×

บริหารภาษีโค้งสุดท้าย เสริมภูมิคุ้มกันให้แผนออมระยะยาวด้วย ‘กองทุนหุ้นไทย’

09.12.2022
  • LOADING...

ปี 2022 ที่กำลังจะจบลงนี้ เต็มไปด้วยมรสุมความเสี่ยงที่ถาโถมสู่ตลาดทุนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผลพวงต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด ที่ลามสู่ภาคเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกมาจนถึงปีนี้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเซอร์ไพรส์ที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนอย่างสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ลุกลามมาสู่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าทางเกษตร และสุดท้ายคือการเกิดภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่งแรงกดดันให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ พากันใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อปราบเงินเฟ้อ 

 

ผลกระทบจากปัจจัยลบดังที่กล่าวข้างต้น ได้กดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างมากถึง 15-30% มากกว่าปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตโควิดเป็นครั้งแรกเสียอีก โดยตลาดหุ้นที่เราคุ้ยเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสหรัฐฯ หุ้นยุโรป หุ้นจีน หุ้นเวียดนาม หรือแม้แต่การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างกองรีท (REIT) ก็ให้ผลตอบแทนที่ย่ำแย่เช่นกัน 


บทความที่เกี่ยวข้อง


แต่แม้ราคาตลาดของแต่ละหลักทรัพย์จะปรับลดลงจนน่าสนใจ สิ่งสำคัญที่ผู้ลงทุนไม่ควรลืมก็คือ สภาวการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นนี้ยังถือว่าอยู่ท่ามกลางความท้าทาย ดังนั้นการสแกนหาตลาดสินทรัพย์ลงทุนที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน หรือช่วยป้องกันความเสี่ยง จึงเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับสภาวการณ์ปัจจุบัน

 

ตอนนี้มีตลาดไหนที่ Play Safe ได้บ้าง? 

ตลาดหุ้นโลก หรือหุ้นต่างประเทศ อาจไม่อยู่ในสถานะที่จะเรียกว่าเป็นตลาดที่ปลอดภัยได้ในเวลานี้ และแม้ว่าการลงทุนหุ้นต่างประเทศจะเคยให้ผลกำไรที่ดีใน 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่การปรับตัวลงอย่างหนักในปีนี้ทำให้ผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยตกใจกับความผันผวนในระดับมากกว่า +-20% ต่อปี 

 

ปรากฏการณ์ที่ดัชนีผันผวนอย่างมาก ทำให้มีผู้ลงทุนจำนวนมากเริ่มมองหาการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่านี้ และมีโอกาสฟื้นตัวได้อย่างดีในยุคหลังโควิด 

 

ซึ่งตลาดหุ้นไทยเป็นหนึ่งในคำตอบที่เด่นชัดขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัวไปสู่จุดก่อนโควิด โดยรอบวัฏจักรของเศรษฐกิจไทยเทียบกับเศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ ของโลกในปัจจุบันนั้นค่อนข้างแตกต่าง สะท้อนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจดังนี้ 

 

1. เศรษฐกิจสหรัฐฯ 

สหรัฐอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยตลอดปี 2022 เศรษฐกิจประเทศมหาอำนาจแห่งนี้เผชิญปัจจัยเสี่ยงค่อนข้างมาก และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน 2H23 เพราะพิษเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วและแรงตลอดปี 2022 

 

2. เศรษฐกิจจีน

ประเทศจีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2020-2022 เศรษฐกิจจีนต้องซับแรงกดดันจากปัจจัยเสี่ยงด้านการแพร่ระบาดของโควิด, การจัดระเบียบด้านกฎระเบียบของภาคธุรกิจต่างๆ ตลอดจนการประกาศนโยบาย Zero-COVID เพื่อขจัดโรคระบาดให้หมดไปจากประเทศอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นกลับลุกลามมาสร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจให้แก่จีนอย่างมาก ทำให้การลงทุนในตลาดจีนยังมีความเสี่ยงอยู่มาก 

 

3. เศรษฐกิจยุโรป

เศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกคือยุโรป ซึ่งสหภาพยุโรปเจอพิษสงครามรัสเซียยูเครน วิกฤตราคาพลังงานโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ และอยู่ในภาวะเงินเฟ้อรุนแรงเช่นกัน 

 

จากการเปรียบเทียบรอบวัฏจักรทางเศรษฐกิจ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ขาลง ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนนัก ตลาดหุ้นมีแนวโน้มจะผันผวนสูง ซึ่งไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความผันผวนต่ำ

 

ดังนั้นแล้ว ตลาดหุ้นไทยจึงเป็นตัวเลือกการลงทุนที่สมเหตุสมผลที่สุดในเวลานี้ ด้วยปัจจัยบวกและความโดดเด่นดังนี้ 

 

เปิด 5 เหตุผลที่ทำให้หุ้นไทยน่าสนใจลงทุน

 

1. ตลาดหุ้นไทยมักจะฟื้นตัวจากวิกฤตได้

ท่ามกลางวิกฤตใหญ่ระดับโลกที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้น ทั้งวิกฤตสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปี 1990, วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1997, วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Subprime Crisis) ปี 2008 หรือกระทั่งวิกฤตภายในประเทศไทยอย่างมหาอุทกภัยปี 2011 และวิกฤตการเมือง ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถรอดพ้นหุบเหวมาได้ในที่สุด โดยแต่ละวิกฤต หุ้นไทยจะตกต่ำทั้งตลาดเป็นระยะเวลาหนึ่ง และหลังจากผลกระทบจบลง ดัชนีตลาดหุ้นไทยและราคาหุ้นพื้นฐานดีส่วนใหญ่ก็มักจะฟื้นขึ้นกลับมาสู่จุดเดิม และเติบโตต่อไปได้ทุกครั้ง 

 

2. มีสัดส่วนหุ้นขนาดใหญ่จำนวนมาก ทำให้ผลประกอบการเติบโตแน่นอน

โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและตลอดเวลา ทำให้ภาคธุรกิจจำต้องปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากเป็นบริษัทขนาดเล็กก็อาจรับความเสี่ยงในมิติได้ไม่ดีนัก และเมื่อพิจารณาขนาดของบริษัทในตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มดัชนี SET50 และ SET100 จะพบว่ามีความเป็นหุ้นขนาดใหญ่ Big Cap อยู่ในธุรกิจที่จำเป็น ไม่ได้ถูกดิสรัปต์ได้ง่ายๆ ทั้งยังมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันระยะยาวที่มาจากการผูกขาดและกินขาด เมื่อมองด้วยเกณฑ์เหล่านี้ ตลาดหุ้นไทยยังคงน่าลงทุนอยู่ไม่น้อย และสามารถเป็นความหวังในการออมระยะยาวได้ดี

 

3. มีภาคการท่องเที่ยวเป็นเทรนด์ใหญ่ในการฟื้นเศรษฐกิจ

ประเทศไทยอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจที่กำลังจะฟื้นตัว จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก แม้ว่าภาคท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้นทั่วโลก แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว สัดส่วนต่อ GDP ของภาคท่องเที่ยวไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆ มาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาคท่องเที่ยวมี Ecosystems ที่ใหญ่มาก สามารถส่งต่อกำลังซื้อและการเติบโตไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ภาคบริการและภาคการบริโภคในประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อน GDP ไทย และยังมีแนวโน้มที่เป็นบวกจากการท่องเที่ยวได้อีกหลายปี

 

4. ผู้ลงทุนไทยจะได้เปรียบในตลาดหุ้นไทย 

ตลาดหุ้นคือสินทรัพย์เสี่ยงสูง ดังนั้นการลงทุนในตลาดหุ้นจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนได้เลย โดยไม่ว่าผู้ลงทุนจะปักเป้าหมายลงทุนระยะยาวเพียงใด ระหว่างทางก็จะถูกรบกวนวิถีลงทุนอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ลงทุนไทยลงทุนในตลาดหุ้นไทย ความได้เปรียบด้านความเข้าใจตลาดและธุรกิจจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทันที 

 

ข้อได้เปรียบของการลงทุนในตลาดที่เราคุ้นเคย จะช่วยให้ผู้ลงทุนตัดสินใจได้ดีขึ้น ด้วยโอกาสที่เอื้อให้เข้าถึงข้อมูลทำได้มากกว่าและแม่นยำกว่า 

 

5. หุ้นไทยส่วนใหญ่ปรับตัวและสร้าง New S-Curve เสมอ 

บจ.ไทย โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่มีปัจจัยเชิงคุณภาพ คือการปรับตัวและการสร้างการเติบโตใหม่ New S-Curve เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการออกทำธุรกิจต่างประเทศ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม เช่น โรงไฟฟ้าหลายแห่งขยายกำลังการผลิตในต่างประเทศ ธุรกิจอาหารลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศ, การกระโจนสู่โอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ลงทุนในอุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีการเงิน, การเปิดรับพันธมิตรเพื่อ Scale Up ธุรกิจ ผ่านการ M&A และซื้อกิจการในประเทศ 

 

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยมีหุ้นแข็งแกร่งที่ทำธุรกิจกึ่งผูกขาดในตลาดคู่แข่งน้อยรายอยู่หลายตัว กิจการเหล่านี้มักอยู่ใน SET100 ในอนาคตอาจจะขยายธุรกิจในแนวทางข้างต้น หรือหากเริ่มอิ่มตัวแล้วก็มีแนวโน้มที่จะมีเงินสดเหลือมาก และจะจ่ายปันผลเพิ่มขึ้น

 

เปิดชื่อ ‘4 กองทุนหุ้นไทย’ ที่น่าสนใจลงทุนระยะยาว

 

1. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว เซ็ท อินเด็กซ์ (ชนิดเพื่อการออม) หรือ SCBLTSET-SSF

กองทุนนี้มีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ดัชนีอ้างอิง SET) ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้กลยุทธ์การบริหารเชิงรับ (Passive Fund Strategy)

 

เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป

 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 22.75% 2. กลุ่มพาณิชย์ 10.05% 3. กลุ่มธนาคาร 9.77% 4. กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 8.29% และ 5. กลุ่ม ICT 7.40% 

 

ลงทุนหุ้นไทยที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพและเป็นผู้นำตลาด เช่น AOT, PTT, DELTA, PTTEP และ GULF 

 

2. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (ชนิดเพื่อการออม) หรือ SCBDV-SSF

กองทุนเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ใช้กลยุทธ์การบริหาร Active Management เพื่อมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด

 

คัดเลือกลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุด และสอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนในขณะนั้น ซึ่งจะใส่น้ำหนักการลงทุนมากน้อยตามความน่าสนใจของหุ้นนั้น โดยกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30 ตัว

 

เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป

 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 21.88% 2. กลุ่มพาณิชย์ 12.29% 3. กลุ่มธนาคาร 11.12% 4. กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 8.40% และ 5. กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 7.41%

 

ลงทุนหุ้นไทยที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพและเป็นผู้นำตลาด เช่น AOT, PTT, GULF, ADVANC และ BDMS 

 

3. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (ชนิดเพื่อการออม) หรือ SCBLT1-SSF

กองทุนผสมในประเทศโดยเน้นการลงทุนในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 65-70% ส่วนที่เหลือกระจายลงทุนในตราสารหนี้

 

กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infra) ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ โดยการลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายการลงทุนของกองทุน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด 

 

เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่รับความผันผวนระหว่างทางได้ และต้องการเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนส่วนใหญ่ (ประมาณ 70%) ในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF

 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 19.01% 2. กลุ่มธนาคาร 10.21% 3. กลุ่มพาณิชย์ 8.63% 4. กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 7.48% และ 5. กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 6.73%

 

ทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ AOT, GULF, KBANK, JMT และ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

 

4. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ SCBRM4

กองทุนลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง SET50 

 

เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน RMF สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป

 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 23.09% 2. กลุ่มธนาคาร 13.20% 3. กลุ่มพาณิชย์ 10.71% 4. กลุ่ม ICT 10.17% และ 5. กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 7.44%

 

ลงทุนหุ้นไทยที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพและเป็นผู้นำตลาด เช่น AOT, GULF, BBL, PTT และ ADVANC 

 

เข้าถึงทุกการลงทุนได้ง่ายด้วย SCB Easy 

สำหรับผู้สนใจลงทุนใน SCBLTSET-SSF, SCBDV-SSF, SCBLT1-SSF และ SCBRM4 สามารถลงได้ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App
  2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App
  3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

SCBLTSET-SSF

https://www.scbam.com/th/fund/ssf/fund-information/scbltset-ssf

SCBDV-SSF https://www.scbam.com/th/fund/tax-ssf/fund-information/scbdv-ssf

SCBLT1-SSF https://www.scbam.com/th/fund/reduce-taxes/fund-information/scblt1-ssf

SCBRM4 https://www.scbam.com/th/fund/rmf-domestic-investment/fund-information/scbrm4

 

คำเตือน:

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF / SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • กองทุนบางกองทุนมิได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนรวมถึงบางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ดังนั้นควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนผ่าน SCB Easy App
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X