เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าในแต่ละวันเราใช้เงินหมดไปกับสิ่งไหนมากที่สุด และเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าค่าใช้จ่ายที่คิดไว้จะเป็นจริงเสมอไป เรื่องนี้ THE STANDARD ขอพาคุณไปสำรวจค่าใช้จ่ายของคนกรุงว่าสิ่งไหนมาแรงเป็นอันดับหนึ่ง และมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ จะทำอย่างไรเพื่อประคับประคองเงินในกระเป๋าให้อยู่ตลอดรอดฝั่งไปจนถึงสิ้นเดือน
เผยตัวเลขค่าใช้จ่ายของคนกรุงประจำปี 2560
จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้ทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2560 พบว่าครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 26,949 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนทั่วประเทศเฉลี่ยตกอยู่เดือนละ 21,437 บาท ซึ่งแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
- 35.1% เป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ในจำนวนนี้เป็นค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1.2%)
- 20.3% เป็นค่าที่อยู่อาศัย ของแต่งบ้าน และเครื่องใช้ภายในบ้าน
- 17.4% เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการเดินทาง
ส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ของใช้ส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร การศึกษา ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
แต่ตัวเลขเหล่านี้วัดจากครัวเรือนทั่วประเทศ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดข้างเคียง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ‘สูง’ กว่าภาคอื่นๆ อยู่ที่ 41,897 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายและจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนก็สูงสุดเช่นกันคือ 33,126 บาท และ 219,505 บาท ตามลำดับ ซึ่งถ้าเราลองเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ระหว่างปี 2550-2560 จะพบว่าแม้รายได้เฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ค่าใช้จ่ายก็วิ่งตามมาติดๆ เช่นกัน นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุหรือยามเจ็บไข้ได้ป่วย
‘ค่าเดินทาง’ ภาระที่คนเมืองต้องแบกรับ
หากย้อนกลับไปดูค่าใช้จ่ายด้านบนอีกครั้งจะพบว่านอกจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและที่อยู่อาศัยแล้ว ค่าเดินทางก็เป็นหนึ่งในรายจ่ายก้อนใหญ่ที่คนเมืองแบกรับ
ซึ่งตัวเลขตามความจริงอาจพุ่งสูงกว่าที่เห็นในกรณีที่คุณใช้ชีวิตอยู่ในเมือง เมื่อ อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ นักวางผังเมืองและนักภูมิศาสตร์เมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ UDDC เคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนกรุงเทพฯ ใช้จ่ายเงินกับค่าเดินทางประมาณ 20% ของรายได้ เช่น ถ้ารายได้ 100 บาท จะเสียค่าเดินทางจำนวน 20 บาท แต่หากเป็นประเทศที่มีการจัดสรรระบบขนส่งสาธารณะที่ดี ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจะลดเหลือเพียง 10% ของรายได้ทั้งหมด โดยที่ผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนมองว่าค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางเป็นความคุ้นชินและเป็นสิ่งที่คนเมืองโดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนมองว่า ‘จำเป็น’ ทั้งที่ในความเป็นจริงเราสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ หากเมืองไทยมีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพมากพอ หรือเปลี่ยนจากการนั่งรถมาเป็นการเดินเท้า เช่นเดียวกับการหลีกเลี่ยงการจราจรช่วงติดขัด
เรื่องนี้เราได้ลองสอบถามมนุษย์เงินเดือนใกล้ตัวว่าแต่ละวันใช้เงินไปกับการเดินทางเท่าไร แจงได้ว่าค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างจากบ้านไปรถไฟใต้ดิน 30 บาท ค่ารถไฟใต้ดิน 30 บาท ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างจากรถไฟใต้ดินมาออฟฟิศอีก 30 บาท รวมทั้งหมด 90 บาท ทั้งไปและกลับจะตกวันละ 180 บาท หากนับวันทำงาน 20 วันต่อเดือน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ 3,600 บาทเลยทีเดียว นับเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยสำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศที่ใช้เงินกันเดือนชนเดือน
บัตรเครดิต ตัวช่วยของคนเมืองฉลาดใช้
ด้วยภาวะชักหน้าไม่ถึงหลังและการจ่อขึ้นราคาของระบบขนส่งมวลชนในไทยทำให้บัตรเครดิตเข้ามามีบทบาทในชีวิตคนกรุงมากขึ้น ตามที่สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของคนกรุง พบว่าแรงจูงใจอันดับหนึ่ง ได้แก่ การมีบัตรเครดิตไว้ใช้ยามจำเป็นถึง 59.07% ด้วยเหตุนี้เองธนาคารต่างๆ จึงเร่งออกบัตรเครดิตที่สามารถตอบโจทย์คนเมืองได้มากที่สุด เช่น เน้นเรื่องการเดินทางอย่างการสะสมไมล์ มอบส่วนลดร้านอาหาร หรือล่าสุดมอบเงินคืนในทุกการใช้จ่ายที่หมดไปกับระบบขนส่งมวลชน ด้วยบัตร CITI CASH BACK PLATINUM ชูจุดเด่นด้านการคืนเงินสูงสุด อาทิ มอบเงินคืน 11% จากการใช้จ่ายที่รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน หากใช้บริการ Grab เพียงใส่โค้ด CITI15 รับส่วนลดเพิ่ม 15% หรือคืนเงิน 5% เมื่อใช้จ่ายที่ Boots, Watsons และ Grab รวมสูงสุด 500 บาท ในขณะที่การใช้จ่ายอื่นๆ ก็รับเงินคืน 1% สูงสุด 2,000 บาท
ทั้งหมดนี้นับเป็นจุดแข็งที่ทำให้บัตรใบนี้แตกต่างจากสิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตค่ายอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนอย่าง BTS, MRT หรือ Grab เป็นประจำทุกวัน การที่ยิ่งใช้มากยิ่งได้กลับมามากในสิ่งที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จึงนับเป็นการผลตอบแทนที่คุ้มค่าและน่าคบหามากกว่าบัตรประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาด
สมัครเลย คลิก citi.asia/THDACBTH
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก citi.asia/THScCcp18
#CitiCashBack #ชีวิตซิตี้ยิ่งใช้ยิ่งได้คืน
อ้างอิง: