วานนี้ (16 กุมภาพันธ์) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงผลการเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชนเขตอย่างไม่เป็นทางการ หลังปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. จากการเลือกตั้งผ่าน D-vote ในระบบ Blockchain ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งสามารถรู้ผลทันทีหลังปิดหีบ
ในการเลือกตั้งฯ มีผู้ยืนยันตัวตนทั้งสิ้น 10,301 คน และมาใช้สิทธิทั้งหมด 6,973 คน (ข้อมูล ณ เวลา 17.00 น.) โดยเขตดอนเมืองมีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 704 คน สำหรับผลการเลือกตั้งสภาเด็กและเยาวชนเขต 30 เขต มีดังนี้
- เขตพระนคร ฉัตรปวีณ์ รชตดำรงกุล
- เขตดุสิต เขมจิรา คเชนทร์ไพศาล
- เขตบางเขน พัชราภา ผายชำนาญ
- เขตบางกะปิ ธนกร ปลอดภัย
- เขตพระโขนง ชนินทร์ภพ สกุลโกศล
- เขตมีนบุรี จันทิมา บัวศรี
- เขตลาดกระบัง เอวาริณณ์ ฤกษ์ดี
- เขตสัมพันธวงศ์ ศุภกฤต ชัยนราพิพัฒน์
- เขตห้วยขวาง วันทนาพร รัตนพงษ์
- เขตคลองสาน นฤพงษ์ ทองบุญเลิศ
- เขตตลิ่งชัน ธัญภร แบบอย่าง
- เขตบางกอกน้อย กิติพงศ์ แซ่จาง
- เขตบางขุนเทียน ธาวิน คงประโยชน์
- เขตภาษีเจริญ รัชชานนท์ คำดี
- เขตหนองแขม ปิ่นณิชา ทองรอด
- เขตดินแดง ธีระศักดิ์ เรืองสา
- เขตบึงกุ่ม สิริภัสสร ศุขวินทุ
- เขตบางซื่อ เกษศิรินทร์ เทิดขวัญชัย
- เขตจตุจักร ปวริศา ด่านธำรงกูล และ ภัทรกร สุดมลทิน (มีคะแนนเท่ากันที่ 43 คะแนน)
- เขตบางคอแหลม อาริตา แสงปิน
- เขตประเวศ นุชรีย์ สุขเกษม
- เขตคลองเตย บัว ใหม่ตา
- เขตจอมทอง ธนกฤต แจ่มดวง
- เขตดอนเมือง จิรวุฒิ จั่นชาวนา
- เขตลาดพร้าว อชิร ด้วงหรุ่ม
- เขตวัฒนา สาริศา กำมะหยี่
- เขตบางแค วิชญาพร รักกสิกร
- เขตคลองสามวา ธัญชนก สว่างวงค์
- เขตบางนา ศิริชัย สมวงษา
- เขตบางบอน ปวิดา เม่นฉายา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องเข้าคูหาเลือกตั้ง ไม่ต้องมีกระบวนการรับหีบ เปิดหีบ นับบัตรเลือกตั้ง และไม่ต้องมีการขนส่งบัตรเลือกตั้งไปนับ เป็นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเลือกตั้งให้โปร่งใส เป็นก้าวแรกของการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเลือกตั้ง ซึ่งต้องนำไปพัฒนาให้ต่อเนื่อง และขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ชนะการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการจากทุกเขต
สำหรับบทบาทของสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ผู้ดำรงตำแหน่งในสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร จะมีวาระการทำงาน 2 ปี โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นตัวแทนเด็กและเยาวชนในการสะท้อนปัญหา นโยบาย และผลประโยชน์ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน จากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ
มีบทบาทและหน้าที่หลักๆ คือ
- รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ หรือประเมินเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- เป็นกระบอกเสียงในการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- จัดกิจกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนภายในเขต จากงบประมาณและทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรร โดยมีงบประมาณโดยประมาณ 30,000-100,000 บาทต่อ 1 เขต
สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ มีเขตที่เปิดเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 30 เขต ได้แก่
โซนกรุงเทพกลาง: ดินแดง, ดุสิต, พระนคร, สัมพันธวงศ์, ห้วยขวาง
โซนกรุงเทพเหนือ: จตุจักร, ดอนเมือง, บางเขน, บางซื่อ, ลาดพร้าว
โซนกรุงเทพใต้: คลองเตย, บางคอแหลม, บางนา, พระโขนง, วัฒนา
โซนกรุงเทพตะวันออก: คลองสามวา, บางกะปิ, บึงกุ่ม, ประเวศ, มีนบุรี, ลาดกระบัง
โซนธนบุรีเหนือ: คลองสาน, จอมทอง, ตลิ่งชัน, บางกอกน้อย
โซนธนบุรีใต้: บางขุนเทียน, บางบอน, ภาษีเจริญ, หนองแขม, บางแค