×

เด็กต้องไม่หลุดนอกระบบการศึกษา ‘ดีแทค’ ร่วมจับมือ ‘กสศ.’ สนับสนุน 2,000 ซิมพร้อมอินเทอร์เน็ตแก่ ‘เด็กนักเรียนยากจนพิเศษ’ เข้าถึงการเรียนอย่างต่อเนื่อง [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
23.08.2021
  • LOADING...
ดีแทค

HIGHLIGHTS

5 mins. read
  • นับเป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างมากเมื่อมีเด็กนักเรียนไทยกว่า 700,000 คน เสี่ยงต่อการ ‘หลุดออกจากระบบการศึกษา’ อันเป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของสังคมไทยในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะยากจนเฉียบพลันที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  • สำหรับ ‘ดีแทค’ นั้นเชื่อว่า ‘การศึกษา’ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับทุกคนในสังคมและจะต้องดีทั่วถึงอย่างเท่าเทียม เทคโนโลยีการสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ให้เด็กนักเรียนได้เข้าถึงการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีข้อจำกัดด้านต้นทุน
  • ดังนั้นดีแทคจึงได้จับมือกับ กสศ. ในการสนับสนุน 2,000 ซิมพร้อมแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็ว 4 Mbps (Unlimited) แก่กลุ่มเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ โดยจะนำร่องส่วนแรกในกรุงเทพมหานครก่อน

นับเป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างมากเมื่อมีเด็กนักเรียนไทยกว่า 700,000 คน เสี่ยงต่อการ ‘หลุดออกจากระบบการศึกษา’

 

ต้นสายปลายเหตุของเรื่องนี้คือการระบาดของโรคโควิดแบบที่ไม่มีใครตั้งตัว และลากยาวมาเป็นระยะเวลา 1 ปีกว่าๆ แล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของสังคมไทยในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะยากจนเฉียบพลันที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ

 

กล่าวคือ โรคโควิดทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนครัวเรือนยากจนพิเศษจำนวนมากมีภาวะยากจนเฉียบพลันจากปัญหาการว่างงานและมีรายได้ลดลงสวนทางกับรายจ่าย รวมทั้งมีสมาชิกในครอบครัวที่ย้ายกลับภูมิลำเนาให้ต้องดูแลมากขึ้น

 

จากข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า รายได้เฉลี่ยครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษหรือนักเรียนทุนเสมอภาคมีอัตราลดลง 11% ระหว่างปีการศึกษา 2562-2563 อยู่ที่ 1,021 บาท/เดือน หรือประมาณ 34 บาท/วัน เท่านั้น ในปีการศึกษา 2/2563

 

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผยว่า “ขณะที่การประเมินของคณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าการระบาดระลอกล่าสุดในปัจจุบันมีแนวโน้มส่งผลให้มีจำนวนนักเรียนยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ในปีการศึกษา 2564 นี้”

 

ขณะเดียวกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิดไม่ให้ลุกลามมากขึ้นไปอีก หลายๆ กิจกรรมที่ต้องรวมตัวกันจึงต้องหลีกเลี่ยงไปโดยปริยาย รวมไปถึง ‘การเรียนในห้องเรียน’ ก็ต้องถูกเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์หรือเรียนจากที่บ้านแทน

 

 

“แต่ไม่ใช่เด็กนักเรียนทุกคนที่พร้อมจะเรียนจากที่บ้าน ข้อมูลจากการสำรวจนักเรียนภาคเรียนที่ 2/2563 ของสำนักบริหารเงินอุดหนุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ กสศ. ในพื้นที่ 29 จังหวัด ซึ่งถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดง พบเด็กนักเรียนที่ประสบปัญหาการเรียนช่วงโควิดจำนวน 271,888 คน” ดร.ไกรยศกล่าว

 

หากเจาะลึกลงไปจะพบว่านักเรียนที่ไม่มีโทรทัศน์ 264,519 คน นักเรียนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ 271,792 คน นักเรียนที่บ้านไม่มีไฟฟ้า 2,733 คน และนักเรียนที่ไม่มีทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และไฟฟ้า 2,672 คน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุสำคัญที่อาจทำให้เด็กนักเรียนเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา

 

ทว่าการที่เด็กไทยสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเสมอภาคจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยขจัดเรื่องวงจรความยากจนได้ เพราะเมื่อมีความรู้ก็จะมีโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพได้ดีขึ้น เป็นการขจัดความยากจนไม่ให้ส่งต่อไปถึงรุ่นลุกรุ่นหลาน

 

ดังนั้นหนึ่งในทางออกของเรื่องนี้คือ ‘อินเทอร์เน็ต’ ซึ่งความเสมอภาคของเด็กและเยาวชนทุกคนในช่วงเวลานี้คือโอกาสสำคัญที่จะทำให้การศึกษาไปถึงเด็กทุกคนได้ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ป้องกันปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ และแสดงให้เห็นว่าความห่างไกลไม่ใช่อุปสรรคหากอินเทอร์เน็ตเข้าไปถึงทุกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคนได้อย่างเสมอภาค

 

 

สำหรับ ‘ดีแทค’ นั้นเชื่อว่า ‘การศึกษา’ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับทุกคนในสังคมและจะต้องไม่มีเด็กคนใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เทคโนโลยีการสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ให้เด็กนักเรียนได้เข้าถึงการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีข้อจำกัดด้านต้นทุน

 

“พันธกิจสำคัญประการหนึ่งของดีแทคคือการสร้างสังคมดิจิทัลที่เท่าเทียมและทั่วถึง สอดคล้องกับกลยุทธ์ Digital Inclusion ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ” ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าว

 

ความตั้งใจของดีแทคได้กลายเป็นที่มาของการจับมือร่วมกับ กสศ. สนับสนุน 2,000 ซิมพร้อมแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็ว 4 Mbps (Unlimited) แก่กลุ่มเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ โดยจะนำร่องส่วนแรกในกรุงเทพมหานครก่อน ซึ่งนอกจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแล้ว นักเรียนทั้ง 2,000 คน ยังสามารถเข้าถึงบทเรียนผ่านแอปพลิเคชันฟรีภายใต้โครงการ ‘Free School-in-a-Box’ ได้อีกด้วย

 

นอกจากนี้ ดีแทคยังได้ร่วมมือกับสำนักงาน กสทช. มอบแพ็กเกจเรียนออนไลน์ฟรี โดยสามารถใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนการสอนอย่าง MS Teams, Zoom, Google Meet, WebEx และ Line Chat ได้ไม่จำกัด พร้อมอินเทอร์เน็ตเต็มสปีด 2 GB ต่อเดือน เพื่อใช้งานนาน 2 เดือน ซึ่งนักเรียนสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้โดยแจ้งเบอร์ดีแทคผ่านโรงเรียน โดยแพ็กเกจจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคมนี้

 

 

ความเคลื่อนไหวของ ‘ดีแทค’ ถือเป็นการตอกย้ำว่า ‘ดีทั่วถึง อย่างเท่าเทียม’ สามารถเข้ามามีส่วนสำคัญในการหนุนเสริมและช่วยสร้างโอกาสทางการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำไม่ให้ขยายห่างมากขึ้นให้กับเด็กไทย ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising