Nikkei สำรวจและจัดอันดับประเทศและดินแดนกว่า 120 แห่งทั่วโลก ด้วยดัชนี COVID-19 Recovery Index เพื่อวัดขีดความสามารถใน 1. การบริหารจัดการวิกฤตโรคระบาด 2. การกระจายวัคซีน และ 3. ความสามารถในการเคลื่อนตัวของสังคม ในช่วงปลายเดือนของทุกๆ เดือน คำนวณคะแนนจาก 0-90 ซึ่งวัดจาก 3 หมวดหลักข้างต้น โดยมีดัชนีรวม 9 หมวดย่อย เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อต่อประชากร การตรวจเชื้อต่อจำนวนเคส ปริมาณวัคซีนรวมที่ได้รับต่อหัว สัดส่วนของประชาชนที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส เป็นต้น
ผลจัดอันดับล่าสุด ประจำเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า จีนมีดัชนีฟื้นตัวจากโควิดสูงสุดในการจัดอันดับครั้งนี้ (74 คะแนน) ตามมาด้วยนิวซีแลนด์ (69.5 คะแนน) และฮังการี (69 คะแนน) ขณะที่ไทยและเวียดนามมีคะแนนรั้งท้าย เป็นประเทศที่มีดัชนีฟื้นตัวจากโควิดต่ำสุด (22 คะแนน) ซึ่งได้อันดับและคะแนนลดต่ำลงจากการจัดอันดับครั้งก่อนหน้า ที่เคยอยู่อันดับ 118 (26 คะแนน)
โดยประเทศหรือดินแดนที่ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสูง สะท้อนว่าประเทศหรือดินแดนนั้นๆ ใกล้ที่จะเข้าสู่ภาวะฟื้นตัวแล้ว ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่อยู่ในระดับต่ำ มีอัตราการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจกว่า และ/หรือมีการผ่อนคลายมาตรการรับมือโควิด อาทิ การเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดน้อยลง ซึ่งในขณะนี้หลายประเทศในแถบอาเซียนต่างยังคงได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในช่วงท้ายตาราง หลังจากเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักที่สร้างความท้าทายให้กับระบบสาธารณสุขและการบริหารจัดการวิกฤตเป็นอย่างมาก
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- สำรวจแนวทางการใช้วัคซีน mRNA เป็น ‘วัคซีนเข็มที่ 3’ ในประเทศที่ใช้วัคซีน Sinovac
- สำรวจ ‘วัคซีนเข็มกระตุ้น’ หรือ ‘วัคซีนเข็มที่ 3’ ที่น่าสนใจในประชาคมโลก
- เปรียบเทียบประสิทธิภาพล่าสุด วัคซีน Sinovac vs. Pfizer-BioNTech ในชิลี
- โควิด-19 กลายพันธ์ุสายพันธ์ุต่างๆ มีชื่อเรียกใหม่ว่าอย่างไร
- สำรวจราคาวัคซีนต้านโควิด-19 ในประชาคมโลก โดสละเท่าไร
- ผลข้างเคียงวัคซีนต้านโควิด-19 ในประชาคมโลก อาการเป็นอย่างไรบ้าง
- เช็กประสิทธิภาพวัคซีนต้านโควิด-19 ล่าสุด
ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา
อ้างอิง: