×

เลิกงานแล้วไปกินอะไรดี? สำรวจวัฒนธรรมการกินดื่มหลังเลิกงานที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความอิ่มท้อง [Advertorial]

11.05.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 MINS READ
  • คำว่า 居酒屋 (Izakaya) นั้นแปลความหมายออกมาได้ว่า ‘อิ’ (อยู่) และ ‘ซากายะ’ (ร้านสาเก) แปลรวมๆ ก็หมายถึงการอยู่ในร้านสาเก ซึ่งสืบทอดลักษณะของร้านกันมาตั้งแต่ยุคเอโดะ ในช่วงแรกนั้นเริ่มต้นจากการขายสาเกในบาร์เล็กๆ ที่จะต้องยืนดื่ม ก่อนจะค่อยๆ ขยับขยายขึ้นมามีการเสิร์ฟอาหารจานเล็กจานน้อยประหนึ่งกับแกล้มในราคาที่เหมาะสม
  • โพจังมาจาได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ นั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมการทำงานในประเทศเกาหลีที่มีพัฒนาการและเติบโตขึ้น กลุ่มคนที่เรียกว่า ‘Necktie Army’ หรือกลุ่มคนทำงานผูกเนกไทในวัย 30-40 ปี จึงต้องการเวลากินดื่มในสถานที่ง่ายๆ และรวดเร็ว โพจังมาจาจึงเป็นทางออกของกลุ่มคนวัยทำงานอย่างแท้จริง
  • ‘กินเฮ’ คือรูปแบบร้านอาหารใหม่ล่าสุดในประเทศไทย ที่มีคอนเซปต์การพาสตรีทฟู้ดที่คุณคุ้นเคย หลีกหนีท่อระบายน้ำ หนูท่อ และควันรถขึ้นมาให้คุณได้กินกันแบบสบายๆ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับชาวออฟฟิศ

“เลิกงานแล้วไปกินอะไรกันดี?” คงเป็นประโยคที่คุ้นเคยหูคุณเสมอจากเพื่อนร่วมงานในออฟฟิศที่นั่งอยู่แผนกเดียวกัน หรือแก๊งเพื่อนสนิทสักคนที่จะพิมพ์เข้ามาในกรุ๊ปแชตระหว่างวัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้หรอกว่ากิจกรรมการกินดื่มระหว่างเพื่อนฝูง มันคือการร่วมกันกระชับมิตรให้ความสัมพันธ์นั้นแน่นแฟ้นขึ้น และหากพูดกันในบริบทแบบไทยจ๋า กิจกรรมการกินดื่มหลังเลิกงานคงหนีไม่พ้นบรรยากาศแบบร้านข้าวต้มโต้รุ่ง มีโต๊ะเหล็กที่พับได้ น้ำแข็งถังใหญ่ๆ หรือเบียร์วุ้นที่เย็นจับจิต หรือร้านส้มตำริมทางรสเด็ดสักร้านอันเป็นจุดนัดพบสำคัญของรสชาติแซ่บๆ หรืออาจจะเลยเถิดไปถึงร้านหมูกระทะ ชาบู หรือหม้อไฟต่างๆ ที่คุณพอจะหาได้ง่ายๆ ใกล้ที่ทำงานของคุณ

 

การได้เจอหน้าเพื่อนฝูงในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ไหนจะอาหารถูกปาก หรือเครื่องดื่มถูกใจ มันจะช่วยให้คุณได้ปลดปล่อยความเครียดหลังจากผ่านวันหนักๆ ของคุณมา บ้างก็ไว้ถกปัญหาชีวิตกัน บ้างก็ชวนกันนั่งเมาท์ชาวบ้านอย่างออกรส หรืออาจจะแค่อยากจะหาอะไรอร่อยๆ ทาน และใช้เวลาคุณภาพด้วยกันเพื่อสร้างแรงฮึดและกำลังใจดีๆ ให้คุณได้มีเรี่ยวแรงตื่นไปทำงานในวันรุ่งขึ้น

 

เราให้คุณลองนึกว่าเมื่อวานคุณกินอะไรกับเพื่อนมา ส้มตำอีกแล้วเหรอ? ร้านข้าวต้มอาเฮียปากจัดคนเดิมอีกแล้วเหรอ? วันนี้เราจึงอยากให้คุณได้สรรหาของใหม่ โดย THE STANDARD จะพาคุณไปสำรวจวัฒนธรรมการกินดื่มหลังเลิกงานจากมนุษย์ชาติอื่นๆ ทั่วทุกมุมโลก เพราะไม่ใช่แค่การกินดื่มหลังเลิกงาน แต่มันยังแฝงวัฒนธรรมของคนในชาตินั้นๆ ไว้อีกด้วย

 

น้ำใจ มารยาท และการสนทนาปาหี่: สิ่งที่ซ่อนอยู่ในความอิ่มท้อง

คำถามของวัฒนธรรมการกินดื่มหลังเลิกงาน เรากินกันเพื่อให้ตัวเองอิ่มท้องเท่านั้นหรือ? ส่วนหนึ่งก็อาจจะใช่ แต่คุณลองคิดถึงเพื่อนร่วมงานของคุณบางคนที่ไม่ค่อยทานข้าวเย็น แต่ก็พร้อมที่จะไปนั่งดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ กับแก๊งเสมอ หรือเจ้านายที่ปล่อยมุกตลกๆ ทุกครั้งเวลาไปกินข้าวด้วยกันอย่างไม่มีมาด พวกเขาต้องการความสบายใจหลังจากคร่ำเคร่งงานมาทั้งวันในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ไม่มีฟอร์มมาก ซึ่งมันไม่ใช่แค่เรื่องของการกินดื่ม แต่มันคือการสร้างความสัมพันธ์กันผ่านการกินดื่ม ไหนจะการพูดเรื่องที่พูดในออฟฟิศไม่ได้ หรือการละลายเส้นแบ่งของตำแหน่ง วัย และเพศ

 

หากเราพูดถึงวัฒนธรรมการกินดื่มอย่าง ‘โพจังมาจา’ ในประเทศเกาหลีใต้ เต็นท์ผ้าใบพลาสติกที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา นอกจากอาหารรสเด็ดและเครื่องดื่มชวนหัวหมุนแล้ว พวกเขายังไม่ละทิ้งวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเช่นการรินเหล้าโซจูให้กับผู้ที่อายุมากกว่า ที่เคร่งครัดด้วยการให้ผู้ที่มีอายุน้อยกว่าจับแก้วด้วยมือสองมือ หรือการต้องหมั่นคอยดูแลผู้อาวุโสไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มพร่องจากโต๊ะ แต่อย่างในวัฒนธรรมแบบไทยๆ เอง คุณเองอาจจะไม่ได้สังเกตพฤติกรรมตัวเองกันเท่าไรนัก แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่คือน้ำใจแบบอัตโนมัติอย่างการไปกินข้าวและส่งต่อแก้วน้ำไปยังผู้ที่นั่งอยู่ด้านในก่อนเสมอ และสิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้คือวัฒนธรรมการกินดื่มหลังเลิกงานที่น่าสนใจที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของพวกเขาได้อย่างชัดเจนที่สุด

 

Japanalytic (บน) และ Japanzone (ล่าง)

 

ญี่ปุ่น: อิซากายะ จากบาร์สาเกสู่วัฒนธรรมของชาติ

สิ่งยอดฮิตที่คนรู้จักประเทศญี่ปุ่นรองจากโดราเอมอน ภูเขาไฟฟูจิ หรือราเมน คงหนีไม่พ้นบรรยากาศการกินดื่มที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่าง ‘อิซากายะ’ (Izakaya) ที่แพร่หลายอยู่ทั่วทุกมุมเมืองในประเทศญี่ปุ่นกว่า 80,000 แห่ง หรือแม้แต่ในกรุงเทพฯ เราเองก็มีร้านที่ขึ้นชื่อว่าอิซากายะอยู่ถมไป คำว่า 居酒屋 (Izakaya) นั้นแปลความหมายออกมาได้ว่า ‘อิ’ (อยู่) และ ‘ซากายะ’ (ร้านสาเก) แปลรวมๆ ก็หมายถึงการอยู่ในร้านสาเก ซึ่งพวกเขาได้สืบทอดลักษณะของร้านและอาหารกันมาตั้งแต่ยุคเอโดะราวคริสต์ศักราชที่ 1603 ที่ในช่วงแรกนั้นเริ่มต้นจากการขายสาเกกันอย่างแพร่หลายในบาร์เล็กๆ ที่จะต้องยืนดื่ม ก่อนจะค่อยๆ ขยับขยายขึ้นมามีการเสิร์ฟอาหารจานเล็กจานน้อยประหนึ่งกับแกล้มในราคาที่เหมาะสม ซึ่งนี่แหละคือจุดกำเนิดของอิซากายะในปัจจุบัน ซึ่งก็ยังคงคอนเซปต์ของการเป็นสถานที่สำหรับกินดื่มของคนญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นวัฒนธรรมที่ทั้งคนญี่ปุ่นเองหรือชาวต่างชาติต่างชื่นชอบ เพราะสิ่งที่ดีที่สุดของอิซากายะคืออาหารที่หลากหลายและเสิร์ฟมาในปริมาณที่กำลังได้รสแบบเต็มคำ ไม่มากไปหรือน้อยไป ซึ่งนั่นจะทำให้คุณได้ลิ้มลองอาหารหลายชนิดยิ่งขึ้น ไม่อิ่มเร็วเกินไป

 

ตัวอย่างเมนูของอิซากายะ (บน) Photo: Greggman และ Follow Me To Eat La (ล่าง)

 

อาหารเด็ด: อย่างที่บอกว่าอิซากายะมีอาหารให้เลือกหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นมันจึงควบรวมทั้งอาหารญี่ปุ่นดั้งเดิม และอาหารแบบชาติตะวันตกอยู่ด้วย จานเด็ดๆ ที่ต้องสั่งคุณต้องลองทั้งไก่ทอดคาราอะเกะ ซาซิมิปลาดิบหลากชนิด เต้าหู้เย็น หรือยากิโทริ ไก่ผัดรสเด็ด และจานที่ท้าทายรสชาติแบบญี่ปุ่นที่สุดคงจะเป็น ‘ชิโอคาระ’ หรือปลาหมึกร้าแบบญี่ปุ่น ที่คุณควรลองสั่งมาชิม

เครื่องดื่มเด็ด: หนีไม่พ้น ‘High Ball’ เครื่องดื่มที่ผสมวิสกี้และโซดาที่มีรสชาติให้เลือกมากมาย หรือเบียร์สดๆ แบรนด์ญี่ปุ่นเองก็ถือเป็นเครื่องดื่มคู่โต๊ะที่ไม่ควรพลาด

 

ภาพยนตร์เรื่อง ‘กวนมึนโฮ’ (บน) และ 10 Magazine (ล่าง)

 

เกาหลีใต้: โพจังมาจา เต็นท์ริมทางของกองทัพเนกไท

คอซีรีส์เกาหลีคงนึกภาพเต็นท์ริมทางที่พระเอกและเพื่อนร่วมงาน หรือพระเอกนางเอก มักจะพากันไปนั่งกินไม่สักตอนใดก็ตอนหนึ่ง (หรืออาจจะหลายๆ ตอนในซีรีส์) นี่คือวัฒนธรรมการกินดื่มที่สนุกสนานไม่แพ้ชาติใดเช่นกันที่เรียกว่า ‘โพจังมาจา’ (포장마차, Pojangmacha) หนึ่งในเอกลักษณ์การกินดื่มที่ชัดเจนที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ ลักษณะของโพจังมาจาคือเต็นท์ที่จะมีรถเข็นขายของอยู่ข้างๆ คล้ายๆ กับฟู้ดทรักตามคำแปลที่ว่า ‘Tented Wagon’ หรือ รถเข็นที่มีเต็นท์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงปีคริสต์ศักราช 1950 โดยเริ่มต้นจากการเป็นรถเข็นขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะตั้งขายตามแหล่งชุมชนหรือแหล่งออฟฟิศ ก่อนที่จะค่อยๆ เริ่มมีการบริการโต๊ะเก้าอี้ให้นั่ง เริ่มมีการนำเครื่องดื่มอย่างโซจูและมักกอลลี สาโทพื้นเมืองมาขาย และสิ่งที่เป็นเหมือนภาพจำของโพจังมาจาก็คือผ้าใบสีส้มและพลาสติกใสที่ห่อหุ้มบริเวณสำหรับนั่งกินดื่ม ซึ่งการที่โพจังมาจาได้รับความนิยมมากขึ้นนั่นก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมการทำงานในประเทศเกาหลีที่มีพัฒนาการและเติบโตขึ้น กลุ่มคนที่เรียกว่า ‘Necktie Army’ หรือกลุ่มคนทำงานผูกเนกไทในวัย 30-40 ปี จึงต้องการเวลากินดื่มในสถานที่ง่ายๆ และรวดเร็ว โพจังมาจาจึงเป็นทางออกของกลุ่มคนวัยทำงานอย่างแท้จริง

 

ผ้าใบสีส้มติดตาของโพจังมาจา (บน) Photo: Brent Phone

การกินดื่มโพจังมาจาจากซีรีส์ และ ทักบัล ตีนไก่รสเด็ด (ขวาล่าง)

 

อาหารเด็ด: สิ่งที่คุณต้องไม่พลาดอันดับแรกเลยคือการสั่ง ‘ตีนไก่ผัดเผ็ด’ หรือ ทักบัล มานั่งแทะให้ลิ้นพองกับตีนไก่ที่ผ่านกรรมวิธีให้มันเหนียวนุ่มพร้อมผัดกับซอสเผ็ดปาก หรือหากไม่ทานเผ็ดนักคุณก็ต้องสั่ง ‘โอเด้ง’ หรือลูกชิ้นปลามาสักสามสี่ไม้พร้อมซดซุปไล่ความหนาวเย็นออกจากร่างกาย

เครื่องดื่มเด็ด: โซจู คือคำตอบของทั้งหมด!

 

 

ไทย: กินเฮ จากสตรีทฟู้ดสู่การกินเฮแบบไทยสไตล์

หากเราพูดคำว่า ‘กินเฮ’ คุณคงไม่คุ้นหูมากนัก เพราะมันคือร้านอาหารที่จะสร้างวัฒนธรรมกินดื่มรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มความสนุกสนานของการกินอาหารร่วมกัน และส่งเสียงพูดคุย หัวเราะร่า เฮลั่นให้สุดเสียง กับร้านอาหารแห่งใหม่ภายใต้การดูแลของ  Greyhound Cafe โดยมีคอนเซปต์ที่นำพาสตรีทฟู้ดที่คุณคุ้นเคย หลีกหนีท่อระบายน้ำ หนูท่อ และควันรถขึ้นมาให้คุณได้กินกันแบบสบายๆ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับชาวออฟฟิศ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมการกินดื่มของคนบ้านเรา และการกินอาหารหลังเลิกงานร่วมกันแบบฉบับคนทำงานในหลากหลายประเทศ บวกกับการจัดการร้านในสไตล์ Thainess อย่างแท้จริง ไร้ซึ่งวัดวังชฎาเครื่องหัวแบบ Traditional แต่เต็มไปด้วยความเป็นไทยที่จับต้องได้ทั้ง แก้วเก๊กฮวยร้านขายยา ลังผัก หรือประตูบานเฟี้ยมที่คุณคุ้นเคย

 

 

อาหารเด็ด: สั่งหม้อไฟใหญ่ๆ มาแชร์กันก็ทำให้คุณสนุกขึ้นทั้ง ‘เย็นตาโฟหม้อไฟ’ หรือ ‘เล้งซูเปอร์’ ที่เผ็ดร้อนถูกปาก ส่วนของทานเล่นอย่าง ‘แหนมพริกหนุ่ม’ หรือ ‘หอยเชลล์ย่าง’ ก็ต่างเป็นการดัดแปลงอาหารเดิมๆ ที่คุณคุ้นเคยให้ได้ภาพและรสชาติใหม่

เครื่องดื่มเด็ด: ไม่อยากให้คุณพลาด ‘เก๊กฮวยบ๊วย’ รสชาติเปรี้ยวนำหวานตามที่น่าลิ้มลอง หรือ ‘แดงโซ’ รสชาติน้ำแดงโซดาที่คุณคุ้นเคย บวกกับเยลลีหนึบหนับ เปลี่ยนภาพเครื่องดื่มเดิมๆ ให้สนุกขึ้น

 

อ้างอิง:

FYI
  • KIN+HEY by Greyhound Café ตั้งอยู่บนชั้น 2 โครงการ Groove@CentralWorld โดยวันพฤหัสบดี-วันเสาร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 11.00-24.00 น. และวันอาทิตย์-วันพุธ เปิดตั้งแต่ 11.00-23.00 น.

 

 

  • KIN+HEY by Greyhound Café ไม่ได้เสิร์ฟเพียงแค่อาหารชุดใหญ่สำหรับมื้อเย็นย่ำ แต่ยังมีเมนูเด็ดจานเดียวที่เหมาะกับมื้อกลางวันอย่าง ‘ก๋วยเตี๋ยวต้มยำแห้งหมูสับไข่ยางมะตูมทรงเครื่อง’ และ ‘ข้าวไข่เป็ดเจียวฟูกากหมู’ ให้คุณอิ่มอร่อยแบบไวๆ ชุบชูกายใจให้พร้อมต่อสู้งานยามบ่ายได้เต็มที่ด้วย
  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/KINHEYBKK
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X