×

เพาะยาต้านมะเร็งในไข่ไก่ นักวิทย์ฯ ญี่ปุ่นหวังลดต้นทุนการรักษาโรค

10.10.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 Mins. Read
  • คณะนักวิจัยชาวญี่ปุ่นเพาะพันธุ์แม่ไก่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้ไข่ที่ออกมาสร้างยาที่ใช้ในการต่อสู้โรคร้ายต่างๆ อย่างมะเร็ง พร้อมหวังช่วยลดต้นทุนการรักษาที่แต่เดิมมีราคาสูง
  • โปรตีน Interferon beta สามารถใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด รวมถึงเส้นโลหิตตีบและตับอักเสบได้ แต่ราคาของมันเพียงไม่กี่ไมโครกรัมกลับแพงถึง 888 เหรียญสหรัฐ (เกือบ 30,000 บาท)

     คณะนักวิจัยชาวญี่ปุ่นเพาะพันธุ์แม่ไก่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้ไข่ที่ออกมาสร้างยาที่ใช้ในการต่อสู้โรคร้ายต่างๆ อย่างมะเร็ง พร้อมหวังช่วยลดต้นทุนการรักษาที่แต่เดิมมีราคาสูง

     โปรตีนที่พวกเขาคาดหวังจากการพัฒนานี้มีชื่อเรียกว่า Interferon beta โดยสามารถใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด รวมถึงเส้นโลหิตตีบและตับอักเสบได้ แต่ราคาของมันเพียงไม่กี่ไมโครกรัมกลับแพงถึง 888 เหรียญสหรัฐ (เกือบ 30,000 บาท)

 

 

     นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (AIST) เริ่มต้นงานวิจัยด้วยการนำยีนที่สามารถสร้างโปรตีน Interferon beta เข้าไปในเซลส์ตั้งต้นของสเปิร์มไก่ด้วยเทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม ก่อนนำมาผสมกับไข่เพื่อสร้างแม่ไก่ขึ้น

     แม่ไก่เหล่านี้จะออกไข่ที่มียีนแบบเดียวกัน เท่ากับว่าไข่หรือไก่ที่สืบเชื้อมาจากแม่พันธุ์เหล่านี้จะมีโปรตีนในการต้านเชื้อโรคที่ต้องการ

     ปัจจุบัน ทีมวิจัยมีไก่ที่สามารถวางไข่ยาได้ 3 ตัว และสามารถวางไข่ได้เกือบทุกวัน โดยในอนาคตพวกเขาวางแผนที่จะผลิต Interferon beta ในขนาดหลายสิบมิลลิกรัมถึงหนึ่งร้อยมิลลิกรัมต่อไข่หนึ่งฟอง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตยาอย่างมหาศาล

 

 

     นักวิจัยวางแผนที่จะขายยาเหล่านี้ให้บริษัทเภสัชกรรมด้วยราคาที่ต่ำกว่าปกติครึ่งหนึ่ง โดยบรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นคาดหวังว่าจะช่วยให้ราคายาเหล่านี้ลดลง 10 เปอร์เซ็นต์จากที่เป็นอยู่

     ศาสตราจารย์ฮิโรโนบุ โฮโจ จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า กล่าวว่า “ในอนาคต มันจะเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบคุณสมบัติของสารที่บรรจุอยู่ในไข่ และความปลอดภัยในฐานะผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม”

     อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ยาจำเป็นต้องรอต่อไปอีกสักระยะ ด้วยสาเหตุที่กระบวนการคัดกรองและตรวจสอบยาในประเทศญี่ปุ่นกินเวลานานหลายปี


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising