×

พบกับ 5 สตาร์ทอัพน่าจับตามองที่ผ่านการคัดเลือกจาก AIS The StartUp | Monthly Pitching (Part 2) [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
05.09.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

7 Mins. Read
  • AIS มองเห็นคุณค่าและช่องทางใหม่ๆ ในการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ จึงเริ่มต้นมองหาธุรกิจที่น่าจับตามองเพื่อเข้าร่วมกันเป็นครอบครัว AIS The StartUp ผ่านกระบวนการ AIS The StartUp Monthly Pitching ที่จัดขึ้นทุกเดือนที่ AIS D.C.
  • VR ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สื่อหลายแขนงต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คือสิ่งที่กำลังจะมาเปลี่ยนโลกของเราไปตลอดกาล
  • Dexii กับเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนเรื่องเรียนให้เป็นเรื่องสนุก พร้อมความฝันก้อนใหญ่ที่จะยกระดับการศึกษาไทยไปได้ไกลอย่างมีความหวัง
  • Infofed ต่อยอดความสนใจเรื่อง VR และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน การลงทุนก้อนใหญ่กับ E-Sports Arena เพื่อหวังเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของเอเชีย

ในตอนที่แล้ว (อ่าน ‘พบกับ 5 สตาร์ทอัพน่าจับตามองที่ผ่านการคัดเลือกจาก AIS The StartUp | Monthly Pitching ได้ที่ thestandard.co/ais-the-startup-monthly-pitching-part-1) เราพาคุณไปทำความรู้จักกับ 3 สตาร์ทอัพแรกที่ผ่านการนำเสนอผลงานในกระบวนการ AIS The StartUp Monthly Pitching และผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมเป็นครอบครัวของ AIS The StartUp

 

มาถึงตอนนี้เราขอพาคุณไปพูดคุยและทำความรู้จักกับอีกสองสตาร์ทอัพที่มีจุดร่วมที่น่าสนใจก็คือ พวกเขากำลังสนใจและลงทุนในเรื่องราวของ VR (Virtual Reality) เทคโนโลยีที่หลายสื่อต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คือสิ่งที่กำลังจะมาเปลี่ยนโลกของเราไปตลอดกาล

 

อาจฟังดูใหญ่เกินไปถ้าเราจะถามคำถามว่า VR นั้นเปลี่ยนโลกได้อย่างไร แต่เราเลือกถามคำถามที่เล็กกว่านั้นว่าทำไมพวกเขาถึงสนใจใน VR และ VR สร้างโอกาสทางธุรกิจและเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์ของสองสตาร์ทอัพนี้

 

 

Dexii

Education is Fun!

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเรียนและการศึกษาโดยเฉพาะของบ้านเรานั้นมักเริ่มต้นจากคำว่า ‘ยาก’ เสมอ ไม่ว่าจะสาขาวิชาอะไรก็ตาม Dexii หรือเด็กซี่ – Design Education X คือสตาร์ทอัพที่ตั้งใจจะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนเดิมๆ สลัดคำว่า ‘ยาก’ ออกไปให้กลายเป็นความ ‘สนุก’

 

และมากกว่านั้นคือการสร้างอนาคตและความหวังที่เป็นไปได้ให้กับเด็กๆ ในแบบที่ทั้ง เพื่อน-กชกานต์ คุ้มไพโรจน์ และ เจ-ศุภสัณห์ นภาสว่างวงศ์ Co-Founder บริษัท วิชวล อีดีเอ็กซ์ จำกัด มองภาพใหญ่และอยากให้มันเกิดขึ้นจริง รวมถึงเป้าหมายสำคัญคือการให้เด็กๆ ได้รับการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทุกคน

 

 

ตอนนี้ Dexii ทำอะไรอยู่บ้าง

เราเป็นแอปพลิเคชันที่จะมาเปลี่ยนเรื่องเรียนให้เป็นเรื่องเล่น ตอนนี้เราได้เงินทุนจากรัฐบาลก้อนหนึ่งในการพัฒนาแอปฯ และเราก็ไม่อยากให้แอปฯ มีจุดประสงค์เพียงเพื่อใช้งานอย่างเดียว แต่อยากให้มันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ช่วงนี้ก็เลยเริ่มมาทำมาร์เก็ตติ้งกัน ราวสิ้นเดือนนี้น่าจะมีตัวเดโมมาให้ได้ลองเล่นกัน

 

ตัวเดโมของแอปฯ Dexii เป็นอย่างไร

อย่างที่บอกว่ามันการเปลี่ยนเรื่องเรียนให้เป็นเรื่องเล่น ตัวแอปฯ จะเป็นการรวมบทเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในช่วงชั้นเรียน ป.4-6 ซึ่งเป็นช่วงที่วิชาวิทยาศาสตร์เริ่มยาก เราเลยหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เรามองว่าช่วงวัยนี้มันคือช่วงที่กำลังจะจุดประกายให้เด็กๆ รู้ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เราเลยอยากให้ตัวแอปฯ เสริมเรื่องการโฟกัสและสร้างความน่าสนใจให้ได้มากขึ้น

 

ตัวแอปฯ ส่วนใหญ่จะเป็น VR ราว 60-70% ที่เหลือคือพวกแบบจำลองสามมิติและสื่ออินเตอร์แอ็กทีฟอื่นๆ เพราะเราก็มองว่าหลายรูปแบบการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์พวก VR หรือต้องใส่แว่นเสมอไป มันมีวิธีอื่นที่สนุก ตอบโจทย์ และเข้าใจได้ง่ายกว่า

 

จุดเริ่มต้นของ Dexii คืออะไร

เริ่มมาจากตอนที่เราทำงานอยู่ที่ Infographic Thailand ซึ่งก็เป็น AIS The StartUp รุ่นแรก มันคือการทำข้อมูลที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น เราเลยเอาแนวความคิดที่เคยทำงานมาใช้ อยากทำเรื่องยากให้ง่าย เพราะส่วนลึกของนักเรียนทุกคนคือทำไมวิทยาศาสตร์มันยากจัง มีแต่คนเก่งเท่านั้นที่จะเข้าใจ เราเลยตั้งคำถามว่ามันจำเป็นจริงๆ หรือที่ต้องทำให้ยาก เราอยากเอาเทคโนโลยีเข้าไปจับ และพื้นฐานเราก็เรียนสายวิทย์กันทั้งคู่ เลยยิ่งอยากลงมือทำ

 

นอกจากนั้นคือเราสนใจเรื่องการศึกษามากกว่า เราอยากให้เข้าถึงได้ทุกคน เราเคยไปศึกษาข้อมูลทั้งโรงเรียนเอกชนและรัฐบาลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เราก็พบว่าถึงแม้จะเป็นในช่วงอายุเท่าๆ กัน แต่เด็กๆ ของแต่ละสภาพแวดล้อมก็มีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันคนละเรื่องเลย

 

แล้วเราพัฒนาแอปฯ นี้อย่างไร ในเมื่อมันมีความต่างขนาดนี้

มันต่างกันก็จริง แต่จุดร่วมที่เหมือนกันก็คือความรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์มันน่าเบื่อ เป็นกันทุกวัยเลยนะ ภาพลักษณ์มันน่าเบื่อ มันซับซ้อน ไม่เท่เหมือนเรียนศิลปะ ถามว่าทำไมมันมีปัญหา เพราะภาพจำของเรามองกันไปก่อนเลย คนจะเรียนสายวิทย์ได้ต้องเป็นเด็กเนิร์ด ต้องฉลาดมากๆ คนทั่วไปเรียนไม่ได้หรอก

 

ที่สำคัญกว่านั้นมันคือเรื่องโอกาส เอาง่ายๆ ว่าถ้าอยากเรียนรู้เรื่องสัตว์ เราออกนอกห้องเรียนเพื่อไปสวนสัตว์มันก็เรียนรู้ได้มากขึ้น แต่พอมันอยู่แต่ในห้อง เปิดหนังสือ มันเหมือนบล็อกหนึ่งชั้นเหมือนกันนะ เราเลยอยากเอากำแพงนี้ออกเพื่อที่มันจะง่ายขึ้น

 

คอนเทนต์ที่ใส่ลงไปใน Dexii เอามาจากที่ไหน

พื้นฐานคือหลักสูตรก่อนเลย เราพบว่าประเด็นในหลักสูตรมันมหาศาล มาตรฐานและตัวชี้วัดมันเยอะมาก เราหยิบมาทำไม่ได้ทั้งหมดหรอก และเกณฑ์การวัดผลหลายอันก็ไม่ได้วัดจากความรู้ แต่มันจำเป็นต้องผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยน การพูดคุยกัน

 

เราออกแบบจนจบหนึ่งบทก็จะมาทดสอบกันว่าชอบหรือเปล่า ต้องวางเส้นทางการเรียนรู้กันใหม่หรือไม่ แล้วตอนจบต้องมีการให้คะแนนด้าน Performance ตอนนี้เราเลยค่อนข้างอยากได้ฟีดแบ็กจำนวนมาก เราอยากโฟกัสไปที่ประสบการณ์การใช้งานแอปฯ เราอยากดูว่ามันว้าวกับเด็กไหม ช่วงนี้คือมีโครงร่างแล้ว เหลือแค่ทดลองตั้งแต่เล่นยันจบ ไปจนถึงการวัดผล

 

 

การเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ AIS The StartUp ให้อะไรกับคุณบ้าง

เราได้เรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ ทางเรามีไอเดีย แต่เรายังไม่สามารถเติบโตด้วยตัวเองได้ เพราะยังไม่มีประสบการณ์ การเข้าร่วมกับ AIS The StartUp ทำให้ได้รับความรู้จากคนที่มีประสบการณ์มาให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ปกติเราพัฒนาด้วยกันเอง มันอาจจะมีมุมมองที่จำกัด มาตรงนี้มันได้มุมที่กว้างกว่า

 

หรืออย่างเรื่อง Business, Team Building และการจัดการทีม การเข้าใจในธุรกิจที่กำลังทำคือความรู้เรายังไม่ถึงขั้นผู้จัดการ แต่เราก็ได้รู้วิธีการสร้างทีมให้อยู่รอด รู้ว่าจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ในแต่ละวันทีมต้องทำงานหลายอย่าง เช้าพัฒนาแอปฯ บ่ายต้องพิทชิงงาน ทุกคนต้องเป็นเป็ด ต้องทำได้ทุกอย่าง และต้องเข้าใจกันมากๆ เราต้องเรียนรู้การสร้างวัฒนธรรมองค์กร และมุมมองอื่นๆ ก็ได้มาเยอะมากเช่นกัน

 

มองอนาคตของ Dexii อย่างไร

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าตัวเรามาก คือเราอยากให้มันเข้าถึง อยากให้เป็นหลักสูตรในโรงเรียน มันช่วยเรื่องขนาดของนวัตกรรมนะ พอมีส่วนกลางเข้ามา ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ต้องจ่ายแพง มันก็ช่วยลดช่องว่าง ทุกคนเท่าเทียม แล้วมันจะยกระดับการศึกษาได้จริงๆ

 

ที่เมืองนอกก็มีแอปฯ ทำนองนี้ แต่เขาจะแตกไลน์พิเศษไปเลย เป็นสำหรับแพทย์ สำหรับอุตสาหกรรม สำหรับการเทรนนิ่ง เพราะตลาดมันต้องการมากกว่า เอกชนกล้าจ่ายมากกว่า หรือถามว่าอยากไปที่กลุ่มเป้าหมายเด็กกว่านี้ไหม เราก็มีปัจจัยที่ต้องคำนึงอยู่มาก เช่น เรื่องสายตา หรือเรื่องพฤติกรรมการเล่นที่จะไม่ทำให้พวกเขาเล่นจนเสพติดเกินไป

 

ถ้าวันหนึ่งมีคู่แข่ง คิดว่าจะรับมืออย่างไรบ้าง

ดีเลย มาช่วยกันแชร์วิชา เราเห็นว่ามันมีหลายจุดให้ไปทำอีกเยอะ อย่างตอนนี้ก็มีน้องฝึกงานเข้ามาช่วย หลายชิ้นออกมาค่อนข้างดีเลย เราได้อะไรมาจากน้องฝึกงานค่อนข้างเยอะ ยิ่งมีคนหันมาทำกันเยอะยิ่งดีเลย มาช่วยยกระดับไปด้วยกัน

 

 

Infofed

VR The Champion

เมื่อเทคโนโลยีไปไวกว่าที่คิด การตามให้ทันจึงเหมือนเป็นเรื่องยากที่หลายคนไม่กล้าตามและลงทุน แต่สำหรับ Infofed ธุรกิจเทคโนโลยีที่ลงลึกอย่างเข้าใจใน VR พวกเขามองว่าทุกอย่างคือความท้าทายที่น่าลงทุน

 

เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ยศ-จิรยศ เทพพิพิธ CEO and Founder บริษัท อินโฟเฟด จำกัด พร้อมคำตอบถึงคำถามที่ว่า Infofed ตั้งใจจะเป็นผู้นำด้าน VR ด้วยมุมองและทิศทางอย่างไรบ้าง

 

 

จุดเริ่มต้นของ Infofed เป็นมาอย่างไร

เราเริ่มต้นมาจาก SMEs ที่เน้นทำเรื่องอินโฟกราฟิก ทำเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ทีนี้มันมีกระแสเรื่องเทคโนโลยีและการ Disruption เราก็ไปพบกับเทคโนโลยี AR และ VR ซึ่งหลักๆ ก็คือการทำเรื่องยากให้เข้าใจง่ายเหมือนกัน ทางเรามีความสนใจ ก็เลยใช้สกิลจากการเป็น Tech Company ของเราเข้าไปทำ เข้าไปศึกษา

 

เราเป็นเจ้าแรกในประเทศไทยที่ทำเรื่องนี้ ตอนนี้เราอยากขยายเรื่อง VR ให้ใหญ่โตในหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แค่เรื่องคอนเทนต์ มันเป็นเรื่องเทคโนโลยีที่ต้องเข้ามาสนับสนุน มีฮาร์ดแวร์ มีสถานที่ อย่างล่าสุดเราขยายจากเรื่องการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ไปที่เรื่องอีสปอร์ตซึ่งจะทำให้ตลาด VR ขยายมากขึ้น

 

ประโยชน์ของ VR ในมุมมองของ Infofed คืออะไร

มันคือการเล่าเรื่องยากให้ง่าย ให้คนเข้าใจ อย่างสมัยก่อนเราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ มีการพูดถึงเรื่อง ‘เมืองอกแตก’ เรานึกภาพไม่ออกหรอก พอเราใส่แว่นตา VR เข้าไป VR ก็จะพาเราบินเหนือกรุงธนบุรี เห็นแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่าน เห็นภาพเมืองอกแตกเลยว่าเป็นเมืองที่มีแม่น้ำผ่ากลางเมือง และยังได้เรียนรู้เรื่องอื่นๆ มากขึ้นอีกด้วย

 

ส่วนประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวก็คือให้เราได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ หรืออย่างประโยชน์ด้านอสังหาริมทรัพย์ มันเป็นการขายตรงที่ดีมาก แทนที่จะดูแค่แปลนหรือแบบจำลองเฉยๆ คุณสามารถเข้าไปเดินดูห้องตัวอย่างได้เลย เทคโนโลยี VR ตอนนี้มันกว้างและเติบโตสูงมาก

 

แล้วอีสปอร์ตมีข้อดีอย่างไร ทำไมจึงสนใจไปจับเรื่องนี้

เราอยากขยายเรื่อง VR ให้เติบโต แล้วอีสปอร์ตมันคือหนึ่งในตลาดที่ทำให้ VR เติบโต เราเลยลงทุนเรื่องนี้เป็นพิเศษ เรามี E-Sports Arena ขนาด 1,000 ตารางเมตรที่เดอะสตรีท รัชดาฯ แล้วรัฐบาลก็เพิ่งผ่านอีสปอร์ตให้เป็นกีฬาเทียบเท่ากีฬาทั่วไปอื่นๆ ทุกอย่างเลยบูมมาก

 

ตอนนี้ที่อารีน่าเราเป็นเจ้าภาพการแข่งขันอีสปอร์ตมากที่สุดในไทย เรามีแข่งระดับทีมชาติหลายทัวร์นาเมนต์ เปิดตัวเกมใหม่ที่แรกของโลกเราก็เคยทำมาแล้ว ขณะเดียวกันเราก็อยากพัฒนาเทคโนโลยีรอบๆ VR ควบคู่กันไปด้วย อีสปอร์ตจึงตอบโจทย์กับเรามาก

 

ตลาดอีสปอร์ตในไทยกับต่างประเทศเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ที่เมืองนอกตลาดอีสปอร์ตเติบโตมาก อย่างที่อเมริกาโต 30% ที่จีนและเกาหลีใต้โต 40% ส่วนในไทยก็กำลังเติบโตเช่นกัน แต่เป็นอาชีพได้ไหม มันไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเมืองนอกเขามีการสนับสนุนในทุกปัจจัยเลย เขามีผู้เล่น มีสิ่งอำนวยความสะดวก แล้วก็มีทัวร์นาเมนต์มารองรับ

 

หน้าที่ของเราคือการเปลี่ยนเด็กติดเกมให้เป็นนักกีฬา เราเลยเริ่มที่อารีน่า เพราะถ้าไม่มีอารีน่า เราไม่มีทางโตได้เลย เราเลยลงทุน 50 ล้านบาทแล้วทำให้มันต่อเนื่อง ให้มันเป็นอาชีพได้จริงๆ

 

เราแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 3 เทียร์ เทียร์ 1 คือคนที่เป็นนักกีฬา มีรายได้ที่ชัดเจนแน่นอน เทียร์ 2 คืออาชีพรอบๆ ทั้งแคสเตอร์ สตรีมเมอร์ หรือนักพากย์ ส่วนเทียร์ 3 คือกลุ่มเทคโนโลยีโดยรอบทุกอาชีพที่เกี่ยวข้อง กลุ่มคนทั้ง 3 เทียร์นี้คือปัจจัยที่ทำให้ตลาดอีสปอร์ตของเราไปได้อีกไกล

 

 

การเข้าร่วม AIS The StartUp เพิ่มเติมมุมมองอะไรให้ Infofed บ้าง

มันเหมือนแดนสนธยาเลย เพราะเราโตมาจาก SMEs สิ่งที่เราได้เรียนรู้มีมากมายเลย ทั้งเพื่อนสตาร์ทอัพด้วยกัน มุมมองที่พวกเขามี การแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งหมดนี้มันคือคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากๆ

 

มองอนาคตของทั้ง VR และ Infofed ไว้อย่างไรบ้าง

ตอนนี้เราค่อนข้างแข็งแกร่ง เพราะเรามี VR Hub เป็นของตัวเอง จะทำอะไรก็ได้ โชว์คอนเทนต์ โชว์เทคโนโลยี จุคนได้ 700-800 คน ดึงนักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาที่อยากเรียนรู้ให้เข้ามาเยี่ยมชมและใช้บริการได้ทุกวัน

 

เรามีแผนเรื่องการระดมทุนเพื่อจะขยาย VR และอีสปอร์ตไปให้ครอบคลุมทั้งตามหัวเมืองต่างๆ ในบ้านเราและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาเทคโนโลยีไปลง เอาคอมมูนิตี้ไปลง แล้วมันก็จะเติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง

 

โครงการ  AIS The StartUp

สำหรับผู้สนใจสามารถส่งผลงาน VR Content และ VR Experience มากันได้ทุกเดือนเพื่อเข้าร่วม Monthly Pitching มาเป็น Digital Partner ร่วมกับ AIS ได้ที่ www.ais.co.th/thestartup

 

โดย AIS The StartUp พร้อมที่จะสนับสนุน ผลักดัน และเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจของสตาร์ทอัพได้มีโอกาสเติบโต แข็งแรง และประสบความสำเร็จด้วย 3 รูปแบบคือ

  1. Technology and Fundamental Support
  2. Market Development
  3. Business Model

 

และอื่นๆ อีกมากมาย

 

รายละเอียดเพิ่มเติม: www.ais.co.th/thestartup

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X