรงหนุนการสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียนใหม่ ทั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยด้วยการต่อยอดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย 

 

ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่นโยบายด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะการดำเนินการตามโรดแมปการตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% ในปี 2030 และลดลงจนสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2065 

 

การร่วมมือที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ทั้งน่าจับตาและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ภาคธุรกิจ ภาคเอกชนจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนเท่านั้น แต่ประเทศไทยและโลกใบนี้ ตลอดจนแรงงาน และสิ่งแวดล้อมก็จะได้ประโยชน์แบบ วินวินกันทุกฝ่ายอย่างพร้อมเพรียงนั่นเอง

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising