×

ฝรั่งเศสลงมติห้ามเรียกโปรตีนเกษตรว่าเป็น ‘เนื้อสัตว์’

04.05.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 Mins. Read
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสออกเสียงให้ยกเลิกการตั้งชื่อ ‘เนื้อสัตว์’ ที่ทำจากพืช หรือโปรตีนเกษตรว่าเป็น ‘เนื้อสัตว์’ โดยตั้งใจให้ข้อเท็จจริงกับผู้บริโภคเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

ผู้ผลิตอาหารในฝรั่งเศสต้องร้อนๆ หนาวๆ กันสักหน่อยเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงลงมติให้ยกเลิกการตั้งชื่อ ‘เนื้อสัตว์’ ที่ทำจากพืชหรือโปรตีนเกษตรว่าเป็น ‘เนื้อสัตว์’ อาทิ ไส้กรอกมังสวิรัติ, เบคอนมังสวิรัติ ฯลฯ เนื่องจากทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด

 

นั่นทำให้บริษัทผลิตอาหารไม่สามารถเรียกอาหารไร้เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชว่า ‘เบอร์เกอร์’ ‘สเต๊ก’ หรือ ‘ไส้กรอก’ ได้ เนื่องจากเป็นคำเรียกที่อธิบายถึงการใช้เนื้อสัตว์  ซึ่งการสั่งห้ามนี้ยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ เช่นกัน

 

มาตรการดังกล่าวถูกเสนอโดยนายฌอง-แบปติสต์ โมโร (Jean-Baptiste Moreau) ที่อ้างเหตุผลในการตัดสินของศาลในยุโรปเมื่อปีที่แล้วว่าผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองและเต้าหู้ไม่สามารถวางตลาดในฐานะ ‘นม’ หรือ ‘เนย’ ได้

 

นายโมโร เกษตรกรและเป็นสมาชิกในพรรคเดียวกับประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ของฝรั่งเศส ส่งข้อความในทวิตเตอร์ว่า “เป็นเรื่องสำคัญในการแจ้งข้อเท็จจริงกับผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ควรจะต้องถูกจัดประเภทอย่างถูกต้อง คำว่า #ชีส หรือ #สเต๊ก จำต้องสงวนเอาไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัตว์เท่านั้น!”

 

 

ผู้ผลิตที่ไม่ทำตามข้อบังคับมีโทษสูงสุดที่การปรับเงิน 300,000 ยูโร (หรือราวๆ 11,374,725 บาท) ขณะที่ผู้บริโภคบางส่วนตั้งคำถามว่า หรือตลาดและความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นของอาหารมังสวิรัติ ทำให้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ของฝรั่งเศสสั่นคลอนหรือไม่ ขณะที่บางกลุ่มตั้งข้อสงสัยว่าผู้บริโภคเกิดความสับสนจริงหรือ

 

เวนดี ฮิกกินส์ (Wendy Higgins) ที่ทำงานให้กับองค์กรพิทักษ์สัตว์ Humane Society International กล่าวกับหนังสือพิมพ์ The Independent ของอังกฤษว่า “เป็นเรื่องน่าเสียดายที่แทนที่จะเปิดรับอาหารมังสวิรัติ ฝรั่งเศสกลับตอบโต้ความหวาดระแวง แต่น่าจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากคนที่สนใจอาหารมังสวิรัติกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังมีรสอร่อย เต็มไปด้วยสารอาหาร และเป็นมิตรต่อโลกอีกด้วย ทั้งนี้เชื่อว่าคนจะมองเห็นประโยชน์ของมังสวิรัติจนไม่สนใจว่าจะเรียกสินค้านั้นว่าอะไร”

 

ทั้งนี้ฝรั่งเศสขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่หวงแหนในวัฒนธรรมอาหารและการกินดื่มเสมอมา ทั้งยังมีรัฐบาลที่มีอำนาจสูงสุดคอยหนุนหลังตรวจสอบในเรื่องนี้อีกด้วย ตลกดีที่ขณะเดียวกันในบางประเทศ ผู้บริโภคยังต้องตรวจสอบความปลอดภัยเบื้องต้นของตัวเองจากฉลากที่ควรจะเชื่อถือได้ของทางการ อย่างไรเรื่องนี้ต้องคอยติดตามกันต่อ

 

อ่านเรื่อง ‘เนื้อสัตว์ปลูก’ อาจจะวางขายในปี 2018 ได้ที่นี่

 

Photos: Shutterstock

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X