×

จับตา ครม. พิจารณาโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่-ปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะ

โดย THE STANDARD TEAM
28.09.2021
  • LOADING...

วันนี้ (28 กันยายน) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีเต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

 

วันนี้ที่ประชุมจะมีการพิจารณาการต่อขยายประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ หลังจากที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. มีมติวานนี้ ขณะเดียวกัน จะมีการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด รวมไปถึงการบริหารจัดการวัคซีนในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนด้วย

 

นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าจะมีการรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ หลังได้รับอิทธิพลจากพายุเตี้ยนหมู่ รวมไปถึงการประเมินสถานการณ์เตรียมรับมือในสัปดาห์หน้า เนื่องจากจะมีฝนตกชุกจากการพาดผ่านของร่องมรสุม และการเตรียมรับมวลน้ำที่มีการประเมินว่าจะลงมาถึงพื้นที่รับน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมไปถึงกรุงเทพมหานคร ก่อนระบายลงสู่อ่าวไทย

 

ขณะที่กระทรวงการคลังจะเสนอเรื่องการทบทวนภาษีสรรพสามิตบุหรี่ให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่อให้ใช้อัตราภาษีใหม่ได้ทันวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งส่งผลให้ราคาบุหรี่ในท้องตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่โครงสร้างภาษีใหม่จะปรับเพิ่มขึ้นให้มากกว่า 20% แต่ไม่ถึง 40% ตามที่เคยกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ 

 

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 และกรอบ 5 ปี ให้ ครม. พิจารณา ซึ่งสาระสำคัญจะกำหนดเป้าหมายหนี้สาธารณะต่อ GDP ปี 2565 เกินกว่า 60% โดยมีหนี้ก้อนใหญ่ ขณะเดียวกันจะเสนอวาระเพื่อทราบ เรื่องการขยายกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% เป็นไม่เกิน 70% ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังไปแล้ว

 

ขณะที่กระทรวงคมนาคม จะสนอให้ ครม. พิจารณารายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-คาซัคสถาน และขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดําเนินงาน เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่อง วงเงิน 13,500 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น 800 ล้านบาท วงเงินกู้เบิกเกินบัญชีของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจําปีงบประมาณ 2565

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising