รัฐบาลเยอรมนีอนุญาตให้กลุ่มเพศ ‘อินเตอร์เซ็กซ์’ ที่ไม่ใช่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย สามารถระบุเพศที่สอดคล้องกับเพศของตนมากที่สุดลงในเอกสารราชการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แทนการบังคับให้ระบุเพศระหว่างชายหรือหญิงเท่านั้น หลังรัฐสภาผ่านร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2018 และเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มความหลากหลายทางเพศในเยอรมนีระบุว่า กฎหมายดังกล่าวยังไม่เปิดกว้างพอ เนื่องจากการจะระบุเพศอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากชายและหญิง จำเป็นต้องมีใบรับรองสถานะทางเพศจากแพทย์เท่านั้น และต้องการให้ลดขั้นตอนดังกล่าวลง
นอกจากเยอรมนีแล้ว ออสเตรีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, มอลตา, อินเดีย และแคนาดา ต่างผลักดันและผ่านร่างกฎหมายในลักษณะนี้แล้ว พร้อมเดินหน้าแก้ไขเยียวยาความต้องการของกลุ่มหลากหลายทางเพศในสังคม โดยเฉพาะกลุ่ม ‘อินเตอร์เซ็กซ์’
สหประชาชาติระบุว่า มากกว่า 1.7% ของประชากรโลกมีเพศเป็น ‘อินเตอร์เซ็กซ์’ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกตีตรา ถูกเลือกปฏิบัติในทางกฎหมาย ถูกผลักให้เป็นคนชายขอบและถูกบังคับให้ศัลยกรรมเนื่องจากเพศที่ถูกมองว่าไม่เข้าพวกในระบบสองเพศของตนเอง โดยเยอรมนีอนุญาตให้กลุ่ม ‘อินเตอร์เซ็กซ์’ สามารถเลือกเพศว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงได้ตั้งแต่ปี 2013 แต่ในบางแง่มุม การกระทำดังกล่าวก็ยังดูเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศอยู่ดี จนผลักดันให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายนี้ในที่สุด
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิง: