×

Science

ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์
2 กันยายน 2023

‘อาทิตยา’ ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ครั้งแรกของอินเดีย

เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังการลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย หรือ ISRO ได้ส่งอีกหนึ่งภารกิจขึ้นสู่อวกาศอีกครั้ง โดยรอบนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ การศึกษาดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์หนึ่งเดียวในระบบสุริยะ   ยานลำนี้มีชื่อว่า ‘อาทิตยา-แอล 1’ ซึ่งคำว่า อาทิตยา มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่าดวงอาทิตย์ และ L1 หมายถึงจุดลากรานจ์ที่ 1 ระ...
นักดาราศาสตร์
2 กันยายน 2023

นักดาราศาสตร์ไทยร่วมใช้กล้องเจมส์ เว็บบ์ ศึกษาคุณสมบัติกาแล็กซียุคแรกของเอกภพ

คณะนักวิจัยจากนานาประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ศึกษากาแล็กซี MACS1149-JD1 หรือ JD1 พบว่ามีมวลค่อนข้างน้อย และอยู่ห่างจากโลกไปราว 13,300 ล้านปีแสง หรือเทียบเท่ากับ 4% ของอายุเอกภพในปัจจุบัน   การศึกษาหากาแล็กซียุคแรกของเอกภพเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของกล้องเจมส์ เว็บบ์ ที่สำรวจจักรวาลในช่วงรังสีอินฟราเรด โดย...
1 กันยายน 2023

กล้องโทรทรรศน์ในญี่ปุ่นบันทึกวินาทีดาวพฤหัสบดีถูกชนโดยวัตถุบางอย่าง

เมื่อเวลา 23.45 น. ของคืนวันที่ 28 สิงหาคม กล้องโทรทรรศน์หลายแห่งในญี่ปุ่นสามารถบันทึกภาพดาวพฤหัสบดี ขณะถูกวัตถุบางอย่างพุ่งชนเข้ากับผิวดาว   อย่างไรก็ตาม วัตถุดังกล่าวอาจเป็นแค่ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง หรือเศษอุกกาบาต ที่พุ่งชนกับตัวดาวอยู่บ่อยครั้ง จากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดาวพฤหัสบดี ที่ดึงดูดให้วัตถุต่างๆ มาพุ่งชนได้   ในอดี...
Super Blue Moon
31 สิงหาคม 2023

ชมความสวยงาม Super Blue Moon 2023 จากหลากหลายมุมทั่วโลก

เมื่อคืนที่ผ่านมา (30 สิงหาคม) ผู้คนจากหลากหลายมุมทั่วโลกร่วมชมปรากฏการณ์ ‘Super Blue Moon’ ดวงจันทร์เต็มดวงที่โคจรเข้ามาใกล้โลก ซึ่งถือเป็นคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งที่สองของเดือนสิงหาคมปีนี้ โดยทุกคนสามารถรับชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตาเปล่า และความสวยงามของดวงจันทร์เต็มดวงที่ลอยเด่นอยู่บนท้องฟ้าเมื่อคืนนี้ก็ทำให้ใครหลายคนอดที่จะบันทึกภาพ S...
Super Blue Moon
30 สิงหาคม 2023

ชวนดู Super Blue Moon คืนนี้ ดวงจันทร์ใกล้โลกในคืนจันทร์เต็มดวง

คืนนี้ (30 สิงหาคม) มีปรากฏการณ์ ‘Super Blue Moon’ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ในคืนจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน สามารถรับชมได้ตลอดคืน พร้อมกับมีดาวเสาร์ใกล้โลกปรากฏอยู่ใกล้เคียง   Super Blue Moon มาจาก Super Full Moon หรือดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี กับคำว่า Blue Moon ที่ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนสีของดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงิน แต่ใช้...
29 สิงหาคม 2023

นักวิทย์ฯ ถอดรหัสพันธุกรรมที่ซับซ้อนที่สุดของมนุษย์ นั่นคือ ‘โครโมโซมเพศชาย’ ได้แล้ว

โครงการถอดรหัสพันธุกรรม​มนุษย์ของ​สมาคม Telomere-to-Telomere (T2T) ร่วมกับทีมนักวิชาการ​นานาชาติ​ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 และประกาศความสำเร็จ​ไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม​ 2022 นั้น ยังขาดโครโมโซม​ที่สำคัญ​และถอดรหัส​ยากที่สุด​ไป 1 ตัว นั่นคือโครโมโซม​ Y​ แต่ในที่สุด​ความพยายาม​ก็พาทีมงาน​มาถึงจุดหมาย​    เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ​2023 ที...
จันทรายาน-3
28 สิงหาคม 2023

จันทรายาน-3 ส่งข้อมูล ‘อุณหภูมิขั้วใต้ของพื้นผิวดวงจันทร์’ ชุดแรกกลับโลก

องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (27 สิงหาคม) ว่าอุปกรณ์บรรทุก (Payload) บนยานลงจอดของยานอวกาศสำหรับภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งที่ 3 ของอินเดีย หรือยานอวกาศจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) ได้ส่งข้อมูลสังเกตการณ์ชุดแรกเกี่ยวกับระดับอุณหภูมิของขั้วใต้ของพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลก   อุปกรณ์บรรทุกที่มีชื่อว่า ‘ช...
24 สิงหาคม 2023

นักวิทย์ฯ พบ ‘แบคทีเรียกินมีเทน’ ช่วยลดโลกร้อนได้

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองบีช นำโดยศาสตราจารย์แมรี อี. ลิดสตรอม (Mary E Lidstrom) พบวิธีลดโลกร้อนโดยการใช้แบคทีเรียกำจัดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ร้ายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์   แบคทีเรียดังกล่าวอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ‘เมทาโนโทรฟ’ (methanotroph) พวกมันจะ ‘กิน’ ก๊าซมีเทน (CH₄) เข้าไป เปลี่ยนส่วนหนึ่งของมีเทนให้กลายเป็นแ...
24 สิงหาคม 2023

จันทรายาน-3 บทเรียนจากความล้มเหลว สู่ความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ของอินเดีย

อินเดียคือชาติที่ 4 ในประวัติศาสตร์ต่อจากสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และจีน ที่สามารถนำยานไปลงจอดอย่างนุ่มนวลบนดวงจันทร์ พร้อมกับปฏิบัติภารกิจต่อได้   การเดินทางไปลงดวงจันทร์อาจฟังดูเป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็นนัก เมื่อพิจารณาว่าดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกไปแค่ประมาณ 380,000 กิโลเมตร แต่อัตราความสำเร็จของภารกิจสำรวจตลอดช่วงเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา ก...
Chandrayaan
23 สิงหาคม 2023

จันทรายาน-3 ของอินเดีย ลงจอดขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จเป็นชาติแรกของโลก

ยาน ‘วิกรม’ ซึ่งเป็นยานลงจอดหรือยานแลนเดอร์ในโครงการ ‘จันทรายาน-3’ ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) กลายเป็นยานลำแรกของโลกที่สามารถลงจอดบนพื้นที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ และถือเป็นประเทศที่ 4 ของโลกนับจากสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ และจีน ที่สามารถชะลอความเร็วลงจอดบนดวงจันทร์ได้อย่างสมบูรณ์ (Soft Landing)   หลังยานลงจอดหรือยานแลนเดอร์​ ...

MOST POPULAR


Close Advertising
X