×

Ratings Agencies เตือน! รัฐบาลนานาประเทศอาจถูกลดอันดับเครดิต หากไม่สามารถจัดการต้นทุนการดูแลผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นได้

18.05.2023
  • LOADING...
Ratings Agencies

บริษัทจัดอันดับเครดิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Moody’s, S&P และ Fitch ต่างก็เตือนว่า ลักษณะประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปในหลายประเทศ เช่น การมีอัตราการเกิดต่ำ และมีอัตราการตายที่ชะลอตัวลง กำลังกระทบอันดับเครดิตของรัฐบาลแล้ว

 

พร้อมทั้งเตือนว่า หากไม่มีการปฏิรูปในวงกว้าง การปรับลดอันดับเครดิตอาจทำให้ภาระทางการคลังของแต่ละประเทศสูงขึ้น และทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้น

 

ปัจจุบันธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารแห่งอังกฤษ (BOE) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงสุด นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มต้นทุนการชำระหนี้ของรัฐบาลด้วย

 

Edward Parker หัวหน้าฝ่ายวิจัยระดับโลกด้านอันดับเครดิตและความน่าเชื่อถือของ Fitch ซึ่งเพิ่งปรับลดอันดับเครดิตของฝรั่งเศสไปเมื่อเดือนที่แล้ว กล่าวว่า ปัญหาด้านประชากรกำลังเร่งด่วนมากขึ้น พร้อมเตือนว่าวาระการปฏิรูปของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง อาจหยุดชะงัก

 

ปัญหานี้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มพันธบัตรรัฐบาลในสหภาพยุโรป โดยตามรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะเพิ่มขึ้นจาก 20% ในปัจจุบันเป็น 30% ภายในปี 2050 เช่นเดียวกับในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

 

Marko Mrsnik หัวหน้านักวิเคราะห์ของ S&P Global Ratings กล่าวเสริมว่า จากการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของ S&P พบว่า ต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นเพียง 1% จะเพิ่มอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่น อิตาลี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาประมาณ 40-60% ภายในปี 2060

 

“นั่นเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมาก และบอกเป็นนัยถึงการปฏิรูป เพื่อจัดการกับแรงกดดันด้านอายุหรือการปฏิรูปการคลังอื่นๆ ซึ่งน่าจะมีความจำเป็นมากขึ้น หากหนี้ของภาครัฐยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป” Mrsnik กล่าว

 

เมื่อเดือนมกราคม S&P กล่าวว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกจะถูกปรับลดอันดับสู่ ‘ระดับขยะ’ ภายในปี 2060 เพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ประมาณ 1 ใน 3 หากไม่มีการดำเนินมาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชากรสูงอายุ

 

ประมาณการของ S&P ยังระบุว่า หากไม่มีการปฏิรูปนโยบายการคลังที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ อาจทำให้รัฐบาลขาดดุล 9.1% ของ GDP ภายในปี 2060 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 2.4% ในปี 2025 โดย S&P ยังคาดการณ์ด้วยว่า ต้นทุนเงินบำนาญจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 4.5% ของ GDP ภายในปี 2060 และแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ 

 

“ยิ่งรัฐบาลชะลอการดำเนินการออกไปนานเท่าไร ก็ยิ่งเจ็บปวดมากขึ้นเท่านั้น” Parker กล่าว พร้อมเตือนอีกว่า หลายประเทศในเอเชียมีแนวโน้มเผชิญสถานการณ์ที่เลวร้ายขึ้น เนื่องจากแรงกดดันด้านประชากรศาสตร์ โดยเฉพาะ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising