สาเกแสนอร่อยที่ให้ความช่วยเหลือแก่เมืองเล็กๆ เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การหยิบดื่ม
ด้วยเหตุนี้เอง Muji จึงวางขาย ‘นิฮอนชู’ (Nihonshu) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นสำหรับสิ่งที่เรียกว่า ‘สาเก’ ในภาษาอังกฤษ (ในภาษาญี่ปุ่นยุคใหม่ สาเกเป็นศัพท์ที่เรียกได้ทั้งหมดสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)
ระดับ Muji แล้วจะวางขายสินค้าทั่วไปได้อย่างไร เบื้องหลังของ ‘นิฮอนชู’ จึงมาพร้อมประวัติศาสตร์ เพราะกลั่นโดย ‘มัตสึโนะ ชูโซโจ’ โรงเบียร์ในจังหวัดนีงาตะ ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 120 ปี โดยนิฮอนชูนี้ใช้ข้าวโคชิฮิคาริที่ปลูกในเขตมัตสึไดของเมืองโทคามาจิ นีงาตะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เรียบง่าย และไม่มียี่ห้อ ‘What is MUJI?’ นิทรรศการป๊อปอัพของมูจิ ที่เล่าแนวคิดการก้าวสู่ Sustainability Brand อย่างเต็มตัว
- ขายอาหารสิกำไรดี! Muji เตรียมเพิ่ม ‘อาหารแช่แข็ง’ ที่พัฒนาขึ้นเอง รวมถึงวางขาย ‘ผักสด’ หลังพบอาหารเป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นกำไร
ถนนบนภูเขาของมัตสึไดสูงชันและแคบเกินไปสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรขนาดใหญ่ที่จะข้ามผ่าน ซึ่งหมายความว่าการทำฟาร์มส่วนใหญ่ต้องทำด้วยมือ เมื่อรวมกับประชากรสูงอายุและการปลูกข้าวไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเกษตรกรของมัตสึได ดังนั้นนิฮอนชูนี้จึงเป็นสิ่งที่เข้ามาสนับสนุนสินค้าในท้องถิ่นนั่นเอง
ที่น่าสนใจคือนอกจากใช้ข้าวมัตสึไดแล้ว ส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตคือการนำน้ำที่ละลายจากหิมะในฤดูหนาวของนีงาตะมาเป็นส่วนผสมอีกด้วย
นิฮอนชูของ Muji วางขายในญี่ปุ่นที่สาขา Ginza, Tokyo Ariake, Shin Yurigaoka Opa, Naoetsu, Grand Front Osaka, Namba, Kyoto Yamashina, Canal City Hakata และ Share Star Hakodate ในราคา 1,800 เยน หรือ 475 บาท สำหรับขวดขนาด 720 มิลลิลิตร
เสียดายที่นิฮอนชูของ Muji ไม่ได้วางขายในไทย ไม่อย่างนั้นจะลองซื้อมาจิบเพื่อดื่มด่ำรสชาติที่มาพร้อมกับเบื้องหลังที่ไม่ธรรมดาเสียหน่อย!
อ้างอิง: