×

Goldman Sachs คาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจติดลบ 34% ในไตรมาส 2 ก่อนจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (1 เม.ย. 2563)

โดย FINNOMENA
01.04.2020
  • LOADING...
FINNOMENA
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ แกร่งเกินคาด เมื่อวานนี้สหรัฐฯ ประกาศดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม ออกมาที่ 120.0 จุด มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 110.0 จุด แต่ลดลงจากครั้งก่อนหน้าที่ 132.0 จุด อย่างไรก็ตาม การสำรวจนี้มีขึ้นในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ในสหรัฐฯ ยังไม่ลุกลาม

 

  • Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ของโลก เผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ อาจลดลง 9% ในไตรมาส 1 และทรุดตัว 34% ในไตรมาส 2 จากแนวโน้มการจ้างงานที่ชะลอตัวอย่างรุนแรง ซึ่งล่าสุดมีการขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกมากกว่า 3.2 ล้านคน มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกคำสั่งให้กลุ่มธนาคารยุโรปเลื่อนการจ่ายปันผลและการซื้อหุ้นคืนชั่วคราว อย่างน้อยจนกว่าจะถึงเดือนตุลาคม 2020 เพื่อสำรองเงินสดรับมือความไม่แน่นอนจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเตรียมพร้อมสำหรับการปล่อยสินเชื่อกรณีที่การแพร่ระบาดดังกล่าวจบลง ซึ่งคาดว่าจะสร้างทุนสำรองเพิ่มได้กว่า 30,000 ล้านยูโร

 

  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เปิดหน้าต่างทำ REPO กับธนาคารต่างประเทศ โดยธนาคารกลางและองค์กรระหว่างประเทศที่มีบัญชีอยู่ที่ Fed สามารถนำพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มาแลกเป็นเงินดอลลาร์ได้ชั่วคราว เมื่อประกอบกับมาตรการ U.S. dollar liquidity swap lines กับธนาคารกลางต่างๆ ก่อนหน้า  จะช่วยเสริมสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ พร้อมกับสร้างความมั่นใจให้กับตลาดทั่วโลกได้

 

  • จับตา PMI จีนและสหรัฐฯ วันนี้จีนมีกำหนดประกาศดัชนี Caixin Manufacturing PMI ประจำเดือนมีนาคม ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 45.5 จุด ขยายตัวขึ้นจากครั้งก่อนหน้าที่ 40.3 จุด แต่ยังอยู่ในระดับหดตัว จากการคลายความกังวลกรณีโควิด-19 ที่มีแนวโน้มควบคุมได้ ขณะที่สหรัฐฯ มีกำหนดประกาศดัชนี ISM Manufacturing PMI ประจำเดือนมีนาคม ซึ่งคาดว่าจะออกมาที่ 45.0 จุด ลดลงจากครั้งก่อนหน้าที่ 50.1 จุด

 

สรุปภาพรวมตลาดเมื่อวานนี้

  • ดัชนี Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq ปรับตัวลงหลัง Goldman Sachs คาดการณ์ว่า GDP สหรัฐฯ จะหดตัว 9% ในไตรมาส 1 และติดลบ 34% ในไตรมาส 2 สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งสร้างความกังวลให้นักลงทุนเทขายหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อจับตาดูสถานการณ์ต่อไป สวนทางกับตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหลังประเทศอิตาลีประกาศจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เริ่มลดลง ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงบางส่วน

 

  • ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ และ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เห็นพ้องกันในการควบคุมราคาน้ำมัน ส่งผลให้ตลาดเริ่มคลายความกังวลเรื่องที่น้ำมันจะล้นตลาดไปอีกนาน ด้านราคาทองคำร่วงแรงจากตัวเลขดัชนี PMI ของจีน ทั้งฝั่งการผลิตและการบริการที่ออกมาดีกว่าที่คาดและสูงกว่าที่ระดับ 50 ด้วย ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา

 

สหรัฐฯ

  • Dow 30 อยู่ที่ 21917.16 ลดลง -410.32 (-1.84%)
  • S&P 500 อยู่ที่ 2584.59 ลดลง -42.06 (-1.6%)
  • Nasdaq อยู่ที่ 7700.1 ลดลง -74.05 (-0.95%)

 

ยุโรป

  • DAX อยู่ที่ 9935.84 เพิ่มขึ้น 119.87 (1.22%)
  • FTSE 100 อยู่ที่ 5671.96 เพิ่มขึ้น 108.22 (1.95%)
  • Euro Stoxx 50 อยู่ที่ 2786.9 เพิ่มขึ้น 21.28 (0.77%)
  • FTSE MIB อยู่ที่ 17050.94 เพิ่มขึ้น 178.53 (1.06%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 อยู่ที่ 18917.01 ลดลง -167.96 (-0.88%)
  • S&P/ASX 200 อยู่ที่ 5076.8 ลดลง -104.6 (-2.02%)
  • Shanghai อยู่ที่ 2750.3 เพิ่มขึ้น 3.08 (0.11%)
  • SZSE Component อยู่ที่ 9962.3 เพิ่มขึ้น 57.35 (0.58%)
  • China A50 อยู่ที่ 12614.82 เพิ่มขึ้น 17.21 (0.14%)
  • Hang Seng อยู่ที่ 23603.48 เพิ่มขึ้น 428.37 (1.85%)
  • Taiwan Weighted อยู่ที่ 9708.06 เพิ่มขึ้น 78.63 (0.82%)
  • SET อยู่ที่ 1125.86 เพิ่มขึ้น 38.04 (3.5%)
  • KOSPI อยู่ที่ 1754.64 เพิ่มขึ้น 37.52 (2.19%)
  • IDX Composite อยู่ที่ 4538.93 เพิ่มขึ้น 124.43 (2.82%)
  • BSE Sensex อยู่ที่ 29468.49 เพิ่มขึ้น 1028.17 (3.62%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 20.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.21 (1.05%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 25.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.18 (13.97%)
  • ราคาทองคำ อยู่ที่ 1579.3 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง -44 (-2.71%)

FINNOMENA

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • Reuters
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X