×

ดอยตุงแถลงเปิดตัว Doi Tung Plus, The Social Enterprise Store ผลักดันแบรนด์ธุรกิจเพื่อสังคม

10.07.2018
  • LOADING...

ดอยตุงจับมือกับองค์กร Social Enterprise อื่นๆ อีก 10 แห่ง และเป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างเครือข่ายโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมขึ้นในชื่อโครงการว่า Doi Tung Plus, The Social Enterprise Store

 

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์เพื่อสังคมอย่างดอยตุง ร่วมมือกับอีก 10 องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม เปิดตัวโครงการ Doi Tung Plus, The Social Enterprise Store เพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าสู่ผู้บริโภค

 

 

ดอยตุงเป็นแบรนด์ไทยที่ได้รับการยอมรับจากสังคมมาอย่างยาวนาน ว่าโดดเด่นในฐานะแบรนด์เพื่อสังคมที่สามารถพัฒนาสินค้าและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ผ่าน 4 กลุ่มธุรกิจ ทั้งหัตถกรรม แมกคาเดเมีย เกษตรและท่องเที่ยว รวมถึงกาแฟที่หลายๆ คนรู้จักเป็นอย่างดี

 

ล่าสุด ดอยตุงได้จับมือกับองค์กร Social Enterprise อื่นๆ อีก 10 แห่ง และเป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างเครือข่ายโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมขึ้นในชื่อโครงการว่า Doi Tung Plus, The Social Enterprise Store

 

 

ม.ล. ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “เป็นโครงการที่พัฒนาต่อยอดและขยายผลในการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม ให้มีพื้นที่ในการขยายตลาดการค้าการลงทุน โดยเน้นการสร้างงานให้ชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน สามารถต่อยอดธุรกิจจากท้องถิ่นสู่ชุมชนเมืองไปจนถึงระดับภูมิภาค”

 

 

สำหรับภาพรวมของโครงการคือ การคัดเลือกธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งเบื้องต้นมี 10 แห่ง (ไม่รวมดอยตุงเองซึ่งเป็นแกนหลัก) ที่อยู่ในเกณฑ์การประเมินธุรกิจเพื่อสังคมของมูลนิธิเข้าร่วมโครงการ และจะมีการขยายตลาดไปยังสำนักงานออฟฟิศในแหล่งชุมชน เป็นช่องทางจัดจำหน่ายและเกิดการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำมากขึ้น ซึ่งสามารถขยายผลได้ต่อไป ทั้งในแง่โมเดลธุรกิจและภาคสังคมเอง

 

ด้าน ‘หน้าร้าน’ ของ Doi Tung Plus, The Social Enterprise Store นั้นถูกออกแบบมาให้เป็นบูธสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และสามารถรองรับต่อสินค้าในโครงการ โดยมีการถอดประกอบได้ เพื่อนำไปจัดตั้งใช้งานใน 10 พื้นที่ออฟฟิศ โดย ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ผู้ออกแบบได้ให้คำนิยามไว้เบื้องต้นว่าเป็น Mobile Store

 

 

บรรยากาศในงานแถลงนั้น นอกจากการร่วมพูดคุยกับ ม.ล. ดิศปนัดดา ดิศกุล และ ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร นักออกแบบและเจ้าของ บจ.คิด คิดแล้ว ยังมี ภญ.ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ฯ และ พรธิดา วงศ์ภัทรกุล ผู้ร่วมก่อตั้งสยามออร์แกนิคมาพูดคุยบนเวที รวมถึงผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในโครงการ ที่มาร่วมพูดคุยผ่านบูธตัวอย่างที่ถูกจัดแสดงในงานแก่ผู้เข้าร่วมอีกด้วย

 

สำหรับธุรกิจเพื่อสังคมทั้ง 10 แห่ง ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่

 

  1. ๑4๑ (หนึ่งสี่หนึ่ง) ผลิตภัณฑ์ของใช้และของเล่น DIY ในแนวคิด Slow Play
  2. อภัยภูเบศร เครื่องสำอาง ยาสมุนไพร และบริการสุขภาพโดยแพทย์แผนไทย
  3. โคโคบอร์ด สินค้าที่ผลิตจากไม้อัดเศษวัสดุทางเกษตร
  4. แจสเบอร์รี (Siam Organic) ผลิตภัณฑ์ข้าวและชาอินทรีย์
  5. วิสาหกิจเพื่อสังคมวานีตา ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้และอาหารที่มีเอกลักษณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้
  6. มีวนา ผลิตภัณฑ์กาแฟอาราบิก้าอินทรีย์ใต้ป่า
  7. Socialgiver Online Platform จำหน่าย GiveCard สำหรับใช้ในร้านอาหาร และโรงแรมต่างๆ
  8. Local Alike แพ็กเกจการท่องเที่ยวแบบ Community-Based (Voucher)
  9. วิสาหกิจชุมชนชีววิถีตำบลบ้านน้ำเกี๋ยน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพร
  10. Folkcharm เครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากผ้าฝ้าย

 

 

โดยทั้ง 10 องค์กร ที่ได้ออกบูธจัดจำหน่ายนั้น ถูกคาดหวังให้เป็นต้นแบบธุรกิจและแรงบันดาลใจเพื่อสังคมสำหรับชุมชนอื่นๆ ในการสร้างมาตรฐานสินค้าและบริการเพื่อสังคม ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้นำไปพัฒนาตนเอง และมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

อ้างอิง:

  • มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising