×

EU เตรียมใช้ AI จับเท็จที่จุดตรวจคนเข้าเมือง หวังลดเหตุก่อการร้าย วิกฤตผู้อพยพ

05.11.2018
  • LOADING...

สหภาพยุโรป (European Union) เตรียมนำผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์​ (AI) สำหรับการจับเท็จมาใช้งานที่จุดตรวจคนเข้าเมืองในแต่ละประเทศที่ทำงานร่วมกัน เพื่อหวังลดปัญหาการก่อการร้าย และยับยั้งวิกฤตผู้อพยพหลั่งไหลเข้าประเทศ

 

กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ประกอบด้วย ลักเซมเบิรก, กรีซ, ไซปรัส, สหราชอาณาจักร, โปแลนด์, สเปน, ฮังการี, เยอรมนี และลัตเวีย ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการ ‘iBorderCtrl’ ผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับเท็จ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ภายใต้งบลงทุนที่ประมาณ 4.5 ล้านยูโร เพื่อช่วยลดปัญหาการก่อการร้าย ช่วยให้ขั้นตอนการอนุมัติผ่านเข้าประเทศรวดเร็วขึ้น รวมถึงลดวิกฤตผู้อพยพเดินทางเข้าประเทศ

 

iBorderCtrl เกิดขึ้นด้วยเหตุผลที่ว่า แต่ละปีมีประชากรหลั่งไหลเข้ามายังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปมากกว่า 700 ล้านคน ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่ชายแดนในแต่ละประเทศจึงต้องทำงานกันหนักมากขึ้น ทั้งยังต้องเข้มงวดกว่าเดิม เพื่อตรวจจับอาชญากรและผู้ที่ลักลอบเข้าประเทศโดยมีจุดประสงค์อื่นแอบแฝง โดยนำ AI เข้ามาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือคัดกรอง

 

หลักการทำงานคือ ระบบจะให้ผู้เดินทางกรอกเอกสารออนไลน์ แล้วอัปโหลดสู่ระบบ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเริ่มยิงคำถามใส่ผู้เดินทางแต่ละราย เช่น “มีอะไรอยู่ในกระเป๋าของคุณ” หรือ “ถ้าคุณเปิดกระเป๋าให้ผมดูว่ามีอะไรอยู่ข้างใน คุณจะยืนยันกับผมได้ไหมว่าไม่ได้โกหก” หลังจากนั้นกล้องตรวจจับใบหน้าและระบบปัญญาประดิษฐ์จะวิเคราะห์ว่า นักท่องเที่ยวโกหกหรือพูดความจริงผ่านการตรวจจับการเคลื่อนไหวบนใบหน้า (Micro-Gestures)

 

ถ้า iBorderCtrl พบว่า คำตอบที่ระบบได้รับเป็นเรื่องจริง ผู้เดินทางจะได้รับ QR Code เพื่อใช้ผ่านเข้าไปยังประเทศนั้นๆ แต่หากระบบตรวจพบว่า ผู้เดินทางให้ข้อมูลเท็จ ระบบจะตรวจสอบข้อมูลไบโอตริกของผู้เดินทางคนดังกล่าว ทั้งการเก็บลายนิ้วมือ, การอ่านเส้นเลือดบนฝ่ามือ และการจับคู่ใบหน้าที่เหมือนกัน ก่อนจะส่งตัวต่อไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมือ และประเมินผลในลำดับต่อไป

 

เบื้องต้นโครงการนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบและพัฒนา เนื่องจากระบบยังต้องปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความแม่นยำอีกมาก โดยจะเริ่มต้นจากฮังการี, ลัตเวีย และกรีซ ปัจจุบันสามารถทำงานด้วยเรตความสำเร็จที่ 76% แต่เชื่อว่าในอนาคตจะยกระดับขีดจำกัดในการทำงานได้ 85% และคาดว่าในอีก 2 ปีต่อจากนี้ (2020) เครื่องมือ AI ตรวจจับโกหกจะเพิ่มมูลค่าได้ถึง 1.28 แสนล้านยูโรเลยทีเดียว

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising