×

เกิด Inverted Yield Curve ในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ อีก หลังดัชนี PMI ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจชะลอตัว: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (23 ส.ค. 2562)

โดย FINNOMENA
23.08.2019
  • LOADING...
  • ประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ 1. ตัวเลข Manufacturing PMI เบื้องต้น เดือนสิงหาคม ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 51.3 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ 51.6, ญี่ปุ่น 49.5 ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 49.8 แต่ยังขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 49.4, ฝรั่งเศส 51.0 ดีกว่าคาดที่ 49.5 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 49.7, เยอรมนี 43.6 ดีกว่าคาดที่ 43.0 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 43.2, ยุโรปโดยรวม 47.0 ดีกว่าคาดที่ 46.3 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 46.5 และสหรัฐฯ 49.9 ต่ำกว่าคาดที่ 50.5 และหดตัวจากเดือนก่อนที่ 50.4 ซึ่งเป็นการหดตัวต่ำกว่า 50.0 ครั้งแรก 2. ตัวเลข Service PMI เบื้องต้นเดือนสิงหาคม ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 49.2 หดตัวจากเดือนก่อนที่ 52.3, ญี่ปุ่น 53.4 ขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 51.8, ฝรั่งเศส 53.3 ดีกว่าคาดที่ 52.5 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 52.6, เยอรมนี 54.4 ดีกว่าคาดที่ 54.1 แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ 54.5, ยุโรปโดยรวม 53.4 ดีกว่าคาดที่ 53.0 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 53.2 และสหรัฐฯ 50.9 ต่ำกว่าคาด 52.9 ซึ่งหดตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 53.0

 

  • เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น ยกระดับความตึงเครียด โดยวานนี้ คิมยูกึน รองหัวหน้าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติเกาหลีใต้ ได้ประกาศเตรียมถอนตัวออกจากสนธิสัญญาแบ่งปันข่าวกรองร่วมกับญี่ปุ่น ซึ่งมีการลงนามกันตั้งแต่ปี 2559 โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุน เพื่อร่วมรับมือกับปัญหาความตึงเครียดในน่านน้ำบริเวณ 2 ประเทศ กับคู่กรณีอย่างเกาหลีเหนือและจีน การถอนตัวส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จากท่าทีการตอบโต้กันไปมาและยังไม่มีท่าทีจะนั่งลงเจรจา ซึ่งกดดันการค้าระหว่าง 2 ประเทศต่อไป

 

  • เกิด Inverted Yield Curve อีกครั้ง โดยวานนี้ตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ส่งสัญญาณความกังวลอีกครั้งจากการเกิด Inverted Yield Curve ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการเกิดขึ้นครั้งที่ 3 ในรอบ 2 สัปดาห์ จากความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ว่าอาจไม่ทันการณ์ ทั้งนี้ตัวเลขดัชนี Manufacturing PMI ล่าสุดของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจมีโอกาสหดตัวและเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ดัชนี Services PMI อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 3 เดือน

 

  • Brexit ยังไร้ความแน่นอน วานนี้ อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษเตรียมข้อตกลงทางเลือกอื่นเพิ่มเติมไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแยกตัวแบบ No-Deal ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจอังกฤษ โดยนักลงทุนเชื่อว่าเป็นสัญญาณที่ดีของการเริ่มเจรจาข้อตกลงกับสหภาพยุโรปอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวว่า ณ เวลานี้มีเวลาไม่มากพอที่สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรจะเริ่มต้นการเจรจาข้อตกลงอีกครั้ง ส่งผลให้ประเด็น Backstop ยังหาทางออกไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไอร์แลนด์และสราชอาณาจักร รวมไปถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสหราชอาณาจักร ซึ่งทางยุโรปได้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว

 

  • ท่ามกลางความคาดหวังลดอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการ Fed ยังสนับสนุนให้คงเอาไว้ โดยวานนี้ แพทริก ฮาร์เกอร์ ประธาน Fed สาขาฟิลาเดลเฟีย, เอสเธอร์ จอร์จ ประธาน Fed สาขาแคนซัส และ โรเบิร์ต แคปแลน ประธาน Fed สาขาดัลลัส ได้ให้ความเห็นต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าควรที่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจยังบ่งชี้ว่ามีความแข็งแกร่ง และธนาคารกลางควรสนใจเป้าหมายระยะยาวมากกว่าความกังวลของตลาดการเงินในระยะสั้นจากความไม่แน่นอนต่างๆ ความเห็นดังกล่าวสวนทางกับความคาดหวังของนักลงทุนที่ในปัจจุบันคาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึงนี้

 

ภาวะตลาดวานนี้

  • ตลาดทั่วโลกยังคงผันผวนเล็กน้อย จากการที่นักลงทุนจับตาการแถลงนโยบายการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันศุกร์นี้ ประกอบกับการเกิดสัญญาณ Inverted Yield Curve ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศตัวเลข PMI เบื้องต้นของเดือนสิงหาคม โดยทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต่างออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ซึ่งต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทั้งนี้หากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 49.9 ซึ่งต่ำกว่า 50.0 บ่งชี้ถึงสัญญาณเศรษฐกิจหดตัวในอนาคต เช่นเดียวกับภาคบริการที่ประกาศออกมาที่ 50.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 53.0 แม้ยังไม่ต่ำกว่า 50.0 แต่การหดตัวครั้งนี้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับเดือนพฤษภาคม ที่สงครามการค้ากลับมารุนแรงอีกครั้ง จากตัวเลขดังกล่าว Fed Fund Futures ล่าสุดเดือนกันยายน ตลาดคาดการณ์ว่า Fed มีโอกาสถึง 93.5% ที่จะลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง จากวันก่อนหน้าที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 70%

 

ยุโรป

  • Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3373.67 ลดลง -21.22 (-0.63%)
  • DAX ปิดที่ 11747.04 ลดลง -55.81 (-0.47%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7128.18 ลดลง -75.79 (-1.05%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 20816.99 ลดลง -30.08 (-0.14%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 ปิดที่ 20628.01 เพิ่มขึ้น 9.44 (0.05%)
  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6501.8 เพิ่มขึ้น 18.5 (0.29%)
  • Shanghai ปิดที่ 2883.44 เพิ่มขึ้น 3.11 (0.11%)
  • Hang Seng ปิดที่ 26048.72 ลดลง -221.32 (-0.84%)
  • SET ปิดที่ 1633.56 ลดลง -4.68 (-0.29%)
  • KOSPI ปิดที่ 1951.01 ลดลง -13.64 (-0.69%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 36472.93 ลดลง -587.44 (-1.59%)

 

อเมริกา

  • Dow 30 ปิดที่ 26276.67 เพิ่มขึ้น 73.94 (0.28%)
  • S&P 500 ปิดที่ 2925.5 เพิ่มขึ้น 1.07 (0.04%)
  • Nasdaq ปิดที่ 8001.25 ลดลง -18.96 (-0.24%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 55.37 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง -0.31 (-0.56%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 59.97 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง -0.33 (-0.55%)
  • ราคาทองคำ ปิดที่ 1508.25 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง -7.45 (-0.49%)

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising