สิ่งที่แตกต่างกันคือ Amazon Go นั้นจะเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่มีพนักงาน ทำให้ต้องใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วยทุกอย่าง แต่ Smart Cart ของ Gourmet Market นั้นจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยตรงที่แม้จะรู้ราคาและคำนวณเงินทั้งหมดได้ แต่สุดท้ายลูกค้าจะต้องเดินไปจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ Self-Checkout ด้วยตนเอง
รถเข็นช้อปปิ้งอัจฉริยะ หรือ Smart Cart อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเรา แต่จริงๆ แล้วในต่างประเทศมีการใช้งานมาหลายปีแล้ว ใน Amazon Go ร้านสะดวกซื้อของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ที่มีจุดเด่นตรงที่สามารถรู้จักสินค้าและคิดเงินจากการวางในรถเข็น ซึ่งระบบนี้เองกำลังจะถูกนำมาใช้ใน Gourmet Market ของเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป
สิ่งที่แตกต่างกันคือ Amazon Go นั้นจะเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่มีพนักงาน ทำให้ต้องใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วยทุกอย่าง แต่ Smart Cart ของ Gourmet Market นั้นจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยตรงที่แม้จะรู้ราคาและคำนวณเงินทั้งหมดได้ แต่สุดท้ายลูกค้าจะต้องเดินไปจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ Self-Checkout ด้วยตนเอง
“ถึงอย่างนั้น Smart Cart ก็จะช่วยให้ลูกค้าใช้เวลาที่เคาน์เตอร์ Self-Checkout ลดลงจาก 15 นาทีเหลือเพียงไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น” พลอยชมพู อัมพุช ผู้อำนวยการใหญ่บริหารสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ระบุ พร้อมเสริมว่า “ลูกค้าในวันนี้ไม่ชอบที่จะต่อคิวกันแล้ว”
ข้อมูลจาก SCB EIC ที่สำรวจในปี 2567 ระบุว่า Self-Checkout เป็นเทคโนโลยีที่กลุ่มผู้บริโภคเคยใช้มากที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่ร้าน Grocery มีการติดตั้ง Self-Checkout ให้ใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยทุกกลุ่มอายุและทุกพื้นที่ส่วนใหญ่เคยใช้ Self-Checkout
ถึงจะเคยใช้ แต่ผลสำรวจยังชี้ด้วยว่า ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการใช้คูปองและส่วนลดต่างๆ เป็นปัญหาที่ได้รับความสำคัญมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาสินค้า
รองลงมาคือ ข้อผิดพลาดของระบบ ปัญหาการสแกนบาร์โค้ด และปัญหาเกี่ยวกับเซ็นเซอร์น้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านเวลาที่ใช้ในการรอนานกว่าการไปชำระที่แคชเชียร์
กระนั้นทายาทรุ่น 3 ที่เข้ามาช่วยบริหารงานธุรกิจของครอบครัวกว่า 10 ปีแล้วขยายความเพิ่มว่า ตัว Smart Cart ยังใช้เทคโนโลยีที่สามารถนำทางไปยังจุดที่สินค้าวางอยู่ และที่สำคัญคือสามารถเสนอว่าสินค้าชนิดนี้เหมาะที่จะกินคู่กับอะไร ในอนาคตจะขยายไปถึงขั้นที่สามารถเสนอโปรโมชันส่วนบุคคลได้
“Personalized Marketing คือหนึ่งในโฟกัสหลักของ Gourmet Market ในอนาคต ซึ่งต้องการที่จะตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยจะมีการนำข้อมูลต่างๆ มารวมกันเพื่อวิเคราะห์ ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะได้จาก Smart Cart ด้วย”
เบื้องต้น Smart Cart จะมีทั้งหมด 200 สาขา (พร้อมขอไม่ระบุเม็ดเงินลงทุน) โดยจะนำร่องเริ่มใช้งานที่ Gourmet Market สาขาพารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ และเอ็ม ดิสทริค (เอ็มโพเรียมและเอ็มควอเทียร์) ในวันที่ 12 ธันวาคม 2567
หลังจากนั้นมีแผนเพิ่มการใช้งานที่ Gourmet Market สาขาเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ในปี 2568 ต่อไป