×

เชื่อหรือไม่ CSR ใช้วัด ‘กึ๋น’ องค์กรระดับท็อปได้ว่าใครคือยืนหนึ่งตัวจริง [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
08.03.2019
  • LOADING...

หลายๆ คนอาจจะเคยตั้งข้อกังขาว่าทำไมหลายองค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างก็ขยันทำกิจกรรม CSR กันตลอดทั้งปี และยิ่งเราพยายามเพ่งลึกเข้าไปในเจตนารมณ์มากเท่าไร ก็ยิ่งอยากค้นหาคำตอบให้ได้ว่าแท้จริงแล้วประโยชน์ของ CSR ตกอยู่กับใครกันแน่

 

เพราะเมื่อมองย้อนไปยังจุดกำเนิดของ CSR หรือ Corporate Social Responsibility ที่อยู่คู่โลกใบนี้มานานกว่า 200 ปี ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นเพื่อการแก้ปัญหาที่แต่ละบริษัทก่อไว้ทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง บริษัท อีสต์ อินเดีย แห่งประเทศอังกฤษ ที่ถูกคว่ำบาตรจากพลเมืองในประเทศ เนื่องจากพบว่าบริษัทมีการใช้แรงงานทาส ทำให้อีสต์ อินเดีย ต้องหันมาใส่ใจกับสิทธิมนุษยชนและสวัสดิการแรงงานมากขึ้น รวมถึงตัวอย่างจากอีกหลายองค์กรทั่วโลกที่มักรอให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยแก้ไข ซึ่งกลับกลายเป็นผลดีในภายหลัง เพราะทำให้หลายๆ บริษัทเริ่มมองการณ์ไกลไปมากกว่านั้น โดยแทนที่จะรอให้เกิดการประท้วงด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ขึ้นก่อนแล้วค่อยเริ่มดำเนินการแก้ไข บริษัทที่มองการณ์ไกลจึงเริ่มเป็นฝ่ายรุกในการดำเนินธุรกิจที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อแสดงออกซึ่งความปรารถนาดีในการตอบแทนสังคมอย่างจริงใจ

 

ตัวอย่างเช่น บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ที่เคยให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในชุมชนห่างไกลของประเทศอินเดียที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ด้วยการคิดค้นเครื่องปรินเตอร์ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า จนในที่สุดปรินเตอร์รุ่นนี้ก็ได้รับการต่อยอดขึ้นเป็นสินค้าตัวหนึ่งของบริษัทฯ ในเวลาต่อมากรณีนี้ถือเป็น CSR ที่ช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กร

 

นอกจากนี้ CSR ยังสร้างประโยชน์อีกหลายสถานให้กับทั้งตัวองค์กรเองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักลงทุน ช่วยให้บริษัทมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การทำกิจกรรม CSR ที่ดียังช่วยสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับแต่ละองค์กรอีกด้วย

 

แต่ก็ใช่ว่าทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรม CSR แบบรอบด้าน เพราะต้องยอมรับว่าการลงแรงปฏิบัติกิจกรรม CSR อย่างสม่ำเสมอและยั่งยืนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำต้องอาศัยความจริงใจและจริงจังเป็นที่ตั้ง ซึ่งนั่นเป็นเจตนารมณ์ที่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) มีต่อสังคมเสมอมา

 

 

ด้วยความที่ IRPC เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีรายใหญ่ ซึ่งมีทั้งโรงงาน ท่าเรือ คลังน้ำมัน และโรงไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกกิจกรรมในกิจการของ IRPC สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ทั้งสิ้น IRPC จึงให้ความสำคัญต่อการทำกิจกรรม CSR ถึง 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน การปรับปรุงระบบการศึกษา และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์กรจนเกิดเป็นกิจกรรม CSR ที่น่าสนใจขึ้นหลายโครงการ

 

หนึ่งในโครงการที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของ IRPC ในฐานะผู้ก่อตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกแห่งแรกในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ก็คือโครงการขาเทียมที่ IRPC ได้ดำเนินโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทาน และบริจาคเม็ดพลาสติกแก่มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวนปีละ 2025 ตัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตขาเทียมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ผลิตขาเทียมได้ 21,579 ขา เพราะ IRPC คำนึงถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังปลอดภัยต่อสุขอนามัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

 

 

นอกจากนี้ IRPC ยังได้ร่วมกับมูลนิธิยุวพัฒน์ จัดงาน ‘ไออาร์พีซี วันปันกัน’ ขึ้น โดยเป็นงานออกร้านสินค้าต่างๆ เพื่อร่วมกันทำบุญ ทั้งยังมีการสาธิตการทำขาเทียมและรับบริจาคให้กับองค์กรการกุศลต่างๆ พร้อมกันนี้ได้มีการนำสินค้ามาออกประมูล โดยผู้บริหารของ IRPC เป็นผู้ทำการประมูล แล้วนำรายได้ทั้งหมดมอบให้โครงการปันกันของมูลนิธิยุวพัฒน์ และส่วนหนึ่งเข้าสู่โครงการขาเทียมอีกด้วย

 

สำหรับกิจกรรม CSR เพื่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีโครงการเด่นๆ อย่างโครงการลำไทรโยงโมเดล ที่ถือเป็นชุมชนแห่งแรกที่ IRPC ได้นำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำมาช่วยแก้และลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านหนองยาง ตำบลลำไทรโยง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เริ่มตั้งแต่การลงไปทำประชาพิจารณ์เก็บข้อมูล ตามด้วยการช่วยขุดบ่อกักเก็บน้ำ ทำท่อส่งน้ำ และขุดลอกอ่างเก็บน้ำจำนวน 5 อ่าง ให้มีความลึกเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 4 เมตร ทำให้สามารถเก็บน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมได้อีก 100,000 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 1 เท่าตัว ทำให้ชาวบ้านหนองยางมีน้ำใช้อย่างพอเพียงในหน้าแล้งและกลายเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ก่อนจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ อีกหลายจังหวัด เช่น จังหวัดศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ อุดรธานี ฯลฯ

 

 

นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกับชุมชนตามมา เช่น การติดตั้งกังหันลมสำหรับกวนปูนขาวที่ช่วยปรับสภาพน้ำให้ใสขึ้น วางระบบการเดินท่อส่งน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากองค์ความรู้ของพนักงาน IRPC

 

 

IRPC ยังมีกิจกรรม CSR ดีๆ อีกหลายด้านที่ครอบคลุมการคืนประโยชน์สู่สังคมอย่างรอบด้าน ซึ่งนอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ยั่งยืนแล้ว IRPC ยังยืนหยัดในการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนด้วยการจัดสรร 3% ของกำไรสุทธิเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีคืนสู่สังคม ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับบริษัทเอกชนรายอื่นๆ ให้ตระหนักถึงการแบ่งปันเพื่อเติบโตร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืนเช่นเดียวกับที่ IRPC คำนึงมาโดยตลอด

 

แน่นอนว่าการวัดผลกิจกรรม CSR ไม่สามารถสำเร็จได้ภายในเวลาข้ามปี แต่ต้องเกิดจากการสั่งสมเป็นระยะเวลานาน อาจจะกินเวลาร่วมทศวรรษหรือถึงจะต้องใช้เวลาบ่มเพาะยาวนานเกินกึ่งศตวรรษ แต่เชื่อเถอะว่ากำไรที่เกิดขึ้นไม่ได้ตกอยู่กับแค่บริษัทใดบริษัทหนึ่งอย่างแน่นอน แต่จะงอกเงยขึ้นในสังคมและส่งผลดีต่อลูกหลานในอนาคตอย่างยั่งยืนสืบไป

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising