×
SCB Index Fund 2024
SCB Omnibus Fund 2024

จาก K-Pop สู่ ‘Squid Game’ เจาะวิธีที่ ‘อุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้’ ใช้ Soft Power เข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

08.10.2021
  • LOADING...
Squid Game

‘เกาหลีใต้’ เป็นที่รู้จักในด้านความสามารถในกระบวนการผลิต (Manufacturing Process) มาเนิ่นนานแล้ว แต่ Squid Game ซีรีส์ดังที่ฉายทาง Netflix กำลังนำอิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศไปสู่อีกระดับหนึ่ง ซึ่งส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจครั้งใหม่

 

ในขณะที่วัฒนธรรมป๊อปเกาหลีและละครโทรทัศน์ได้รับคะแนนความนิยมในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว ตัวอย่างเช่น วงบอยแบนด์ BTS ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่วงเท่านั้นที่สามารถเอาชนะใจแฟนๆ นอกเอเชียได้มากมาย ‘Squid Game’ ที่กำลังจะกลายเป็นรายการที่มีผู้ชมมากที่สุดทั่วโลกบน Netflix กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนั้น

 

จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง Parasite ที่ได้รับรางวัลออสการ์ในปี 2020 Squid Gam ซีรีส์ใหม่ของ Netflix ที่บอกเล่าเรื่องราวของเกมเอาชีวิตรอดกำลังเป็นที่ถูกใจของคนทั่วโลก ซึ่งบทความของ Bloomberg ชี้ว่า ได้เข้ามาส่งเสริม Soft Power ที่ช่วยให้การส่งออกทางวัฒนธรรมเข้ามาสนับสนุนเศรษฐกิจ

 

รายงานจาก Bloomberg ระบุถึง Netflix ที่ออกมากล่าวว่าธุรกิจของตัวเองในปีที่ผ่านมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แดนกิมจิกว่า 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 6.4 หมื่นล้านบาท

 

ที่น่าสนใจคือ แม้อุตสาหกรรมคอนเทนต์ของเกาหลีมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับภาคการผลิต แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกคอนเทนต์มีมูลค่ากว่า 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.7 แสนบาทบาท ซึ่งสร้างรายได้ที่มากกว่าการส่งออกเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องสำอางไปเรียบร้อยแล้ว

 

มูลค่าการส่งออกความบันเทิงของเกาหลี ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์ เกม เพลง ภาพยนตร์ และรายการทีวี เพิ่มขึ้น 6.3% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นภาพที่สวนทางกับการจัดส่งสินค้าโดยรวมลดลง 5.4% เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ ขณะที่รายงานของมูลนิธิเพื่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศของเกาหลีเผยว่า สินค้าอุปโภคบริโภคที่เกี่ยวข้องกับกระแสเกาหลี เช่น เครื่องสำอาง เสื้อผ้า และอาหาร ยังเพิ่มขึ้น 5.5% ในปีที่แล้ว

 

ความนิยมของละครเกาหลีและดาราไอดอลทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนพุ่งสูงขึ้นในช่วงหลายปีก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรคโควิด แต่การพึ่งพาที่มากเกินไปนั้นได้กลายเป็นจุดอ่อนสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลจีนและเกาหลีในปี 2017 จนเป็นที่มาของคำสั่งห้ามนักท่องเที่ยวชาวจีน ทำให้การเติบโตของ GDP เกาหลีใต้ในปีนั้นลดลง 0.4%

 

Bloomberg ยังเผยด้วยว่า ในบรรดานักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปในเกาหลีใต้ในปี 2019 กว่า 13% ได้เข้ามาเพื่อจุดประสงค์ในการสัมผัสกับวัฒนธรรมป๊อปและเข้าร่วมงานแฟนมีตต่างๆ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกาหลีใต้ประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 9.1 หมื่นล้านบาท

 

แม้จะเป็นอุตสาหกรรมที่ยังไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ความบันเทิงเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดของเกาหลีควบคู่ไปกับเทคโนโลยี จำนวนคนที่ทำงานในภาคการสร้างสรรค์และศิลปะเพิ่มขึ้น 27% ในระหว่างปี 2009-2019 มากกว่าคนที่ทำงานในภาคการผลิต ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนดั้งเดิมสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น 20% ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์สถิติของเกาหลี

 

ในรายงานเมื่อเดือนที่แล้ว Netflix กล่าวว่าได้ช่วยสร้างงานเต็มเวลากว่า 16,000 ตำแหน่งในเกาหลีตั้งแต่ปี 2016-2020 ในอุตสาหกรรมบันเทิงและที่เกี่ยวข้อง โดย Netflix ประเมินว่ามีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.6 แสนล้านบาทในช่วงเวลาดังกล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

ภาพ: Netflix 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising