×

ตลาดผวา สงครามการค้าทวีความรุนแรง หลังสหรัฐฯ-จีนแลกหมัดภาษีรอบใหม่, Fed สงวนท่าทีทิศทางดอกเบี้ย: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (26 ส.ค. 2562)

โดย FINNOMENA
26.08.2019
  • LOADING...
FINNOMENA
  • ตลาดผวา หลังสงครามการค้าส่อเค้าทวีความรุนแรง โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางการจีนประกาศขึ้นภาษี 5-10% กับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน และ 15 ธันวาคม โดยมุ่งเน้นไปที่รถยนต์นำเข้าจากสหรัฐฯ ที่มีการเรียกเก็บภาษี 25% และชิ้นส่วนรถยนต์ 5% แม้ทางสหรัฐฯ จะมีท่าทีการประนีประนอมต่อการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าอีก 10% บนสินค้ามูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์แล้วก็ตาม ด้านสหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการประกาศขึ้นภาษีเพิ่มอีก 5% บนสินค้านำเข้ามูลค่ากว่า 410,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับเรียกร้องให้ธุรกิจต่างๆ ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ก่อนที่จะมีท่าทีผ่อนคลายลงในเวลาต่อมา และกลับมาทวีตอีกครั้งว่า น่าจะมีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนมากกว่านี้เมื่อมีโอกาส ท่าทีดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อภาวะการลงทุนในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง และ Risks Indicator ปรับตัวขึ้นรุนแรง

 

  • ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ 1. ญี่ปุ่นประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม โดยเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวตามคาด 0.6% เทียบกับปีก่อน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 0.5% เทียบปีก่อนตรงตามคาดเช่นกัน 2. ไทยเผยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศปัจจุบันอยู่ที่ 2.200 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวเล็กน้อยจากครั้งก่อนที่ 2.213 แสนล้านเหรียญดอลลาร์ แต่ยังอยู่ในแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง 3. สหรัฐฯ ประกาศตัวเลขยอดขายบ้านใหม่เดือนกรกฎาคมที่จำนวน 635,000 หลัง (-12.8%) เทียบเดือนก่อน ซึ่งต่ำกว่าคาดที่ระดับ 649,000 หลัง (-0.2%) เทียบเดือนก่อน

 

  • เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังสงวนท่าที โดยระบุในการสัมมนาที่แจ็กสันโฮลว่า Fed พร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งระบุถึงปัจจัยสำคัญที่ Fed จะต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพื่อการดำเนินนโยบายดังกล่าวว่าประกอบไปด้วย 1. อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง 2. ความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศ และ 3. ปัจจัยสนับสนุนอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ โดยหลังการประชุมครั้งที่ผ่านมา Fed ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่งผลให้ตลาดการลงทุนในวันศุกร์ปรับตัวลง จากความคาดหวังท่าทีเชิงผ่อนคลายด้านนโยบายการเงินมากกว่าที่จะสงวนท่าทีต่อไป

 

  • G7 ส่อแววไร้แถลงการณ์ร่วม สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า การประชุมสุดยอดผู้นำ G7 อันประกอบไปด้วย สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ช่วงวันที่ 24-26 สิงหาคมนี้ มีสัญญาณของการไม่ลงรอยระหว่างผู้นำ 7 ประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและระหว่างการประชุม โดยทางเจ้าภาพฝรั่งเศสได้ยกเลิกธรรมเนียมการลงนามในแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวก่อนหน้านี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยในที่ประชุม อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เป็นเพราะความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ซึ่งยังคงคุกรุ่นอยู่ ส่งผลกดดันให้ต้องยกเลิกธรรมเนียมดังกล่าว ขณะที่การประชุมเริ่มต้น มีประเด็นที่ต้องจับตาคือ 1. การชักชวนให้รัสเซียกับเข้าสู่กลุ่ม G7 อีกครั้ง โดย โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้ระบุเงื่อนไข ท่ามกลางความกังวลของผู้นำคนอื่นๆ ที่ต้องการให้รัสเซียเข้าร่วม G7 อีกครั้ง แต่ต้องมีการถอนกองกำลังออกจากพื้นที่พิพาทเสียก่อน 2. ประเด็นความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวที่ยังไม่อาจหาข้อสรุปได้ เนื่องจากท้ายที่สุดแล้ว เหล่าผู้นำคนอื่นระบุว่า สงครามการค้าของ โดนัลด์ ทรัมป์ จะขยายวงกว้าง และ 3. กรณี Brexit ที่ยังไร้ข้อสรุป

 

  • การชุมนุมประท้วงที่ฮ่องกงยกระดับความรุนแรงขึ้นอีกระดับ หลังการชุมนุมยืดเยื้อกว่า 12 สัปดาห์ โดยวานนี้สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ตำรวจฮ่องกงเริ่มมีการใช้อาวุธปืนในการเข้าควบคุมการชุมนุม หลังจากที่มีการใช้แก๊สน้ำตา รถฉีดน้ำแรงดันสูง ซึ่งสร้างความตึงเครียดในสถานการณ์การชุมนุมเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า การปราบปรามการชุมนุมจะยังไม่ถึงระดับทำให้มีผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กำลังทหารจากจีนเข้าปราบปรามเป็นไปได้ยาก จากการที่ฮ่องกงเป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างจีนกับโลกในปัจจุบัน

 

ภาวะตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา

  • ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่ตลาดต่างให้การจับตามองคือ การแถลงนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เนื่องจากเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะถูกเซอร์ไพรส์ด้วยข่าวร้ายจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ส่งผลให้ความผันผวนทวีความรุนแรงขึ้นทันที หลังจากที่จีนประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และตามมาด้วยการตอบโต้จากทรัมป์ผ่านทวีตข้อความขึ้นภาษีโต้กลับจากเดิม 25% สู่ระดับ 30% โดยดัชนี Dow Jones ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงทันที (-400 จุด) จากจุดสูงสุดของวัน ขณะที่ในช่วงท้ายตลาด การแถลงแนวโน้มนโยบายของประธาน Fed ได้ฉุดให้ตลาดหุ้นร่วงลงไปอีก -300 จุด จากความไม่ชัดเจนต่อการสื่อถึงการลดดอกเบี้ยในอนาคต ทำให้ทรัมป์ทวีตข้อความโจมตีทันทีว่า “ใครกันแน่ที่เป็นศัตรูใหญ่ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระหว่าง Fed และจีน” ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow 30 ลดลง -623.34 (-2.37%), S&P500 ลดลง -75.84 (-2.59%) และ Nasdaq ลดลง -239.62 (-3%) เช่นเดียวกันกับ Risk Indicator อย่างราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบบริเวณจุดสูงสุดเดิมทันที 1,536.75 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 28.25 (+1.87%), VIX Index +19.12% สู่ระดับ 19.87 จุด จาก 16.34 จุด เช่นเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ตกลงมาอยู่ที่ 1.533% (-6.40%) และอายุ 30 ปี ตกลงมาอยู่ที่ 2.027% (-4.97%) 

 

ยุโรป

  • Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3334.25 ลดลง -39.42 (-1.17%)
  • DAX ปิดที่ 11611.51 ลดลง -135.53 (-1.15%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7094.98 ลดลง -33.2 (-0.47%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 20473.86 ลดลง -343.13 (-1.65%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 ปิดที่ 20710.91 เพิ่มขึ้น 82.9 (0.4%)
  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6523.1 เพิ่มขึ้น 21.3 (0.33%)
  • Shanghai ปิดที่ 2897.43 เพิ่มขึ้น 13.99 (0.49%)
  • Hang Seng ปิดที่ 26179.33 เพิ่มขึ้น 130.61 (0.5%)
  • SET ปิดที่ 1646.68 เพิ่มขึ้น 13.12 (0.8%)
  • KOSPI ปิดที่ 1948.3 ลดลง -2.71 (-0.14%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 36701.16 เพิ่มขึ้น 228.23 (0.63%)

 

อเมริกา

  • Dow 30 ปิดที่ 25628.9 ลดลง -623.34 (-2.37%)
  • S&P500 ปิดที่ 2847.11 ลดลง -75.84 (-2.59%)
  • Nasdaq ปิดที่ 7751.77 ลดลง -239.62 (-3%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 53.95 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง -1.4 (-2.53%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 58.8 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง -0.77 (-0.97%)
  • ราคาทองคำ ปิดที่ 1536.75 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 28.25 (1.87%)

finnomena in partnership

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising