×

รู้จัก ‘ไซยาไนด์’ จากสารเคมีในอุตสาหกรรม สู่ยาพิษร้ายไร้ร่องรอย

05.05.2023
  • LOADING...
ไซยาไนด์

คดีไซยาไนด์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ ถูกจุดประเด็นจากหนึ่งในผู้เสียหายที่เสียชีวิตอย่างปริศนา สู่การสืบเสาะขยายผลไปถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาอีกหลายสิบกรณี จนนำมาสู่การวิเคราะห์แผนประทุษกรรมที่ยืนยันได้ว่าผู้ต้องหาใช้ ‘ยาพิษ’ พรากชีวิตผู้คนและลอยนวลเรื่อยมา

 

จากสารเคมีที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม สู่ยาพิษสังหารที่ไร้ร่องรอย THE STANDARD ชวนไขความลับคดีนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงวิธีระวังตัวจากพิษ ‘ไซยาไนด์’ 

 

ไซยาไนด์พิษร้ายใกล้ตัว

ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN-) มีองค์ประกอบความเป็นพิษสูง ซึ่งมี 2 รูปแบบคือ ของแข็งเกล็ดสีขาว กับก๊าซ   

 

ไซยาไนด์ถูกใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมหนังเทียม

 

มีหลายครั้งที่เราพบเห็นชื่อสารพิษไซยาไนด์ได้ใกล้ตัว เช่น ในการ์ตูน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เช่น ตอน ปริศนาซูชิจานเวียน ซีซัน 12 EP.600-601 หรือแม้แต่คดีที่เกิดขึ้นจริง ‘โมฮาน คูมาร์’ มาตกร 20 ศพ ในประเทศอินเดีย 

 

รู้หรือไม่ว่าอาหารบางประเภทมีไซยาไนด์ปะปนอยู่ตามธรรมชาติ จึงสามารถกลายเป็นอุบัติเหตุการรับสารพิษโดยไม่ตั้งใจผ่านการรับประทานหรือการดื่มเครื่องดื่มได้ เช่น มันสำปะหลังดิบ, หน่อไม้, แอปริคอต, เชอร์รีดำ และอัลมอนด์ดิบ 

 

แม้แต่การสูบบุหรี่และมลภาวะอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ของพลาสติกหรือหนังเทียม จนทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ซึ่งเป็นก๊าซไร้สี มีกลิ่นอัลมอนด์ดิบเนื่องจากมีสารอะมิกดาลิน (Amygdalin) สามารถเป็นกลิ่นบ่งชี้ในการวินิจฉัยของแพทย์ว่าคนไข้นั้นได้รับไซยาไนด์เช่นกัน 

 

ความรุนแรงของไซยาไนด์ 

หากร่างกายได้รับไซยาไนด์ในปริมาณ 0.25 มิลลิกรัมจะเกิดอาการไม่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก, คลื่นไส้อาเจียน, ปวดหัวมึนเมา, ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จางๆ, ระคายเคืองบริเวณจมูก ปาก และกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาหนัก 

 

แต่ถ้าร่างกายได้รับไซยาไนด์ในปริมาณ 200 มิลลิกรัมเท่ากับปริมาณคาเฟอีนในกาแฟอเมริกาโนแก้วใหญ่ จะเกิดอาการรุนแรงจนถึงชีวิต ความรวดเร็วในการเกิดอาการอาจใช้เวลาไม่กี่นาที 

 

อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นอันตรายคือ คนที่ได้รับปริมาณน้อยๆ มาเป็นเวลานาน เช่น การรับควันบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ ไซยาไนด์กลายเป็น ‘ยาพิษไร้ที่ติ’ ได้ทันที เพราะถึงแม้จะไร้รสชาติ แต่มีฤทธิ์ในการปลิดชีวิตสูง

 

ทำไมผู้เสียหายถึงมองข้าม และผู้ต้องหาถึงลอยนวล

ไซยาไนด์มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนในการหล่อเลี้ยงร่างกายได้ จึงทำให้เหยื่อเสียชีวิตภายใน 10 นาทีถึงครึ่งชั่วโมงแล้วแต่ปริมาณที่ได้รับ ทั้งนี้การได้รับไซยาไนด์นั้นมีอาการคล้ายกับอาการทั่วไปที่พบได้ในห้องฉุกเฉิน จึงทำให้แพทย์อาจวินิจฉัยสาเหตุในการเสียชีวิตคลาดเคลื่อนได้

 

ปัจจุบันการจะทำเรื่องขอชันสูตรพลิกศพในประเทศไทยยังคงมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เนื่องจากต้องส่งร่างของผู้เสียชีวิตไปชันสูตรที่กรุงเทพมหานคร จึงทำให้ทางครอบครัวตัดสินใจไม่ทำ เนื่องจากไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายและหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่จะตามมา

 

การตรวจหาและยาต้านไซยาไนด์

การตรวจหาไซยาไนด์ต้องใช้เลือดในการตรวจสอบเท่านั้น 

  • สถาบันนิติเวชวิทยา ใช้การตรวจวิเคราะห์ไซยาไนด์เบื้องต้น ใช้ชุด Color Test: MU Test Kit for Blood and Gastric Content ชุดทดสอบไซยาไนด์ภาคสนาม จากมหาวิทยาลัยมหิดล และตรวจยืนยันคุณภาพวิเคราะห์โดย SPME Fiber 
  • สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ใช้การตรวจวิเคราะห์ไซยาไนด์เบื้องต้นโดย Prussian Blue Test (Paper Strip) และตรวจยืนยันคุณภาพวิเคราะห์โดย เทคนิค HPLC

 

สำหรับยาต้านไซยาไนด์ที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ ไฮดรอกโซโคบาลามิน (Hydroxocobalamin) บางประเทศที่ยังไม่มียาตัวนี้ สามารถใช้สารกลุ่มไนไตรท์ หรือสารกลุ่มโซเดียมไนไตรท์ ทดแทนได้ 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising