×

Science

ต้นคริสต์มาสแห่งเอกภพ
25 ธันวาคม 2023

NASA เผยภาพต้นคริสต์มาสแห่งเอกภพรับวันคริสต์มาสปี 2023

NASA เปิดภาพถ่ายมุมมองใหม่ของวัตถุ NGC 2264 จากการรวมข้อมูลกล้องโทรทรรศน์ที่สำรวจจักรวาลในช่วงคลื่นต่างกัน เผยให้เห็นความงามของ ‘ต้นคริสต์มาสแห่งเอกภพ’ รับวันคริสต์มาสปี 2023   วัตถุ NGC 2264 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,500 ปีแสง ประกอบด้วยเนบิวลาเรืองแสงและกระจุกดาวฤกษ์อายุน้อยจำนวนมาก โดยภาพที่ NASA เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคมนี้ ได้รวมข้...
23 ธันวาคม 2023

นักบินอวกาศจีนออกปฏิบัติภารกิจซ่อมแผงโซลาร์เซลล์บนสถานีอวกาศได้สำเร็จ

สองนักบินอวกาศจีนของภารกิจเสินโจว-17 ประสบความสำเร็จในการซ่อมบำรุงแผงโซลาร์เซลล์นอกสถานีอวกาศเทียนกง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา   การซ่อมบำรุงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติภารกิจภายนอกยาน หรือ EVA โดยมีทังหงโป ผู้บัญชาการภารกิจ และถังเซิ่งเจี๋ย เป็นสองนักบินอวกาศที่ออกไปนอกยาน ในขณะที่เจียงซินหลินคอยให้การสนับสนุนจากภายในสถานีอว...
NASA
22 ธันวาคม 2023

NASA เผยผลศึกษา UFO – นานาประเทศมุ่งสู่ดวงจันทร์ – งานไทยไปอวกาศ สรุปไฮไลต์เด่นสำรวจอวกาศปี 2023

ปี 2023 เป็นอีกปีที่มีกิจกรรมด้านอวกาศเกิดขึ้นในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบใหม่ ภารกิจสำรวจอวกาศ และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ จากทั้งภาครัฐ เอกชน ไปจนถึงสถาบันการศึกษานานาประเทศ ที่เข้ามามีบทบาทกับเรื่องราวด้านอวกาศอย่างเห็นได้ชัด   THE STANDARD ชวนย้อนดูเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงหนึ่งคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวเคราะห์สีครามดวง...
NASA
21 ธันวาคม 2023

NASA ทดสอบส่งคลิปแมวกลับโลกผ่านระบบสื่อสารด้วยเลเซอร์จากยาน Psyche ในห้วงอวกาศลึก

NASA ประสบความสำเร็จในการทดสอบส่งไฟล์วิดีโอความละเอียดสูงผ่านระบบ Deep Space Optical Communications หรือ DSOC ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสาธิตเทคโนโลยีระบบสื่อสารด้วยเลเซอร์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้   และวิดีโอแรกที่ NASA เลือกใช้คือคลิปของเจ้า ‘Taters’ แมวส้มของหนึ่งในเจ้าหน้าที่ Jet Propulsion Laboratory หรือ JPL ที่กำลังวิ่งไล่ตามแสงเลเซอร์...
NASA ดาวยูเรนัส
19 ธันวาคม 2023

NASA เผยภาพถ่ายดาวยูเรนัส พร้อมวงแหวนและดวงจันทร์สุดคมชัด จากกล้องเจมส์ เว็บบ์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ได้บันทึกภาพของดาวยูเรนัสในช่วงคลื่นอินฟราเรด ที่เผยให้เห็นรายละเอียดอันแสนสวยงามเหนือบรรยากาศของดาว เช่นเดียวกับวงแหวนและดวงจันทร์บริวารที่ปรากฏร่วมเฟรม   เนื่องจากดาวยูเรนัสโคจรรอบดวงอาทิตย์แบบเอียงทำมุม 98 องศา เทียบกับระนาบของระบบสุริยะ ทำให้แถบขั้วเหนือของดาวปรากฏเด่นเป็นสีขาวอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวย...
16 ธันวาคม 2023

วิศวกร NASA กำลังแก้ปัญหากับคอมพิวเตอร์ยาน Voyager 1 ที่สุดขอบระบบสุริยะ

ยานอวกาศที่เดินทางไปไกลจากโลกที่สุดในประวัติศาสตร์ กำลังเผชิญปัญหากับหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์บนยาน ที่ทีมวิศวกรต้องหาทางแก้ปัญหาจากระยะห่างไม่น้อยกว่า 24,000 ล้านกิโลเมตร   NASA รายงานผ่านเว็บไซต์ว่า ยาน Voyager 1 ยังสามารถรับข้อมูลจากบนโลก และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ตามปกติ แต่มีการพบปัญหากับข้อมูลที่ยานอายุมากกว่า 47 ปีส่งกลับมาโลก ...
ไพลโอซอร์
14 ธันวาคม 2023

พบฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดของไพลโอซอร์ อสูรยักษ์​แห่งทะเลจูราสสิก

นักบรรพชีวินวิทยา ฟิลลิป​ จาค็อบส์ (Philip Jacobs)​ และ สตีฟ เอตเชส (Steve Etches)​ ขุดพบฟอสซิลส่วนกะโหลกศีรษะอายุ 150 ล้านปีของไดโนเสาร์​นักล่าจอมโหดแห่งท้องทะเล ‘ไพลโอซอร์’ (Pliosaur)​ บริเวณ​หน้าผาจูราสสิก ซึ่งเป็นหน้าผาโบราณ​ที่ทอดยาวจากอีสต์เดวอนไปถึงอ่าวสตัดแลนด์​ในมณฑลดอร์เซ็ต ทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ   ชิ้นส่วนฟอสซิล​ดังกล่าวมีขนาด...
13 ธันวาคม 2023

รู้จัก 3 ไอเดียของเยาวชนไทยที่ส่งไปทดลองจริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ

ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีมนุษย์เพียงแค่ 676 คนเท่านั้นที่เคยได้สัมผัสสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนอวกาศด้วยตนเอง โดยปัจจุบันยังไม่มีนักบินอวกาศสัญชาติไทยเป็นหนึ่งในนั้น   อย่างไรก็ตาม ยังมีการทดลองที่มาจากไอเดียของเด็กไทย ซึ่งได้รับเลือกจากองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เพื่อส...
NASA
12 ธันวาคม 2023

NASA เผยภาพสุดคมชัดของซากซูเปอร์โนวาแคสซิโอเปีย เอ จากกล้องเจมส์ เว็บบ์

NASA เปิดภาพถ่ายของซากซูเปอร์โนวาแคสซิโอเปีย เอ (Cassiopeia A) ในช่วงคลื่นอินฟราเรดสุดคมชัดจากอุปกรณ์ NIRCam บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ที่เผยให้เห็นรายละเอียดใหม่ภายใต้ความงามจากซากดาวฤกษ์ที่ยุบตัวและระเบิดไปแล้ว   ซากซูเปอร์โนวาดังกล่าวอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 11,000 ปีแสงในกาแล็กซีทางช้างเผือกเช่นเดียวกับระบบสุริยะ โดยเป็นหนึ่งใน...
ดาวหางฮัลเลย์
9 ธันวาคม 2023

ดาวหางฮัลเลย์เดินทางถึงจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ก่อนเริ่มการเดินทางกลับเข้าสู่ระบบสุริยะชั้นในอีกครั้ง

ช่วงเวลาประมาณ 08.00 น. ของวันที่ 9 ธันวาคม ตามเวลาประเทศไทย ดาวหางฮัลเลย์ได้เดินทางไปถึงจุดไกลสุดของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ก่อนเริ่มต้นการเดินทางนานกว่า 37 ปี เพื่อมุ่งหน้ากลับเข้ามาสู่ระบบสุริยะชั้นในอีกครั้ง   ดาวหางฮัลเลย์เป็นดาวหางที่มีคาบการโคจร 1 รอบ ประมาณ 75 ปี และเป็นดาวหางคาบการโคจรสั้น หรือน้อยกว่า 200 ปีเพียงดวงเดียวในปัจจุบัน ...

MOST POPULAR


Close Advertising
X