×

วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ภัยร้ายทางสมองที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

26.09.2023
  • LOADING...
โรคอัลไซเมอร์

วันอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer’s Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี ได้ตั้งตามชื่อของจิตแพทย์ชาวเยอรมัน อาลอยส์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ผู้ค้นพบโรคนี้เป็นครั้งแรก เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและมีความเข้าใจต่อโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย และกระทบกับผู้คนจำนวนหลายล้านคนทั่วโลกนี้มากขึ้น แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค เพียงแต่ทราบว่าโรคนี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความจำและความสามารถของสมองในด้านการคิดทีละน้อย จนในที่สุดอาจสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน 

 

LIFE จึงขอพาทุกคนไปสำรวจ เพื่อทำความรู้จักและทำความเข้าใจ จะได้ห่างไกลจากภัยร้ายทางสมองนี้

 

โรคอัลไซเมอร์

 

เข้าใจโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะเสื่อมสภาพของสมองที่เกิดความผิดปกติในความจำ ความคิด และพฤติกรรม ซึ่งเกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทมีปัญหา อาการเด่นที่สุดคือการสูญเสียความจำ 

 

โรคอัลไซเมอร์

 

อาการต้องสงสัยของโรคอัลไซเมอร์

อาการอื่นที่อาจเป็นข้อสงสัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ การหลงลืมที่แตกต่างจากการหลงลืมในชีวิตประจำวัน มีความถี่และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ถามหรือพูดซ้ำๆ, การวางสิ่งของผิดที่, การหลงทางที่ถึงแม้จะเป็นสถานที่ที่คุ้นเคย, ลืมบทสนทนาหรือนัดหมาย, นึกคำเรียกชื่อของสิ่งที่ต้องการพูดถึงไม่ออก หรือจนถึงขั้นลืมชื่อสมาชิกในครอบครัว

 

โรคอัลไซเมอร์

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์มีหลายด้าน เช่น ประวัติครอบครัวและพันธุกรรม, ประวัติการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ, การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก, การนอนหลับที่ไม่เป็นเวลา หรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ฯลฯ

 

โรคอัลไซเมอร์

 

แนวทางการรักษาโรคอัลไซเมอร์

แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด แต่หากเข้ารับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยยืดระยะเวลาการดำเนินของโรคให้ช้าลง นอกจากนี้การรักษาด้านสภาวะอารมณ์หรือพฤติกรรมจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

 

โรคอัลไซเมอร์

 

การรับมือกับโรคอัลไซเมอร์

รับการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง และสร้างระบบการดำเนินชีวิตที่เป็นระเบียบแบบแผน การรักษาความสัมพันธ์ทางสังคม รวมถึงการมีกิจกรรมที่กระตุ้นการคิดเชิงบวก และการปรับสภาพแวดล้อม ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับการดูแลตนเองทั้งในด้านร่างกายและจิตใจด้วยเช่นกัน 

 

โรคอัลไซเมอร์

 

วางแผนการเงิน 

การรับมือด้านการเงินก็มีส่วนสำคัญ เพราะโรคอัลไซเมอร์อาจส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถหารายได้ได้เท่าเดิม และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาและการดำรงชีวิตประจำวันที่สูงขึ้นและต่อเนื่องเป็นเวลานาน การวางแผนด้านการเงินตั้งแต่ต้น จะช่วยให้ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว 

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising