×

พบกับ 5 สตาร์ทอัพน่าจับตามองที่ผ่านการคัดเลือกจาก AIS The StartUp | Monthly Pitching (Part 1) [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
05.09.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

8 Mins. Read
  • AIS มองเห็นคุณค่าและช่องทางใหม่ๆ ในการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ จึงเริ่มต้นมองหาธุรกิจที่น่าจับตามอง เพื่อเข้าร่วมกันเป็นครอบครัว AIS The StartUp ผ่านกระบวนการ AIS The StartUp Monthly Pitching ที่จัดขึ้นทุกเดือนที่ AIS D.C.
  • OneStockHome: แพลตฟอร์มแบบ One Stop Service กับข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด เรื่องวัสดุก่อสร้าง และการต่อยอดที่หลายคนมองว่านี่คือการ Disrupted ธุรกิจครอบครัวหรือไม่
  • Refinn: “ผมอยากเห็นคนไทยไม่มีหนี้” คือคำพูดจากปากของผู้ก่อตั้งเว็บไซต์รีไฟแนนซ์ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในภาระหนี้ของคุณได้เป็นหลักล้าน!
  • Pastel Keyboard: แอปฯ เปลี่ยนธีมคีย์บอร์ดแสนธรรมดา แต่สร้างรายได้หลักล้าน และกลายเป็นสตาร์ทอัพระดับท็อปของ App Store

ใครๆ ก็อยากเป็นสตาร์ทอัพ

 

ในยุคที่การทำธุรกิจนั้นเริ่มต้นง่ายดายเพียงแค่เริ่มลงมือทำ เราพบเห็นรูปแบบการทำธุรกิจที่หลากหลาย และเต็มไปด้วยโมเดลทางธุรกิจในทุกกระบวนท่า แต่จะเห็นว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำว่า ‘สตาร์ทอัพ’ กลายเป็นคำยอดฮิต ชนิดที่หลายทุกธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ อยากเติบโตแบบก้าวกระโดด และเป็น ‘สตาร์ทอัพ’ กันให้ได้

 

AIS มองเห็นคุณค่าและช่องทางใหม่ๆ ในการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ จึงเริ่มต้นมองหาธุรกิจที่น่าจับตามอง เพื่อเข้าร่วมเป็นครอบครัว AIS The StartUp พร้อมโอกาสและองค์ความรู้ทางธุรกิจมากมาย ที่พร้อมหยิบยื่นให้ทุกสตาร์ทอัพได้นำไปต่อยอดอย่างไม่รู้จบ

 

เราขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ 5 สตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง พวกเขาได้ผ่านการนำเสนอผลงานผ่านกระบวนการ AIS The StartUp Monthly Pitching และผ่านการคัดเลือก เข้าร่วมเป็นครอบครัวของ AIS The StartUp เป็นที่เรียบร้อย

 

ลองไปฟังเรื่องราวการทำธุรกิจอันน่าทึ่ง น่าสนใจ น่าชื่นชม และน่าจับตามองของพวกเขากัน

 

 

OneStockHome

Home is where the business is

ในช่วงปีที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินศัพท์ในวงการธุรกิจและการเงินคำหนึ่ง – ‘disruption’ แม้ว่าคำนี้จะมีความหมายในแง่ลบเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับในทางธุรกิจแล้ว disruption อาจหมายถึงการปรับมุมมองให้ใหม่และกว้างขึ้น หรือต่อยอดจากรูปแบบเดิมๆ เคี้ยว-อนวัช คิมหสวัสดิ์ – CEO บริษัท วันสต๊อกโฮม จำกัด บอกกับเราว่า สตาร์ทอัพที่เขากำลังทำอยู่ ฟังดูเหมือนจะ Disrupted ธุรกิจของครอบครัว แต่เขาแค่เพียงมีมุมมองที่กว้างกว่านั้น อย่างไร… ไปฟังคำตอบกัน

 

โมเดลทางธุรกิจของ OneStockHome เป็นอย่างไร

“เราเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อม Supplier กับ End-Consumer ด้วยข้อมูลสินค้าและราคา ลูกค้าหลักๆ ของเราคือผู้รับเหมา ที่นอกเหนือจากเว็บไซต์ของเราจะช่วยในการค้นหาสินค้า และวัสดุก่อสร้างได้อย่างง่ายดายแล้ว เรายังมีการทำใบเสนอราคา และมีการเก็บข้อมูล การตั้งราคาขาย ร่วมถึงการมีพาร์ตเนอร์เป็นบริษัทด้านการขนส่งกว่า 50 บริษัททั่วประเทศอีกด้วย”

 

 

อะไรที่ทำให้คุณเลือกสร้างแพลตฟอร์ม OneStockHome นี้ขึ้นมา

“ต้องบอกก่อนว่า เดิมที่บ้านขายวัสดุก่อสร้างมาก่อน ทีนี้เราก็หาช่องทางต่อยอดธุรกิจ เลยเห็นว่าออนไลน์ยังไม่มีคนเริ่มทำ ยังไม่การ Disrupted เราอยากขยายธุรกิจเพื่อความอยู่รอดมากกว่า

 

“แต่พอเราเอาสินค้าเข้าสู่ตัวแพลตฟอร์ม เอาราคาขายไปไว้ในโลกออนไลน์ สิ่งที่เราเพิ่งรู้คือในตลาดวัสดุก่อสร้างเดิมไม่ได้มีรายละเอียดให้เห็นมากขนาดนั้น เว็บเราเลยเป็นเว็บแรกในตลาดที่มีข้อมูลและราคาที่ชัดเจน หลังจากนั้นก็เริ่มมีคนเข้ามาติดต่อ และเริ่มทำเป็นธุรกิจออนไลน์เต็มตัว ซึ่งเทคโนโลยีมีส่วนช่วยธุรกิจก่อสร้างที่ล้าหลังให้เติบโตกว่านี้ได้”

 

ทำไมถึงมองว่าธุรกิจก่อสร้างเป็นธุรกิจที่ล้าหลัง

“มันเป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก แต่ทุกอย่างยังคง Physical ร้านค้าที่ครองตลาดเป็นออฟไลน์กันหมดเลย จะซื้อจะสั่งอะไรแทบทั้งหมดเกิดขึ้นทางโทรศัพท์ เรามองเห็นว่าอีกไม่นานกลุ่มลูกค้าจะเปลี่ยนแปลง คือก็มีลูกค้ากลุ่มเดิมที่ยังชอบวิธีการเดิมๆ อยู่ แต่เมื่อเทคโนโลยีมันเข้ามา Disrupted มันเปลี่ยน Landscape ทางธุรกิจ เราเลยเข้ามาเล่นเรื่องนี้

 

“ตอนนี้ยังเป็นช่วงของการเก็บข้อมูล ดูว่าพฤติกรรมความต้องการมันอยู่ที่ไหน ตอนนี้ในวงการก่อสร้าง Supply Chain มันมีปัญหา ข้อมูลมันกระจัดกระจาย พวก Distributors ใหญ่ๆ มีปัญหากันหมดเลย เพราะพวกเขาไม่มีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้ามากพอ เราเลยเข้ามาเป็นตัวเชื่อมที่เข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น และยังได้แชร์ข้อมูลที่น่าสนใจในวงการได้ด้วย”

 

เห็นว่ามีการจับตลาดประเทศเพื่อนบ้านด้วย คุณเห็นความเป็นไปได้อย่างไรในตลาดนี้

“รู้ไหมว่า พม่า ลาว กัมพูชา ส่วนใหญ่ใช้วัสดุก่อสร้างจากบ้านเราหมดเลย เราเลยทำธุรกิจข้ามแดนได้ง่ายมาก แล้วยิ่งเราอยู่ในออนไลน์ เขาอยากได้อะไร เขาค้นหา ก็จะเจอเราเป็นเจ้าแรก และเราสามารถนำส่งสินค้าที่เขาต้องการถึงที่หน้างานได้เลย

 

“อีกอย่างคือเราพยายามลดค่าใช้จ่ายในการทำโกดังหรือสต๊อกวัสดุ ทุกอย่างส่งตรงจากโรงงานด้วยบริษัทขนส่งพาร์ตเนอร์ที่มีประสบการณ์ และเติมเต็มเราได้อยู่แล้ว เราเลยจัดการกับช่วงราคาได้ เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มาเป็นปัจจัย”

 

มองความได้เปรียบ-เสียเปรียบในธุรกิจนี้อย่างไรบ้าง

“เนื่องจากเราเพิ่งเริ่มต้น แพลตฟอร์มเว็บเปิดตัวจริงๆ ไม่ถึง 2 ปี ทำให้ราคาตอนนี้ยังลดได้ไม่มาก ธุรกิจนี้เราทำกันมา 8 ปีแล้ว ช่วงแรกๆ เน้นเรื่องเครือข่าย เรื่อง Suppliers และเรื่องการขนส่งเป็นหลัก และเราก็เอาคอนเน็กชันเดิมจากธุรกิจครอบครัวมาช่วยธุรกิจนี้ได้”

 

การเข้าร่วม AIS The StartUp ทำให้ได้อะไรบ้าง

“เราชอบมาศึกษา มาฟัง มาเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้วนำไปใช้ในบริษัทได้ นอกจากนี้ AIS ยังมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก เรากำลังพยายามพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ ที่จะเชื่อมต่อกับฐานลูกค้าของ AIS อีกทางหนึ่งด้วย”

 

 

อนาคตของ OneStockHome กำลังจะไปทางไหน

“ในอนาคตเรากำลังพยายามหา Value ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ไม่ได้จะเน้นแค่ขายวัสดุก่อสร้างแล้ว เพราะเราเห็นว่า End-Consumer ของเราจริงๆ เขาต้องการสิ่งปลูกสร้างและบริการหลังการขายที่ดีกว่า

 

“อีกโจทย์คือการไปที่ตลาดอินโดนีเซีย เพราะโมเดลน่าจะไม่เหมือนกับที่เราเคยใช้กับพม่า ลาว กัมพูชาเลย วิธีการจัดส่งก็ไม่เหมือนกันแล้ว ความต้องการ วัฒนธรรมการก่อสร้าง เป็นเรื่องที่เรากำลังโฟกัสและเรียนรู้อยู่”

 

คิดว่าธุรกิจของตัวเอง เป็นการเข้ามา Disrupted ธุรกิจของครอบครัวหรือเปล่า

 

“ในทุกการทำธุรกิจ มันไม่มีการ Disrupted ร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว อย่างที่บ้านจะเป็นการค้าส่งวัสดุก่อสร้างเชิง Physical ที่เน้นการจ่ายเงินในรูปแบบเครดิตเทอม ส่วนเว็บ OneStockHome ในปัจจุบันจะเป็นเงินสดที่ต้องจ่ายให้ครบตามจำนวนจริง

 

“อีกอย่างเว็บของเรามันคือ On Demand มันคือความต้องการของลูกค้า ณ ตอนนั้น เขายอมที่จะจ่ายสด เพื่อให้ได้ของที่หาไม่ได้ อย่างของเราคือสินค้าที่หาไม่ได้ในท้องถิ่น เราเลยไปได้ทั่วถึงกว่า

 

“หลายครั้งที่ร้านค้าในท้องถิ่นไม่ได้อัปเดตจากโรงงาน โรงงานนี้มีวัสดุใหม่มานะ ที่ร้านค้าส่งไม่รู้ข้อมูลเลย ไม่เหมือนกับในเว็บไซต์ เราอัปเดตเร็ว แล้วก็จัดหาได้เร็ว ลูกค้าเลยเชื่อใจเรา”

 

 

Refinn

Rethinking About Money

“ผมไม่อยากให้คนไทยเป็นหนี้” …นี่คือคำพูดจากปากของ นพ-พงศธร ธนบดีภัทร ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของเว็บไซต์ Refinn ที่ทำให้เราเห็นว่า Passion ของเขานั้นช่างยิ่งใหญ่ และจากการพูดคุย เรายังพบอีกว่า นอกจากความฝันที่จะให้คนไทยหมดหนี้ (หรือมีหนี้น้อยลง และจ่ายในจำนวนที่ควรจ่าย) แล้ว เขายังอยากให้คนไทยหันมันมองเรื่อง ‘เงิน’ ใหม่ และบริหารมันอย่างง่ายและเข้าใจอีกด้วย

 

 

Refinn คืออะไร

“เราเป็นเว็บไซต์สำหรับ ‘รีไฟแนนซ์’ ทั้งบ้านและบัตรเครดิต ปกติดอกเบี้ยบ้านจะถูกแค่สามปีแรก หลังจากนั้นจะลอยตัว คนไม่คิดอะไรก็จะปล่อย ทั้งๆ ที่มันต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น การรีไฟแนนซ์ย้ายไปธนาคารใหม่มันดีกว่า

 

“คนที่รู้จักวางแผนทางการเงินเท่านั้นที่จะรีไฟแนนซ์ เพราะธนาคารมันมีมากกว่า 20 ธนาคาร สูตรของแต่ละธนาคารก็ทำมาให้คนงง มีความเข้าใจยาก คนส่วนใหญ่เลยท้อและไม่สนใจที่จะรีไฟแนนซ์กัน

 

“เราสนใจเรื่องการเงิน และมองว่าทำไมต้องทำให้ยาก เราเลยทำให้ง่าย อยากรีไฟแนนซ์มาหาเรา เรามีข้อมูลว่าที่ไหนถูกสุด ดอกเบี้ยดีที่สุด ที่ไหนดีที่สุดสำหรับคุณ คนทั่วไปคิดว่ารีไฟแนนซ์มันลดไปได้นิดเดียว แต่ความจริงมันลดเยอะนะ คุณจะผ่อนหมดได้เร็วขึ้น ประหยัดไปได้มากเลย ที่เห็นว่าลดน้อยเพราะคุณไม่ได้ไปที่ที่ถูกที่สุด เราจะเป็นคนกลางในการหาธนาคารที่ถูกที่สุด คุ้มค่าที่สุดให้”

 

 

คนที่เข้ามาในเว็บไซต์ Refinn จะเจออะไรบ้าง

“ก็จะเริ่มที่ว่า คุณต้องการจะรีไฟแนนซ์อะไร มีการกรอกข้อมูล สินเชื่อเดิมเท่าไร ผ่อนอีกกี่ปี ดอกเบี้ยเท่าไร กรอกครบถ้วนก็กด Next เราก็จะกวาดข้อมูลมาช่วยคำนวณ แล้วแสดงข้อมูลแบบที่อาม่าและเด็กต้องเข้าใจได้

 

“คือมีรายละเอียด ดอกเบี้ยอะไรเท่าไร แต่เราจะคำนวณแสดงผลให้ง่าย เปรียบเทียบโปรโมชันที่ดีที่สุดเลย ไม่ต้องเข้าใจดอกเบี้ย แต่เข้าใจว่าจะได้อะไร

 

“พวกเราเป็นเหมือนคนกลาง เป็นตลาดนัดรวมสินค้าของทุกแบรนด์ เน้นเข้าใจง่ายและเข้าใจได้ ผมว่าทุกคนต้องวางแผนทางการเงิน ถ้าไม่ได้วางแผนก็แปลว่าปล่อยทุกอย่างไปตามยถากรรม การเป็นหนี้ไม่ผิด แต่การยอมจ่ายแพงกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ”

 

ในเว็บไซต์บอกว่า ผู้ใช้งานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสักบาทเลย แล้วทาง Refinn จะได้อะไร

“การเป็นตัวกลางเราก็ได้ค่าคอมมิชชันตอบแทนเหมือนกัน ข้อดีคือคนใช้ไม่เสียอะไรเลย ถ้าไปธนาคารเอง ขยันไป 20 กว่าธนาคารก็ทำได้ แต่มาใช้บริการเราไม่ดีกว่าหรือ ลูกค้าเสมอตัวมาก

 

“เข้ามาดูแล้วไม่รีไฟแนนซ์ก็ไม่เป็นไร แต่มาหาเราเถอะ มาดูให้เห็นว่าที่ไหนถูกสุด ให้เราดูให้ Follow ให้ ขั้นตอนต่อไปคืออะไร เราช่วยอัปเดตสถานะให้”

 

จุดเด่นของ Refinn คืออะไร

“มาถึงตอนนี้เราบริการมาแล้ว 70,000 กว่าคน เรารู้แล้วนะว่าลูกค้าโปรไฟล์แบบนี้ ธนาคารไหนชอบ ลูกค้าจะได้รู้เลยว่า ถ้าเขาเป็นแบบนี้ รายได้เท่านี้ อาชีพนี้ มีความเสี่ยงอะไรบ้าง แล้วควรจะไปที่ธนาคารไหน นี่คือสิ่งที่ลูกค้าชอบ เพราะมันไม่ต้องมานั่งเดาใจกัน

 

“ในตอนนี้เราจริงจังเรื่องการให้บริการ แต่ก่อนเราเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบ พอเสร็จลูกค้าก็ขอบคุณครับ จบ ผู้ใช้ต้องดำเนินการต่อเอง แต่ตอนนี้เราเพิ่ม Service มีการช่วย Pre-Selection ให้ ซึ่งผลคือส่วนใหญ่ผ่าน ไม่เสียเวลา เราดูโอกาสให้

 

“เราช่วยลดระยะให้น้อยลง ถ้าทำเอง ต้องศึกษา ไปธนาคาร เตรียมเอกสาร เบ็ดเสร็จเฉลี่ยอยู่ที่ 118 วัน แต่เราทำได้เฉลี่ยที่ 30 วัน อีกอย่างคือเราไม่มีค่าบริการเลย ฉะนั้น มาใช้เถอะครับ”

 

จุดแข็งมีเยอะมาก แล้วคิดว่า Refinn มีจุดอ่อนอะไรที่ต้องแก้บ้าง

“เราเริ่มมาได้ 3 ปีเอง ลูกค้าก็มีกังวล ฉันไปธนาคารดีกว่า คุ้นเคยกว่า เพราะไปตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่เข้าใจว่า เราแค่เป็นผู้ช่วยที่สุดท้ายคุณก็ไปจบกับธนาคารอยู่ดี แต่ก่อนลูกค้ายังไม่ค่อยมั่นใจในชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ

 

จะดีแค่ไหนถ้าคนไทยทุกคนไม่มีหนี้

“เราอาจเป็นแค่สตาร์ทอัพทั่วไป แต่เรามีองค์ความรู้เรื่องไฟแนนซ์ รู้ว่าเงินที่ลูกค้ามีสามารถเอาไปทำอะไรต่อได้บ้าง

 

“สมัยก่อนเราบอกตลอดว่าเรามาปลดหนี้ ลูกค้ามาทุกแบบเลย จึงทำให้รู้ว่าเราอาจจะสื่อสารไม่ครอบคลุม เราอยากจะบอกว่า การบริการเงินมันคือยารักษาโรค ไม่ใช่ว่ากำลังจะตายแล้วมาซื้อยานะ แต่คุณควรหมั่นไปตรวจสุขภาพบ้าง เราเป็นที่ที่ช่วยให้คุณได้รับบริการตรวจสุขภาพนั่นเอง

 

“คนทั่วไปมักจะเข้าใจเรื่องเงินผิด คิดว่าต้องบริหารก็ต่อเมื่อมันมีปัญหา ถ้าบริหารการเงินให้ดี มันก็มีข้อดีกับชีวิต รีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องมีปัญหาถึงทำ มันทำได้เลย เราให้บริการได้เลย และเรากำลังจะไปในทิศทางนั้น”

 

อนาคตของ Refinn จะไปทิศทางไหน

“เราอยากเป็นเพื่อนคู่คิดเรื่องหนี้ มีหนี้อะไรมาหาเรา เราช่วยได้ หาวิธีได้ จะเป็นหนี้นอกระบบก็มาเถอะ มันมีหลากหลายกระบวนท่าที่ช่วยได้ มีลูกเล่นให้เล่นเยอะมาก อนาคตจะพัฒนาการบริการไปที่หนี้ตัวอื่นๆ

 

“อีกเรื่องคือเรากำลังพัฒนาตัว AI ที่ช่วยในการคัดกรองและตอบความต้องการของลูกค้า เชื่อไหมว่า AI ช่วยจัดการแทบจะทุกอย่าง วิเคราะห์ ประมวลผล บางทีก็ตอบอีเมลลูกค้า ซึ่งตัวลูกค้าอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำ ทั้งหมดเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องจ้างคนเพิ่ม

 

“เราไม่อยากจ้างคนมาเป็นกรรมกร จ้างคนฉลาดมาทำอะไรที่ฉลาดดีกว่า คอมพิวเตอร์มันทำได้ดีกว่ากรรมกร คำนวณได้ไม่ผิด เรื่องอะไรที่มันควรจะเป็นหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ ก็ควรให้มันเป็นหน้าที่ของมันไป”

 

 

การมาเข้าร่วม AIS The StartUp ให้อะไรกับเราบ้าง

“ทุกสตาร์ทอัพคือคนรุ่นใหม่ อย่างผมเริ่มทำตอนเรียนปี 4 บริหารบริษัทแบบกองโจร องค์ความรู้การบริหารการทำธุรกิจมันยังไม่มืออาชีพ ข้อดีคือเราได้คุยกับตัวท็อป ซึ่งโอกาสมันไม่ได้หากันง่ายๆ สมมติผมไปบอกคนเหล่านั้นว่า ผมมีสิบล้าน ขอให้มากินข้าวกับผมหน่อย เขาไม่เอาหรอก แต่โอกาสแบบนี้เราได้จาก AIS แน่ๆ

 

“ปัจจุบันบริษัทมี 13 คน เคยลองขยายธุรกิจแต่เรามีปัญหาคอขวด ลูกค้าเข้ามามาก พอเราช่วยธนาคารโทร ค่าใช้จ่ายเราก็เพิ่ม จริงๆ มันไม่ควรจะโตไปตามสเกล สตาร์ทอัพสอนเราอย่างนั้น

 

“จำได้เลยว่า ตอนที่มาพิทชิง หลักๆ เราขาย Passion ผมอยากให้ชีวิตด้านการเงินของคนไทยดีขึ้นจริงๆ นะ ถ้าเราไม่ทำก็ไม่มีคนทำ ไม่มีใครทำแล้วล่ะ ตอนพิทชิงต้องขายแผนการตลาดหรืออื่นๆ ที่มันปั้นขึ้นมาได้ เดือนหน้ามันก็เปลี่ยนได้ ที่สำคัญมันคือเรื่อง Passion มากกว่า มูลค่าทางการเงินหกพันล้านที่เราช่วยคนไทยไป ดอกเบี้ยที่ประหยัดกันไปเก้าร้อยล้านบาท เหล่านี้คือสิ่งที่วัดผลได้

 

“คนอยากลอกมีเยอะ แต่เขาไม่มี Big Data ส่วนเรามีประสบการณ์ มีข้อมูลจากลูกค้ากว่า 70,000 คน เว็บ Refinn เราครบ ดีที่สุด และให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดด้วย”

 

 

Pastel Keyboard

Tap for more

ดูเหมือนหลักการของการเกิดสตาร์ทอัพ อย่างแรกสุดคือการที่ต้องมองเห็น ‘Pain Point’ และอยากแก้ปัญหามันเสียก่อน แล้วนำมันมาต่อยอดเป็นธุรกิจ แต่สำหรับ Pastel Keyboard แอปพลิเคชันเปลี่ยนธีมคีย์บอร์ดสัญชาติไทยแท้โดย เอก-เอกชัย เจริญพัฒนมงคล CEO & Co-Founder แห่ง i-App Creation Co.,Ltd. นี้ จุดเริ่มต้นไม่ได้เกิดจาก Pain Point เพียงอย่างเดียว แต่มันคือการมองเห็น ‘โอกาส’ และนั่นเลยทำให้ Pastel Keyboard กลายเป็นแอปฯ แสนธรรมดาที่ครองใจคนไปทั่วโลก!

 

Pastel Keyboard คืออะไร

“คือแอปฯ เปลี่ยนธีมคีย์บอร์ด ปัจจุบันเรามีอยู่ที่เกือบ 10,000 แบบ เมื่อซื้อแอปฯ ครั้งแรกจะได้ 100+ แบบก่อน หากอยากได้มากกว่านั้นจะเป็น In-App Purchase หรือการซื้อเพิ่มเติมในแอปฯ”

เล่าจุดเริ่มต้นของ Pastel Keyboard ให้ฟังหน่อย

“คือผมอยู่ในวงการทำแอปฯ มา 9 ปีแล้ว ทุกๆ ปีจะมีงาน Apple WWDC (Worldwide Developer Conferences) มีอยู่ปีหนึ่ง Apple WWDC ก็ประกาศว่า เราจะเปิดให้ทำ Keyboard Extension บนไอโฟนได้ ตอนนั้นเรานอนดูไลฟ์อยู่ ก็เลยคิดขึ้นมาว่า… เฮ้ย! มันเป็น Big Things บางอย่าง เป็นโอกาสของเราเลย เราต้องเป็นคนกลุ่มแรกที่ขายใน iOS ให้ได้

 

“เช้ามาก็ไประดมสมองกับพาร์ตเนอร์ว่า จะทำคีย์บอร์ดอะไรดี มันก็มีมากมายหลายแบบ จนสะดุดขึ้นมาเรื่องหนึ่งว่า ยุคก่อนเรามีแบล็คเบอรี่ คนนิยมเอาคีย์บอร์ดไปเปลี่ยนสีกัน ก็เลยเป็นจุดว่าเราจะทำ เอาการทำคีย์บอร์ดให้น่ารักนี่แหละมาเป็นแกน”

 

ช่วงแรกเริ่มของ Pastel Keyboard เป็นอย่างไรบ้าง

“ตอนแรกเราก็คิดว่าน่าจะไม่ยาก น่าจะมีคีย์บอร์ดมาให้เราเอาไปพัฒนาต่อ พอมาดูจริงๆ กลายเป็นว่าเราต้องสร้างคีย์บอร์ดขึ้นมาใหม่เอง มันคือต้องเริ่มจากศูนย์ ตอนนั้นไอเดียยังไม่ Solid เราทำตัวทดสอบก่อน มีการตั้งชื่อต่างๆ แล้วก็ลองปล่อยขายออกไป แม้กระทั่งภาษาไทยยังไม่มีเลย

 

“พอออกวางขายคนดาวน์โหลดกันกระจุย พร้อมกับเสียงต่อว่าตามมา (หัวเราะ) ว่าทำไมไม่มีภาษาไทย ซึ่งมันเป็นแอปฯ จ่ายเงินไง ถ้าฟรีมันก็ขอกันน่ารักๆ ได้ สรุปคือเราต้องฟังเสียงผู้ใช้ และพัฒนาภาษาไทยขึ้นมาในที่สุด

 

“หลังจากก็ทำคีย์บอร์ดภาษาไทยออกมา เรตติ้งก็ดีขึ้นเรื่อยๆ หมื่นกว่าเรตติ้ง 4.7 ดาว เราภูมิใจมาก ช่วงแรกๆ มีธีมยังไม่ถึงร้อย ผมว่าได้ดาวเพราะสีน่ารักถูกใจสาวๆ”

 

แล้วเอาคอมเมนต์มาพัฒนาต่ออย่างไรบ้าง

“ตอนที่ได้รางวัล Best Paid Apps ตอนปี 2016-2017 ก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นไปที่ฟีเจอร์อื่นๆ ที่มันมีประโยชน์ ที่คนชอบใช้เยอะๆ เช่น Quick Text สมมติเราช้อปออนไลน์เยอะ ก็เก็บที่อยู่ไว้ในคีย์บอร์ด หรืออย่างแม่ค้าออนไลน์ ก็เก็บคำตอบที่ตอบบ่อยไว้ในนี้ได้ กดปุ่มเดียว เลขบัญชี ประโยคใช้บ่อยต่างๆ ก็ขึ้นมาเลย

 

“หรืออย่างเครื่องคิดเลข ตอนแรกก็คิดว่า มันจะมีคนใช้หรือเปล่า แต่เราก็ขอทำ ทำในแบบที่ไม่มีทีมรีเสิร์ช ตอนแรกคิดว่ามันทำยาก แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ยากมาก ปรากฏว่าคนใช้เยอะ

 

“เราเลยมาเรียนรู้ว่า บางครั้งมันไม่ใช่แค่เรื่องของการพิมพ์ มันคือการใช้งาน แบบที่ไม่ต้อง Swop ไปแอปฯ เครื่องคิดเลข มันคือประสบการณ์ในการใช้เลย”

 

แล้วมีแอปฯ คู่แข่งออกมาทำแข่งหรือเลียนแบบบ้างไหม

“มีมาเรื่อยๆ แต่ก็ล้มหายตายจากไป คือทุกคนมองว่ามันเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่มันไม่ง่ายเลย มันดีเทลมาก คือในจังหวะกดและยกนิ้วขึ้น จะมีอีเวนต์และการประเมินผลระหว่างทาง แล้วส่วนใหญ่คนเราก็ชอบพิมพ์เร็วๆ ซึ่งมันมีผลหมดเลย ถ้าแอปฯ ประมวลผลช้า ไม่ทันกดปุ่มต่อไปก็เป็นจุดบอดแล้ว

 

“ทำให้ดีมันยาก คู่แข่งเลยเหนื่อยและหยุดไป ส่วนต่างชาติก็มี อเมริกาก็มีแอปฯ ทำนองนี้ แต่ธีมไม่เยอะเท่าของเรา”

 

 

จากธีมคีย์บอร์ด 100 กว่าแบบ ไปสู่ 6,000 กว่าแบบได้อย่างไร

“พอมีคนโหลดมากขึ้นก็เริ่มคิดมากกว่าแอปฯ ราคา 35 บาทละ ก็เริ่มหาความพรีเมียมมากขึ้น ซึ่งก็ยังมีคนซื้ออยู่ หรือพอเราเพิ่มธีมเข้าไปสองสามร้อยแบบ คนก็ยังซื้อนะ แต่ก็คิดว่ามันไม่ยั่งยืน เหมือนเราเก็บความสำเร็จไว้คนเดียว เราอยากจะไปมากกว่านั้น

 

“เลยทำ Pastel Crafter เปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์สามารถออกแบบคีย์บอร์ด แล้วส่งขึ้นมายังระบบได้ นี่คือสาเหตุที่ตอนนี้มีหกพันกว่าแบบ มันคือตลาดของคนทำกราฟิก ไม่ใช่แค่ผู้ใช้ทั่วไปอย่างเดียวแล้ว ทุกวันนี้ครีเอเตอร์ที่ส่งธีมเข้ามาก็ไม่ใช่แค่คนไทยด้วย

 

“เราเคยทำงานกับต่างประเทศนะ เช่น Sanrio (ค่ายผลิตคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนและคอนเทนต์ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น) ถ้าซื้อแอปฯ จะเห็นเลยว่า เรามีหมด เกือบครบทุกคาแรกเตอร์ของซานริโอเลย

 

“Pastel Crafter เราทำมาค่อนข้างง่ายนะ เรื่อง UX UI เราให้ความสำคัญ มันต้องเป๊ะ ต้องไม่ติดขัด คราฟเตอร์สามารถเป็นได้ไม่ยากเลย เรามีแยกชิ้นให้ มีไฟล์ให้ดาวน์โหลด เอาไปทดลองเองก่อนได้ แอปฯ ตัวนี้เราพร้อมมาก

 

“มากกว่านั้นผมเชื่อเรื่อง Automation (การนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาทดแทนงานของคน) ถ้ามากัน 100 คน 6,000 ธีม แล้วเราไม่มีระบบมารองรับ คน 10 คนก็เอาไม่อยู่หรอก เราเลยทำแพลตฟอร์มที่ง่ายต่อดีไซเนอร์มากๆ”

 

เรื่องของตลาด ตอนนี้วางตัวไว้ที่ตลาดไหนบ้าง

“ตอนนี้คีย์บอร์ดเรามี 11 ภาษา ซึ่งถือว่าเยอะ อย่างตลาดญี่ปุ่นมีแอปฯ แบบนี้ไหม มีนะ เราก็อยากไปตลาดนั้น หรือคีย์บอร์ดภาษาเกาหลีเรามีแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มต้นทำตลาดในเวลานี้

 

“จริงๆ เราอยากได้ตลาดจีนมาก เราเคยติดอันดับ Top 100 ด้วยนะ แต่ลูกค้าก็ฟีดแบ็กมาในเรื่องที่เรายังไม่มีคีย์บอร์ดภาษาจีน แต่ระบบการพิมพ์ภาษาจีนมันยาก มันเลยเป็นความท้าทายที่เราต้องทำให้ได้”

 

มองอนาคตของ Pastel Keyboard ไว้อย่างไร

“ฝั่งธุรกิจเรามีแผนรองรับการเติบโตอยู่ ส่วนฝั่ง Supply ก็เน้นทำตัวคราฟเตอร์ให้ดีต่อไป ฝั่ง Paid App มีคนใช้ที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะตันหรือยัง ตอนนี้เราสนใจใน Free App เป็นอีกหนึ่งทิศทางที่เป็นไปได้

 

“อีกขาหนึ่งที่ใหญ่คือฝั่ง B2B (Business to Business) เป็นหนึ่งในจุดหมายที่อยากก้าวต่อจาก B2C (Business to Customer) ที่เราทำมาจนเชี่ยวชาญ AIS น่าจะมอบโอกาสให้กับเราได้ ในฐานะพาร์ตเนอร์ที่ช่วยกันก้าวต่อไปข้างหน้า

 

 

AIS The StartUp ให้คำแนะนำดีๆ อะไรบ้าง

“เนื่องจากผมเพิ่งเข้ามาไม่ถึงเดือน เอาเป็นความคาดหวังแล้วกัน คือเราอยากได้พาร์ตเนอร์ที่แข็งแกร่งที่สุดในไทย ผมไม่มีความเชี่ยวชาญในฝั่ง B (Business) เลย ดีใจที่ AIS ลงมาเข้าใจกับสตาร์ทอัพมาก ผมเชื่อว่า AIS รู้วิธีการทำงานกับทั้งธุรกิจและกลุ่มลูกค้า ช้าไปสตาร์ทอัพตายก่อนนะบางที มันเลยต้องมีแรงผลักดัน และเป็นจุดแข็งที่ทำให้เราเลือกเข้าหา”

 

อะไรที่ทำให้ Pastel Keyboard ประสบความสำเร็จครองใจคนทั่วโลก และยังคงติดอันดับใน App Store

“ผมคิดว่าอาจจะเป็นที่คนทุกคนในโลกมักมุ่งไปที่ผลลัพธ์ ก่อนทำอะไรก็ตาม สตาร์ทอัพชอบมองว่า Pain Problem คืออะไร ของผมต่างไปตรงที่ไม่ได้เริ่มจาก Pain Point อย่างเดียว ผมเริ่มจากโอกาส

 

“ก่อนจะเริ่มทำอะไรก็ตามมันต้องมีการรีเสิร์ช ดูว่าในตลาดมันมีสิ่งนี้หรือไม่ ในแอปสโตร์มีข้อเด่นข้อเสียอย่างไร และมันมีตลาดสำหรับเราจริงๆ หรือเปล่า

 

“แอปฯ ดีก็เรื่องหนึ่ง มาร์เก็ตติ้งก็เรื่องหนึ่ง แต่ผมให้ความสำคัญกับช่วงก่อนดาวน์โหลดมาก ผู้ใช้เห็นอะไร เขาเจอเราได้อย่างไร หน้าตามันพร้อมที่จะทำให้เขาตัดสินใจดาวน์โหลดไหม โหลดเสร็จแล้วจะเจออะไร

 

“มันคือ The Whole Experience Management เส้นทางมันเป็นแบบนี้ และอีกอย่างคือ เวอร์ชันแรกห้ามทำดีเกินไป แต่ทำให้โอเคในระดับหนึ่ง เวิร์กเสร็จค่อยพัฒนาต่อ ก่อนเจอแอปฯ กับในแอปฯ มันคนละเรื่องกันเลย แล้วผมเป็น Paid ไง มันคือการจ่าย มันตัดสินใจยากกว่า”

 

แล้วมองจุดด้อยของตัวเองไว้อย่างไร

“ผมว่าเรายังช้าเกินไปหน่อย อยากเร็วกว่านี้ อยากทำอะไรพร้อมๆ กันกว่านี้ อยากมีสิบมือ (หัวเราะ) แต่มันก็ต้องตามธุรกิจอยู่ดี อย่างภาษาจีน มันควรจะมีนานแล้ว แต่เรายังไม่มี หรือแอนดรอยด์เราก็เพิ่งมี เป็นจุดอ่อนของผม ต้องออกมาเจอคน ออกมาเจอโลกที่มันเร็วมาก และทำมันให้ทัน

 

“ผมเป็นคนเร็วมาก คิดเร็วมาก อยากทำทุกอย่างพร้อมกัน แต่ก็ไม่อยากจ้างคนแล้วไง เลยต้องมองควบคู่กับธุรกิจให้สมดุลกันไป

 

“เราไม่จำเป็นต้องศึกษาปัญหาที่เด่นชัดอย่างเดียวเสมอไป บางอย่างมันเป็น Hidden Need เขาแค่อยากได้ด้วยความต้องการทางจิตใจ บางครั้งเรามองหาไอเดียที่ล้ำลึกมาก มันอยู่ตรงหน้าแค่นี้เองนะ ทำไมปุ่มมันไม่อยู่ตรงนี้ แค่นั้นเอง”

 

โครงการ  AIS The StartUp

ให้คุณเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว AIS The StartUp ได้ง่ายขึ้น

 

โดยสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อเข้าร่วม Monthly Pitching และเราพร้อมจัดให้มีการนำเสนอผลงานเพื่อมาเป็น Digital Partner ร่วมกับ AIS ประจำทุกเดือน ได้ที่ www.ais.co.th/thestartup

 

โดย AIS The StartUp พร้อมที่จะสนับสนุน ผลักดัน และเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจของสตาร์ทอัพได้มีโอกาสเติบโต แข็งแรง และประสบความสำเร็จด้วย 3 รูปแบบคือ

 

  1. Technology and Fundamental Support
  2. Market Development
  3. Business Model

 

และอื่นๆ อีกมากมาย

 

รายละเอียดเพิ่มเติม: www.ais.co.th/thestartup

 

ติดตามอีก 2 สตาร์ทอัพน่าจับตามอง ที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการ AIS The StartUp ได้ที่ AIS The StartUp | Monthly Pitching (Part 2)

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising