เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดที่ลากยาวมานานกว่า 2 ปี ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของคนไทยมากน้อยเพียงใด?
ล่าสุด บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ได้เปิดเผยการจัดเก็บสถิติหนี้ในระบบ โดยแสดงบัญชีหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือ NPL ที่จะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรภายใต้รหัส 20 และรหัส 21 โดยกลุ่มรหัส 20 คือหนี้เสียที่มีปัญหามาก่อนเกิดโควิด ขณะที่กลุ่มรหัส 21 เป็นหนี้เสียที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
ทั้งนี้ หากดูสถานะลูกหนี้ที่เป็น NPL บนฐานข้อมูลของเครดิตบูโร ณ เดือนมกราคมที่ผ่านมา ในจำนวนหนี้เสียทั้งหมด 4.3 ล้านบัญชี จะสามารถแบ่งออกเป็นรหัส 20 ได้จำนวน 1.7 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลค่าหนี้เสียรวม 1.6 แสนล้านบาท ขณะที่ลูกหนี้รหัส 21 มีอยู่ 2.3 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลค่าหนี้เสียราว 2 แสนล้านบาท
ตัวเลขนี้สะท้อนว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โควิดได้ทำให้คนที่เคยจ่ายหนี้ได้ปกติต้องกลายเป็นหนี้เสียถึง 2.3 ล้านบัญชี คิดเป็นหนี้เสีย 2 แสนล้านบาท เฉลี่ยเป็นหนี้เสียต่อบัญชีที่ราว 8 หมื่นบาทนั่นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล
นิยามรหัสหนี้ของเครดิตบูโร
10 หนี้ปกติค้างชำระไม่เกิน 90 วัน
20 หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน
21 หนี้ค้างชำระเกิน 90 วันที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พิเศษ (โควิด)
30 อยู่ในกระบวนการกฎหมายจนสิ้นสุดบังคับคดี
31 อยู่ระหว่างการชำระหนี้ตามคำพิพากษา