×
SCB Omnibus Fund 2024

Central Pattana ยืนหนึ่งฝ่าวิกฤตโควิด-19 ผลประกอบการปี 2563 มีกำไร 9,557 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าเปิด 2 โครงการใหม่ ‘เซ็นทรัล ศรีราชา’ และ ‘อยุธยา’ ตามแผนปลายปีนี้

โดย THE STANDARD TEAM
01.03.2021
  • LOADING...
Central Pattana ยืนหนึ่งฝ่าวิกฤตโควิด-19 ผลประกอบการปี 2563 มีกำไร 9,557 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าเปิด 2 โครงการใหม่ ‘เซ็นทรัล ศรีราชา’ และ ‘อยุธยา’ ตามแผนปลายปีนี้ [Advertorial]

HIGHLIGHTS

6 MINS. READ
  • ถึงบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จะเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 แต่กระนั้นด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ก็ทำให้ผลประกอบการในปี 2563 สามารถปิดปีด้วยเลขกำไรสุทธิ 9,557 ล้านบาท
  • การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เซ็นทรัลพัฒนาได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของ ‘ดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI)’ ประจำปี 2563 ในกลุ่มดัชนียั่งยืนระดับโลก (DJSI World) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน (ปี 2561-2563) และในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน (2557-2563) เป็นบริษัทแห่งเดียวในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเป็น 1 ใน 12 บริษัทของประเทศไทยที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มระดับโลกนี้ 
  • สำหรับในปี 2564 เซ็นทรัลพัฒนาเชื่อว่า สถานการณ์ต่างๆ จะปรับตัวดีขึ้น จึงเดินหน้าเปิด 2 โครงการใหม่ตามแผน คือ เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา และเซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา ซึ่งมีกำหนดเปิดช่วงปลายปี 2564
  • ยังไม่หมดเท่านั้น ในปี 2565 ยังมีโครงการเซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี และโครงการที่จะพลิกโฉม กทม. อีกมากมาย อาทิ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) บนทำเลทอง ‘ซูเปอร์คอร์ ซีบีดี’ ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2566-2567 เป็นต้นไปอีกด้วย 

วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวในช่วงต้นปี 2563 และลากยาวมาจนถึงทุกวันนี้ได้สร้างผลกระทบครั้งใหญ่ โดยเฉพาะในแง่ของธุรกิจที่โดนสึนามิลูกนี้พัดกระหน่ำ จนทำให้ผลประกอบการของหลายบริษัทต้องเผชิญภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรก 

 

แต่สำหรับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทย ผู้เป็นเจ้าของศูนย์การค้า 34 แห่ง (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ที่เป็นแพลตฟอร์มในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ร้านบริการ มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร และธุรกิจอื่นๆ ของเซ็นทรัลพัฒนา ได้แก่ ศูนย์อาหาร 30 แห่ง, อาคารสำนักงาน 10 อาคาร, โรงแรม 2 แห่ง, โครงการที่พักอาศัยอีก 18 โครงการ กระจายไปทั่วประเทศไทย 

 

แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ตาม แต่ในแง่ผลประกอบการนั้นกลับยืนหนึ่ง เพราะสามารถทำกำไร พร้อมทั้งยังดูแล ช่วยเหลือ ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งพันธมิตร ผู้เช่าที่มีอยู่ทั้งประเทศกว่า 15,000 ราย และลูกค้าผู้มาใช้บริการได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ปิดปี 2563 ด้วยกำไร 9,557 ล้านบาทฃ

ตามรายงานที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกระบุว่า ผลประกอบการในปี 2563 มีรายได้รวมทั้งหมด 32,062 ล้านบาท ลดลง 16.5% ในขณะที่กำไรสุทธิ นั้นแม้จะลงลง 18.6% แต่ก็ยังสามารถสร้างผลกำไรด้วยตัวเลขที่สูงถึง 9,557 ล้านบาท 

 

เซ็นทรัลพัฒนาอธิบายว่า การลดลงของรายได้เกิดจากการช่วยเหลือพันธมิตรผู้เช่า ด้วยการยกเว้น ลดค่าเช่าและค่าบริการ โดยตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคในครั้งแรก เซ็นทรัลพัฒนาได้ปิดศูนย์การค้าเป็นการชั่วคราวทั้ง 34 แห่ง เป็นระยะเวลา 45-56 วันตามประกาศของภาครัฐ

 

แต่ก็ได้มีการเปิดพื้นที่ที่จำเป็นบางส่วน อาทิ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร ร้านขายยา ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับซื้อแบบกลับบ้านและส่งผ่านช่องทางเดลิเวอรี เป็นต้น รวมไปถึงได้อำนวยความสะดวกในการจัดสรรพื้นที่และจัดระเบียบโดยคำนึงถึงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) 

 

 

ตลอดจนมีการจัดทำระบบ Chat and Shop, Call Center, Pick Up Counter และ Drive Through Pick Up เพื่อเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยสำหรับลูกค้า รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มแผนแม่บท ‘เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ’ มาตรการดูแลป้องกันอย่างทั่วถึงภายในศูนย์การค้า จนกลายเป็น ‘ผู้นำในการสร้างมาตรการเชิงรุกระดับประเทศ’

 

 

ปรับตัวสร้างความมั่นใจอย่างต่อเนื่อง 

ผู้นำ เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ สร้างความมั่นใจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาส 2 ปี 2563 เป็นต้นมา ที่ศูนย์การค้าสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติ มาตรการสะอาดปลอดภัยเชิงรุกดังกล่าวสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในยุคที่ใครๆ ก็ต่างคำนึงถึงความสะอาดมาเป็นอันดับแรก 

 

ส่งผลให้จำนวนทราฟฟิกในสาขาส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็วและ กลับมามากกว่า 90% จากช่วงสถานการณ์ปกติ และปัจจุบันเริ่มเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในหลายศูนย์การค้า

 

ขณะเดียวกันเซ็นทรัลพัฒนาได้มีการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินและรักษาความสามารถในการทำธุรกิจให้เกิดผลกำไร ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์อันท้าทาย โดยยังคงรักษาผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอีกด้วย

 

พร้อมทั้งมีกลยุทธ์ในการกระจายความเสี่ยงไปในธุรกิจต่างๆ อีกทั้งมีกิจกรรมทางการตลาดมาช่วยกระตุ้นการจับจ่ายของผู้บริโภค โดยปรับรูปแบบการจัดอีเวนต์ในรูปแบบใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น งานเคานต์ดาวน์แบบใหม่ผ่านไลฟ์ออนไลน์ และถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ซึ่งยังคงรักษาความเป็นแลนด์มาร์กเคานต์ดาวน์ของประเทศ และได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี 

 

 

ผู้นำความยั่งยืนระดับโลก

การดำเนินงานที่มีแบบแผนและการปรับตัวอย่างต่อเนื่องไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้เซ็นทรัลพัฒนาได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของ ‘ดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI)’ ประจำปี 2563 ในกลุ่มดัชนียั่งยืนระดับโลก (DJSI World) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน (ปี 2561-2563) และในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน (2557-2563)

 

โดยเซ็นทรัลพัฒนาเป็นบริษัทหนึ่งเดียวในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเป็น 1 ใน 12 บริษัทของประเทศไทยที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มระดับโลกและกลุ่มตลาดเกิดใหม่อีกด้วย

 

การได้รับการจัดอันดับในดัชนียั่งยืนทั้ง 2 กลุ่มนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของเซ็นทรัลพัฒนาที่คำนึงถึงส่วนรวม สิ่งแวดล้อม และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงการมีส่วนร่วมที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมและชุมชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

 

 

เดินหน้าเปิด 2 โครงการใหม่  ‘ศรีราชา’ และ ‘อยุธยา’ ตามแผน

สำหรับปี 2564 แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จะยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แต่เซ็นทรัลพัฒนาก็เชื่อว่า ผลกระทบจะมีไม่มากเท่ากับปี 2563 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้น และหากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในที่สุด คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวของรายได้ที่ค่อนข้างรวดเร็วและแข็งแกร่งเหมือนกับช่วงครึ่งหลังปี 2563

 

ประกอบกับความคืบหน้าของ ‘วัคซีน’ ที่เป็นดั่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของทุกคน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น จะส่งเสริมให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกิจของเซ็นทรัลพัฒนาให้ฟื้นตัวเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน

 

ดังนั้นเซ็นทรัลพัฒนาจึงเดินหน้าเปิด 2 โครงการใหม่ตามแผน คือ ‘เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา’ และ ‘เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา’ ซึ่งมีกำหนดเปิดช่วงปลายปี 2564

 

 

สำหรับเซ็นทรัลพลาซา อยุธยา เป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า, ศูนย์ประชุม (Convention Hall) ที่มีพื้นที่จัดงาน 2,500 ตารางเมตร รองรับคนได้กว่า 2,000 คน, Tourist Attraction: เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอยุธยาและวิถีชีวิตของผู้คน, Public Green Space: พื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคนในชุมชน, คอนโดมิเนียม และโรงแรม โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 47 ไร่ สำหรับโครงการมีพื้นที่ 68,000 ตารางเมตร มีมูลค่าโครงการกว่า 6,200 ล้านบาท

 


 

ส่วนเซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา ถือเป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ครบครันที่สุดแห่งแรกใจกลางเมืองศรีราชา ซึ่งประกอบไปด้วย ศูนย์การค้าแบบ Semi-Outdoor โมเดลเดียวกับเซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ 

 

โดยจะมี Lifestyle Thematic Mall ศูนย์การค้าฟอร์แมตใหม่ที่แบ่งโซนร้านค้าและบริการตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า โดยไม่แบ่งแยกโซนห้างสรรพสินค้าและพลาซา นอกจากนี้ยังมี Outdoor Walking Street ที่ตกแต่งโดย Integrate ธรรมชาติเข้ากับดีไซน์ ที่บ่งบอกถึงจุดเด่นของศรีราชา

 

ศูนย์ประชุม (Convention Hall) ที่มีพื้นที่ใช้สอย 2,400 ตารางเมตร, โรงแรม, เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์, อาคารสำนักงาน Education Center: เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้สำหรับเด็กในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง บนพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร

 

โครงการเซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 27 ไร่ มีพื้นที่โครงการ 71,000 ตารางเมตร ใช้งบลงทุนกว่า 4,200 ล้านบาท

 

ยังไม่หมดเท่านั้นสำหรับโครงการในอนาคตของเซ็นทรัลพัฒนา โดยในปี 2565 จะมีโครงการเซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี และโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) บนทำเลทอง ‘ซูเปอร์คอร์ ซีบีดี’ ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2566-2567 เป็นต้นไป

 

 

เดินหน้าแผน 5 ปี 

สำหรับแผนการลงทุนและเป้าหมายทางธุรกิจในระยะ 5 ปี (ปี 2564-2568) เซ็นทรัลพัฒนาได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างทันท่วงทีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ และเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องในแผนพัฒนาโครงการใหม่ที่ยังไม่ได้ประกาศ ทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (Mixed-Use Development) โครงการที่พักอาศัย รวมถึงแผนการปรับปรุงสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อเพิ่มมูลค่า 

 

รวมทั้งบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดยเซ็นทรัลพัฒนายังคงศึกษาโอกาสการลงทุนธุรกิจในรูปแบบอื่น การเข้าซื้อกิจการ และการลงทุนในต่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย และเวียดนาม 

 

รวมถึงศึกษาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เพื่อขยายช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ และสอดคล้องกับแผนการเติบโตตามเป้าหมายใน อนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising