การยอมรับในระดับโลกของกีฬาอีสปอร์ตได้จุดระเบิดให้เกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในเกาหลีใต้ ในฐานะเกมเมอร์ชื่อดัง อีซังฮยอก ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนหลายล้านคนในชื่อ Faker มีโอกาสได้รับการยกเว้นจากการรับราชการทหารภาคบังคับ ด้วยการคว้าเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19
อุตสาหกรรมอีสปอร์ต (E-Sport) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าเพลงและภาพยนตร์รวมกัน เกาหลีใต้ส่งทีมนักเล่นเกม 16 คนลงแข่งขันใน 7 รายการที่ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19
Faker ไม่ใช่ผู้เล่นหน้าใหม่ในเอเชียนเกมส์ ก่อนหน้านี้เขาเคยพาเกาหลีใต้คว้าเหรียญเงินในปี 2018 ซึ่งหลังจากที่เขาหายจากอาการบาดเจ็บที่แขน เขาก็มุ่งมั่นที่จะทำให้เป็นเหรียญทอง
“ครั้งนี้ผมจะโชว์ฟอร์มให้ดีที่สุด ก่อนหน้านี้เราแพ้จีน ดังนั้นผมจะเตรียมตัวให้รอบคอบยิ่งขึ้น” เขากล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- BTS ครองตำแหน่งบอยแบนด์ K-Pop ที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุดอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม
- กระแส ‘BTS Bump’ ที่ทำให้ธุรกิจของเกาหลีใต้ ‘กล้า’ ที่จะกระโดดเข้าไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาอย่างฉุดไม่อยู่!
- จาก BTS ถึง BLACKPINK การเพิ่มขึ้นมูลค่า 1.87 แสนล้านบาทในหุ้น K-Pop…
เกาหลีใต้ ซึ่งในทางเทคนิคแล้วยังคงอยู่ในภาวะทำสงครามกับเกาหลีเหนือ ยังคงรักษากฎเกณฑ์การเกณฑ์ทหารที่เข้มงวด สำหรับผู้ชายชาวเกาหลีใต้ทุกคนก่อนอายุครบ 28 ปี จะต้องเข้ารับราชการทหารตามปกติเป็นเวลา 18-21 เดือน
แต่นักกีฬาสามารถได้รับการยกเว้นได้จากการได้รับเหรียญจากกีฬาโอลิมปิกหรือเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ข้อกำหนดนี้ได้รับการยืนยันสำหรับนักกีฬาอีสปอร์ต โดยกระทรวงกลาโหมของเกาหลีใต้ในปี 2020 โดยอ้างถึงพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ก.) บังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรับราชการทหาร นอกจากนี้ศิลปินและนักดนตรีที่ชนะการแข่งขันระดับนานาชาติก็มีสิทธิได้รับการยกเว้นเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงกันทั่วประเทศ เมื่อศิลปิน K-Pop ระดับโลกอย่าง BTS ซึ่งขยายภาพลักษณ์ของเกาหลีใต้ไปทั่วโลกและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ กำลังรับราชการทหาร ทำไมนักกีฬาอีสปอร์ตจึงได้รับการยกเว้น?
ผลสำรวจในปี 2022 ระบุว่า ชาวเกาหลีใต้มากกว่า 60% เชื่อว่า BTS สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และมีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้มีการเลื่อนเวลาออกไปได้ อย่างไรก็ตาม ภายในเดือนสิงหาคมสมาชิก BTS จำนวน 3 คนได้เข้ากรมแล้ว โดยมีแผนจะกลับมาขึ้นเวทีในปี 2025
ความแตกต่างระหว่างการออกแรงทางกายภาพของนักกีฬาแบบดั้งเดิมกับลักษณะการอยู่ประจำที่ส่วนใหญ่ของอีสปอร์ต ได้กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งทำให้เกิดความคิดเห็นของสาธารณชนที่หลากหลาย
คิมมยองวอน ผู้อยู่อาศัยในกรุงโซลแสดงความกังขาว่า “ฟังดูแปลกที่คุณสามารถได้รับการยกเว้น (การเป็นทหาร) จากการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์และเล่นเกม”
หากนักกีฬาอีสปอร์ตของเกาหลีใต้สามารถคว้าเหรียญทองได้ จะได้รับการอัดฉีดเงินกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 55 ล้านบาท แต่เหรียญทองมีความหมายมากกว่าแค่ชื่อเสียง เพราะเป็นตั๋วสู่อาชีพที่ร่ำรวยต่อไป
แต่ในขณะที่ชุมชนเกมให้กำลังใจ การถกเถียงเกี่ยวกับการยกเว้นทางทหาร ความเป็นธรรม และผลกระทบของโลกกีฬา รวมทั้งความบันเทิงที่เปลี่ยนแปลงไป ยังคงสะท้อนไปทั่วเกาหลีใต้
อ้างอิง: