×

โครงการ ‘บัณฑิตอาสา’ ต้นแบบพื้นที่ EEC หนุนบัณฑิตจบใหม่พัฒนาและขับเคลื่อนบ้านเกิด [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
27.12.2020
  • LOADING...
โครงการ ‘บัณฑิตอาสา’ ต้นแบบพื้นที่ EEC หนุนบัณฑิตจบใหม่พัฒนาและขับเคลื่อนบ้านเกิด

เป็นเวลากว่า 3 เดือนที่โครงการ ‘บัณฑิตอาสาต้นแบบ’ โครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กรมการพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ดำเนินการส่งบัณฑิตจบใหม่ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและทำงานใกล้ชิดกับชุมชน นำปัญหาของชุมชนมาสู่การแก้ไขอย่างจริงจังเป็นระบบ ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือน บัณฑิตทุกคนได้ลงรับฟังปัญหาของชาวบ้าน เพื่อนำไปสู่การเสนอโครงการกับ สกพอ. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564

 

 

ฟังเสียงบัณฑิตอาสา ผู้ลงพื้นที่จริงและปฏิบัติงานจริงกับชุมนุม

ศุภชัย เชื้อพลบ หนึ่งในบัณฑิตอาสาต้นแบบจากมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบ เพราะได้มีโอกาสในการเข้าไปรับฟัง ดูแล และแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันลงพื้นที่ทำงานได้ 3 เดือนแล้ว และได้รวมข้อมูลปัญหาเพื่อเตรียมเสนอให้ผู้นำชุมชนพิจารณาเพื่อทำแผนเสนอให้กับ EEC ต่อไป

 

“ส่วนตัวมีความคุ้นเคยกับพื้นที่ และได้เล็งเห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น จึงมีความตั้งใจที่จะพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้นเพื่อรองรับ EEC ที่กำลังมาถึง อนาคตของอำเภอปลวกแดงกำลังมุ่งไปทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกันผมก็ได้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้ามาของอุตสาหกรรมต่างๆ มันยังไม่เข้ากับบริบทของชุมชน ปัจจัยหลักเกิดจากชุมชนยังปรับตัวไม่ค่อยได้ ยังใช้วิถีชีวิตเดิมอยู่”

 

สำหรับโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนปลวกแดงนั้น ศุภชัยเล่าว่า ได้เลือกจัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนสวัสดิการให้คนในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะส่วนตัวมีเป้าหมายที่อยากให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง เป็นชุมชนที่มีทุกอย่างเรียบง่าย ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น โดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง เพราะเมื่อเราสามารถพัฒนาท้องถิ่นให้ดีได้ เราก็สามารถทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

 

 

ศุภชัย เชื้อพลบ และ ธนชิต แจ่มจำรัส สองบัณฑิตอาสาต้นแบบ ที่เลือกพัฒนาในพื้นที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

 

ทางด้าน ธนชิต แจ่มจำรัส บัณฑิตอาสาต้นแบบ อำเภอปลวกแดง บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า โครงการบัณฑิตอาสาเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจที่เปิดโอกาสให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดได้ แม้จะเรียนจบมาคนละสายงานก็ตาม

 

โดยโครงการที่เลือกใช้พัฒนาชุมชนคือเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน ซึ่งเป็นความสนใจส่วนตัวอยู่แล้ว อีกทั้งหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนากับคนทั้ง 5 ด้าน ตั้งแต่เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม คน และสุขภาพ จึงคิดว่าเป็นโครงการที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาชุมชนได้ในทุกๆ ด้าน 

 

นุจรินทร์ คำแท้ หนึ่งในบัณฑิตอาสาต้นแบบ

 

ด้าน นุจรินทร์ คำแท้ อีกหนึ่งบัณฑิตอาสาต้นแบบ จากมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้ลงพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เล่าว่า เดิมทีอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุนชนในพื้นที่ EEC ให้มีความเจริญอยู่แล้ว เมื่อมีโครงการเกิดขึ้นจึงให้ความสนใจและสมัครเข้าร่วม เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาบ้านเกิดให้มีความสะดวกสบายในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การคมนาคมไปถึงด้านทรัพยากรทางน้ำ รวมถึงการวางแผนรับมือต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น

 

พื้นฐานของหมู่บ้าน หมู่ 4 ตำบลบางขวัญ เป็นพื้นที่เป้าหมายของนุจรินทร์ โดยนุจรินทร์ต้องการให้ EEC จัดสรรงบมาทำคลองขุด กักเก็บน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ ไว้ใช้เพื่อการเกษตรมุ่งหวังให้ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเกษตรอย่างยั่งยืนให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี เนื่องจากตลอด 5 เดือนที่ผ่านมามีช่วงที่เกิดภัยแล้งน้ำไม่พอในการทำการเกษตร

 

 

คอนเซปต์ของโครงการ ‘บัณฑิตอาสาต้นแบบ’

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณยศ คุรุกิจโกศล ผู้รักษาการแทนรองอธิบดีฝ่ายกิจการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา อธิบายถึงคอนเซปต์ของโครงการ ‘บัณฑิตอาสาต้นแบบ’ ว่าโครงการบัณฑิตอาสาเป็นการนำผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือบัณฑิตใหม่ป้ายแดง เข้ามาฝึกอบรมกับโครงการ เพื่อให้พวกเขาได้ลงไปเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการเชื่อมระดับกลุ่มคนที่ทำหน้าที่พัฒนาพื้นที่ EEC และชาวบ้าน โดยเราคาดหวังว่าบัณฑิตอาสากลุ่มนี้จะมีความเข้าใจเชิงลึก มีข้อมูลเชิงลึกในเรื่องจุดแข็งจุดอ่อนของพื้นที่ เพื่อสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำความรู้ในเรื่องของการพัฒนาชุมชนมาจัดทำเป็นโครงการคนละหนึ่งโครงการเพื่อนำเสนอให้ EEC

 

ผศ.ดร.ณยศ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ ความร่วมมือในการพัฒนาระหว่าง สกพอ. ชุมชน โดยมีบัณฑิตอาสาต้นแบบทำหน้าที่ผู้ประสานงาน โดยใช้ศักยภาพที่ได้ร่ำเรียนมาใช้ในการเชื่อมโยงและพัฒนาชุมชน

 

ดร.สกฤติ อิสริยานนท์ อาจารย์และหัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนและมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ออกแบบหลักสูตรร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับบัณฑิตได้เข้าใจเป้าหมายของโครงการ เช่น ความรู้ในเรื่อง EEC ความรู้ในเรื่องของการทำงานกับชุมนุมท้องถิ่น การลงพื้นที่ การทำความรู้จักกับชุมชนในหลากหลายมิติ เพื่อสามารถวิเคราะห์ถึงเหตุและปัจจัยปัญหาต่างๆ ที่พบจากชุมชนได้ 

 

ผศ.ดร.ณยศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในที่สุดแล้วโครงการนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการวัดผลในระยะหนึ่ง เนื่องจากเป็นบัณฑิตอาสาที่ลงพื้นที่เป็นรุ่นแรก ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นลงในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และทางทีมงานมีแผนที่จะขยายโครงการต่อจนถึงเดือนตุลาคม 2564

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising