×

ถอดรหัสค่าไฟแพง! ส่องวงจรกำหนดค่าไฟของประเทศไทย ใครรับบทอะไรบ้าง

24.04.2023
  • LOADING...

‘ของแพง ค่าแรงถูก’ วลีที่ได้ยินกันบ่อยครั้งไม่แพ้ ‘ค่าไฟแพง ค่าแรงถูก’ ยิ่งเข้าสู่ช่วงหน้าร้อน ปัญหาค่าไฟแพงมักจะเป็นประเด็นฮอตหน้าร้อน ที่เป็นเหมือน ‘เรื่องเก่ามาเล่าใหม่’ ซึ่งนั่นไม่เป็นบรรยากาศที่ดีเท่าไรนัก เมื่อเสียงสะท้อนจากประชาชนต้องได้รับการแก้ไขเป็นโจทย์ใหญ่ภาคพลังงาน 

 

THE STANDARD WEALTH ชวนทำความเข้าใจข้อมูลให้ง่ายขึ้น ว่าแท้จริงแล้ว วงจรการกำหนดค่าไฟของประเทศไทย ใครรับบทอะไรบ้าง

 

เริ่มต้นจาก ‘การไฟฟ้า’ ทุกคนคงคุ้นหูกับหน่วยงานนี้กันเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้ว หน่วยงานการไฟฟ้าในประเทศไทยมีทั้งหมด 3 หน่วยงาน แต่ละหน่วยงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน

 

โดยสองหน่วยงานแรกคือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประชาชน โดย กฟน. จะดูแลครัวเรือน 3 แห่งคือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนจังหวัดที่เหลืออยู่ในการดูแลของ กฟภ. 

 

และหน่วยงานที่สามคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สังกัดกระทรวงพลังงาน จะมีหน้าที่สำคัญคือ การผลิตไฟฟ้าและจัดหาไฟฟ้าแก่ประชาชน โดย กฟผ. จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) นำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่ภาครัฐกำหนด เพื่อส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้า ‘เพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน’ ช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐ

 

ขณะที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนด ดูแลต้นทุน ออกใบอนุญาตนำเข้าเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ (LNG) เพื่อนำเอาราคาต้นทุนมาพิจารณา ‘ราคาค่าไฟฟ้าผันแปร’ หรือที่เรียกว่าค่า Ft ก็คือ ‘สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)’ 

 

และแม้ว่า กกพ. จะเป็นผู้คิดสูตรราคาค่าไฟขั้นสุดท้าย ก่อนการพิจารณาค่าไฟฟ้าต้องผ่านความเห็นจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

 

การกำหนดค่าไฟ

 

เปิดวงจรการกำหนดค่าไฟของประเทศไทย ใครรับบทอะไรบ้าง 

 

ผู้ผลิตไฟฟ้า 

 

1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าและจัดหาพลังงาน สังกัดกระทรวงพลังงาน ปัจจุบันผลิต 16,920 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 34.18% ของกำลังการผลิตทั้งระบบ

 

1.1 การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าไปยังพื้นที่ให้บริการ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดย กฟน. เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย 

 

1.2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าไปสู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้น 3 จังหวัดข้างต้น โดย กฟภ. เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย

 

2. กำลังการผลิตส่วนเสริมซึ่ง กฟผ. รับซื้อ

 

2.1 ผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (IPP) ด้วยกำลังการผลิต 17,023.50 เมกะวัตต์ หรือ 34.38% ของกำลังการผลิตทั้งระบบ 3 อันดับ IPP ที่มีกำลังการผลิตสูงสุดคือ บริษัทในเครือบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์

 

2.2 ผู้ผลิตเอกชนรายเล็ก (SPP) ด้วยกำลังการผลิต 9,331 เมกะวัตต์ หรือ 18.85% ของกำลังการผลิตทั้งระบบ ตัวอย่างโรงไฟฟ้า SPP เช่น บริษัทในเครือ กัลฟ์, บริษัท บี.กริม เพาเวอร์   

 

2.3 นำเข้าไฟฟ้าจาก สปป.ลาว และมาเลเซีย กำลังผลิต 6,234 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 12.59% ของกำลังการผลิตทั้งระบบ เช่น โรงไฟฟ้าหงสา, โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี, โครงการสายส่งไทย-มาเลเซีย (HVDC)

 

ผู้มีส่วนในการกำหนดค่าไฟฟ้า

 

  1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. จะเป็นผู้กำหนดราคาต้นทุนเชื้อเพลิง (ค่า Ft) เมื่อมาบวกลบภาษีแล้วจึงออกมาเป็นค่าไฟฟ้าตามที่เราเห็นในบิลค่าไฟ

 

  1. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า

 

ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ 

 

ผู้ใช้ไฟฟ้า/อัตราค่าไฟ

 

1. ภาคครัวเรือน

  • ม.ค.-เม.ย. 66 (เทียบปี 65)

ปี 66 อยู่ที่ 4.77 บาท/หน่วย ปี 65 อยู่ที่ 3.78 บาท/หน่วย

  • พ.ค.-ส.ค. 66 (เทียบปี 65)

ปี 66 อยู่ที่ 4.70 บาท/หน่วย ปี 65 อยู่ที่ 4.00 บาท/หน่วย

  • ก.ย.-ธ.ค. 66 (เทียบปี 65)

รอกำหนด ปี 65 อยู่ที่ 4.72 บาท/หน่วย

 

2. ภาคเอกชน

  • ม.ค.-เม.ย. 66 (เทียบปี 65)

ปี 66 อยู่ที่ 5.33 บาท/หน่วย ปี 65 อยู่ที่ 3.78 บาท/หน่วย

  • พ.ค.-ส.ค. 66 (เทียบปี 65)

ปี 66 อยู่ที่ 4.70 บาท/หน่วย ปี 65 อยู่ที่ 4.00 บาท/หน่วย

  • ก.ย.-ธ.ค. 66 (เทียบปี 65)

รอกำหนด ปี 65 อยู่ที่ 4.28 บาท/หน่วย

 

หมายเหตุ: 

  • เชื้อเพลิงหลักที่นำมาผลิตไฟฟ้าในไทยมากสุดคือ ก๊าซธรรมชาติ ตามด้วยน้ำมันดีเซล 
  • ปี 2565 รัฐบาลมีมาตรการลดค่าไฟฟ้าผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 


ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต

อ้างอิง: 

FYI
  • ค่า Ft คือ ค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน หนี้ กฟผ. ช่วงเวลานั้นๆ
  • ค่า Ft จะปรับขึ้น-ลงทุกๆ 4 เดือน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนผลิตไฟฟ้า เมื่อนำมารวมค่าบริการของการไฟฟ้าและภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะเป็นค่าไฟฟ้าตามที่เราเห็นในบิลค่าไฟ 
  • หน้าร้อนปีนี้ 2566 ค่าไฟกลับมาพีคสูงสุดในรอบ 3 ปี
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X