×

CPALL – ยอดขายสาขาใน 4Q65TD เติบโต YoY ดีที่สุดในกลุ่มพาณิชย์

16.12.2022
  • LOADING...
CPALL

เกิดอะไรขึ้น:

ใน 4Q65TD การเติบโตของยอดขายสาขา (SSS Growth) ของ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) น่าจะเติบโตในระดับ Low-Teen YoY จากฐานต่ำของปีก่อนสืบเนื่องมาจากมาตรการเคอร์ฟิวช่วงกลางคืน (รัฐบาลยกเลิกเคอร์ฟิวในกรุงเทพฯ และปริมณฑลตอนสิ้นเดือนตุลาคม 2564 และทั่วประเทศตอนสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว การกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ และ World Cup ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม 

 

ทั้งนี้ใน 3Q65 จำนวนลูกค้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 928 คนต่อสาขาต่อวัน (เพิ่มขึ้น 27%YoY; ลดลง 20% เทียบกับระดับก่อนเกิดโควิดในปี 2562) และยอดซื้อต่อบิลอยู่ที่ 82 บาท (ลดลง 3.5%YoY; เพิ่มขึ้น 17% เทียบกับระดับก่อนเกิดโควิดในปี 2562) เมื่อมองในระยะถัดไป ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ยอดขายเติบโตจะมาจากจำนวนลูกค้าเข้าร้านที่ฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อย่างไรก็ตาม ยอดซื้อต่อบิลมีแนวโน้มที่จะลดลงเล็กน้อยจากปี 2563-2564 จากการฟื้นตัวของยอดขายสินค้าราคาต่ำอันเป็นผลมาจากการซื้อแบบฉับพลันจากแรงกระตุ้น แต่จะสูงกว่าปี 2562 โดยได้รับการสนับสนุนจากยอดขายจาก 7-Eleven Delivery ที่เพิ่มขึ้น (จัดส่งฟรีสำหรับยอดซื้อ 100 บาทขึ้นไป) ยอดขายสินค้าแพ็กใหญ่ที่เพิ่มขึ้น และราคาสินค้าที่ปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น กลับมาเปิดร้านตามปกติและสาขาใหม่ หลังจากปิดร้านสะดวกซื้อ (CVS) <500 สาขาในโรงเรียน สำนักงาน และพื้นที่ท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราวในช่วงต้นปี 2565 (<4% ของสาขาทั้งหมด) 

 

CPALL ก็ทยอยกลับมาเปิดสาขาเหล่านี้อีกครั้งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ยอดขายสาขา (SSS) เติบโต ทั้งวางเผนเปิดสาขา 700 สาขาต่อปี (หลังจากหักสาขาที่ปิด) ในปี 2565 (เทียบกับ 526 สาขาใน 9M65) และในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

 

ด้านอัตรากำไรขั้นต้นจากการผสมผสานของสินค้าภายในร้าน (Product Mix) ของ CPALL ดูดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากสัดส่วนยอดขายสินค้ากลุ่มของใช้ส่วนตัวและกลุ่มอาหารพร้อมรับประทานและเครื่องดื่มพร้อมดื่มซึ่งให้มาร์จิ้นสูงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการกลับมาของนักท่องเที่ยวและการซื้อแบบฉับพลันจากแรงกระตุ้นที่เพิ่มขึ้น และการปรับราคาสินค้ากลุ่มอาหารเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุน 

 

อัตรากำไรขั้นต้น (เฉพาะบริษัท) ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายระดับสูงสืบเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า (Bubble and Seal) และค่าใช้จ่ายจากการจัดการระบบขนส่งเพื่อเติมสินค้าให้ร้านสำหรับชั่วโมงทำการที่สั้นลงเหมือนใน 4Q64 เกิดขึ้นอีก 

 

ส่วนค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์คิดเป็นสัดส่วน 1-2% ของรายได้ ค่าสาธารณูปโภคคิดเป็นสัดส่วน 2% และค่าใช้จ่ายบุคลากรคิดเป็นสัดส่วน 1% (ค่าใช้จ่ายบุคลากร <20% เชื่อมโยงกับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2562) ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นดูเหมือนจะอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นเร็วขึ้นจะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดมากขึ้น

 

นอกจากนี้ หลังจากเปิดร้านสะดวกซื้อ (CVS) สาขาแรกในเดือนสิงหาคม 2564 CPALL ได้เปิดสาขาในกัมพูชาไปแล้วประมาณ 30 สาขานับถึงปัจจุบัน โดยทำยอดขายได้ตามเป้าที่บริษัทวางไว้ บริษัทวางแผนดำเนินงานร้าน CVS ในกัมพูชาเกือบ 100 สาขา และเปิดร้าน CVS สาขาแรกในลาวภายในปี 2566

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น CPALL ปรับเพิ่มขึ้น 5.69%MoM สู่ระดับ 65.00 บาท ดีกว่า SET Index ที่ปรับลดลง 0.98%MoM อยู่ที่ระดับ 1,613.42 จุด 

 

แนวโน้มธุรกิจและกลยุทธ์การลงทุน:

InnovestX Research คาดว่ากำไร 4Q65 จะปรับตัวดีขึ้น YoY โดยเกิดจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อ (CVS) ที่ดีขึ้นจากแรงหนุนยอดขายที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งมากขึ้น (จากฐานต่ำของปีก่อนอันเป็นผลมาจากมาตรการเคอร์ฟิว) และส่วนแบ่งกำไรจาก MAKRO ที่เพิ่มขึ้นจากการผนึกกำลังทางธุรกิจและการรีแบรนด์ร้านค้าของ Lotus’s แต่จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัว QoQ จากปัจจัยฤดูกาลและปี 2565 คาดว่า CPALL จะรายงานกำไรปกติเติบโต 61%YoY สู่ 1.4 หมื่นล้านบาท

 

ทั้งนี้ ปี 2566 คาดว่า CPALL จะรายงานกำไรปกติเติบโต 25%YoY สู่ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยการเติบโต 9% จะเกิดจากส่วนแบ่งกำไรที่ดีขึ้นจาก MAKRO และ Lotus’s เพราะยอดขายและมาร์จิ้นปรับตัวดีขึ้นและการผนึกกำลังทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น และที่เหลือเกิดจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อ (CVS) ที่ฟื้นตัวดีขึ้น เพราะยอดขายสาขาดีขึ้นจากเศรษฐกิจฟื้นตัวและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และมาร์จิ้นฟื้นตัวจากการมีสัดส่วนการขายที่ดีขึ้น

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน InnovestX Research คงเรตติ้ง OUTPERFORM ด้วยราคาเป้าหมายสิ้นปี 2566 อ้างอิงวิธี DCF ที่ 78 บาทต่อหุ้น หรือมี Upside 19% จากราคาหุ้นในปัจจุบัน 

 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือการเปลี่ยนแปลงในด้านกำลังซื้อและต้นทุนที่สูงขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising