อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันค้นหาร้านอาหารที่คนใช้มากที่สุด ‘ความดีสะสม’ -คำนี้หมายถึงอะไร ตอนนี้ ‘วงใน’ (Wongnai) แตกไลน์ไปทำอะไรอีกบ้าง วัฒนธรรมองค์กรข้างในเจ๋งแค่ไหน และทำไมถึงอยากเข้าตลาดหุ้นใน 3 ปี
เคน นครินทร์ คุยกับ ยอด ชินสุภัคกุล ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Wongnai
00.59
เหตุผลที่อยากคุยกับคุณยอดในครั้งนี้มาจากจดหมายที่คุณยอดเขียนถึงพนักงานทุกคนในบริษัทในโอกาสครบรอบ 7 ปี เนื้อความว่าด้วยการเติบโตของบริษัทและสิ่งที่เขาในฐานะซีอีโออยากโฟกัส 4 ข้อ นั่นคือ หนึ่ง Growth (สร้างความเติบโตของ user) สอง Long-term Strategy (สร้างความดีสะสมที่สอดคล้องกับตัวตนของเรา) สาม IPO (เข้าตลาดหุ้นภายใน 3 ปี) และสี่ People & Culture (สร้างวัฒนธรรมองค์กร) มีหลายประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจ และอยากชวนคุยต่อยอดในวันนี้
01.57
เหตุผลที่เขียนจดหมายถึงพนักงานทุกคน
- ปกติวงในจะมีประชุมใหญ่ปีละ 2 ครั้งในช่วงต้นปีและกลางปี ต้นปีคือ Insider’s day รวมพนักงานจากทุกจังหวัดทั่วประเทศมาประชุมรวมกัน
- ปีนี้พนักงานเพิ่มขึ้นเยอะมาก สูงไปถึง 165 คน บวกเด็กฝึกงานอีก 20 คน รวมเป็นเกือบ 200 ชีวิต
- คุณยอดต้องการสื่อสารวิชันของตัวเองให้พนักงานทุกคนได้รู้ เป็นเรื่องสำคัญของบริษัท พอพูดพรีเซนต์จบ พนักงานเห็นว่าดี อยากให้ทุกคนได้รับทราบร่วมกัน เลยต้องเขียนอีกรอบพร้อมส่งไปหาทุกคน แล้วมีน้องอีกคนพูดว่าแมสเสจมันกว้าง มันพูดถึงภาพรวมประเทศไทย เลยให้เขียนลงโซเชียลดีกว่า
03.56
อะไรคือสิ่งที่ทำให้มาถึงทุกวันนี้
- แพลตฟอร์มมันมีประโยชน์กับคนใช้งานทุกคน ทำให้ระบบค้นหามันดี มีรีวิวจากผู้ใช้จริง พยายามพัฒนาสิ่งนี้มาเกือบ 7 ปี ให้รีวิวมันมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มากขึ้น
- ในการทำให้ผู้ใช้มากขึ้นก็ต้องทำระบบให้ดี ให้เสิร์ชเจอง่าย มีอัลกอริทึมที่ดี ข้อมูลสมเหตุสมผล เคลียร์ข้อมูลเก่าๆ ที่ไม่มีแล้วเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ทำทุกอย่างให้ประสบการณ์การใช้งานมันดี คุณยอดเรียกสิ่งนี้ว่า ‘ความดีสะสม’ คือสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้งาน พอมีความดีสะสมมากขึ้น มีชื่อเสียง คนก็อยากร่วมงาน รายได้ต่างๆ ก็จะตามเข้ามา
- ทุกวันนี้มีลูกค้าและเอเจนซีติดต่อเข้ามาประมาณ 300 ครั้งต่อสัปดาห์
- โปรดักต์ของวงในไม่ใช่แค่แอปฯ หรือเว็บไซต์ แต่มันคือประสบการณ์ทั้งหมดตั้งแต่เปิดเข้ามาเลย
- user คือสิ่งที่สำคัญมาก อัตราการเติบโตของรายได้ ขึ้นอยู่กับ user ดังนั้นการทำความดีสะสมให้ user จึงสำคัญมาก
- ไม่ใช่แค่มีเดียแบบ UGC (User Generated Content) แต่ทุกธุรกิจต้องมีคุณค่าให้ในตัวเอง เช่น น้ำดื่มที่เป็นน้ำแร่ ต้องสร้างคุณค่าให้คนซื้อเชื่อว่า มันดี มันให้ความรู้สึกพิเศษ
08.27
ปัญหาและความผิดพลาด
คุณยอดแบ่งปัญหาเป็น 2 แบบคือ ปัญหาที่ไม่ดี (bad problems) เช่น ในปี 2012 ไม่มีคนใช้เว็บไซต์ เปิดมา 2 ปีแล้วมีสมาชิกแค่ 30,000 คน ซึ่งน้อยกว่าปัจจุบันร้อยเท่า คนจำนวนเท่านี้ขายโฆษณาไม่ได้เลย เกิดความเครียด อายเพื่อน เงินไม่มี ขาดทุน 5-6 ล้าน หรือมีคนฟ้อง ถึงแม้เราจะมีเงื่อนไขตั้งไว้แล้ว แต่ก็ยังมีคนฟ้อง ห้ามไม่ให้เอารูปไปใช้ ร้านอาหารโทรมาด่าว่ารีวิวไม่ดี ไม่ใช่ความจริง สิ่งเหล่านี้ก็บั่นทอนจิตใจในระยะสั้น แต่สุดท้ายก็คิดได้ว่ามันคือปัญหาที่ดี (good problems) เพราะเรามีคนใช้เยอะมากจนคนเหล่านี้ต้องแคร์ สร้างอิมแพกต์ได้ ดังนั้นเราก็สามารถสู้กับปัญหาได้หมด
10.56
จุดเปลี่ยนและวิธีคิดในการมองปัญหา
- ความอึด อดทน ไม่ยอมแพ้ คุณยอดและทีมงานไม่เคยมาบ่นว่าจะเลิกดีไหม จะทำต่อดีไหม มีแต่พูดกันว่าจะทำอะไรต่อ ขั้นต่อไปคืออะไร ฟีเจอร์อะไรที่ทำให้คนเข้ามาใช้เยอะขึ้น เรามีแต่เพิ่มสิ่งที่อยากจะทำ ตอนนั้นมีสิ่งที่อยากจะทำเกินหนึ่งพันอย่าง เปลี่ยนจากพลังลบเป็นพลังบวก
- โชคและโอกาสก็มีส่วน พอสมาร์ทโฟนเข้ามา อินเทอร์เน็ตเข้ามา ทำให้เซอร์วิสเข้าถึงคนได้เยอะขึ้นมาก แต่เราเองก็ทำอะไรเยอะเหมือนกันก่อนจะถึงจังหวะนั้น เพราะตอนโอกาสมา โปรดักต์เราพร้อมแล้ว มันก็ยิ่งไปได้เร็วขึ้น
“เว็บไซต์แบบ UGC (User Generated Content) มันมี positive network effect ยิ่งมีคนใช้เยอะ ยิ่งมีรีวิวเยอะ เว็บไซต์ยิ่งมีประโยชน์ มันก็เลยเป็นตลาดที่เรียกว่า winner takes all คือยิ่งมีคนใช้เยอะที่สุดก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อันดับสอง สาม ก็จะมีโอกาสขึ้นมาได้น้อย”
16.08
แนวคิดในการแตกไลน์
- เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อวงใน คิดเลยว่าไม่ควรตั้งชื่อที่สื่อถึงอาหารเกินไปเพราะในอนาคตอาจจะมีการรีวิวอย่างอื่นด้วย อย่างเว็บไซต์ที่เป็นแรงบันดาลใจ อย่าง Tripadvisor หรือ Yelp เขารีวิวหลายอย่าง อาหาร คลินิก ร้านตัดขนแมว มีหมดเลย ก็มองว่าอีกหน่อยจะทำแบบนี้บ้าง
- มองจากโอกาสที่มีตลาด คู่แข่ง การเติบโต คุณยอดเห็นว่า beauty กับ travel น่าสนใจ travel มันใหญ่กว่าเยอะเลย แต่ไม่ได้โตเร็วเท่า beauty แถมคู่แข่งของ travel เยอะมาก เป็น red ocean ฉลามเยอะ กลับมาที่ความดีสะสม เว็บไซต์ที่ดีอยู่แล้วเยอะเลย เลยตัดสินใจไปที่ beauty
- ส่วน cooking มีลูกค้าขอมาว่า วงในทำสูตรอาหารด้วยสิ พอลองทำ ปรากฏว่ามันฮิตแบบล้านวิวอย่างต่อเนื่อง ก็เริ่มมารีเสิร์ชอย่างจริงจัง ถึงรู้ว่าคนเสิร์ชหาสูตรทำอาหารเยอะมาก เมนูข้าวมันไก่ ผัดไทย มันยังไม่มีที่ดีๆ คุณภาพก็ยังไม่ได้ถูกจัดอันดับขนาดนั้น
- เรื่อง Line Man ต้องยกความดีให้ Line โอกาสนี้พลาดไม่ได้ ธุรกิจส่งอาหารยังน้อยอยู่มาก ถือเป็นการตัดสินใจที่ดีมาก ผลตอบรับดีมาก
- Alipay คนจีนเข้ามาเมืองไทยเยอะ เรื่องการใช้โมบายล์เพย์เมนต์น่าจะเข้าไทยในไม่ช้า เพราะจีนนำไปก่อนแล้ว
24.08
เทคนิคทำให้จำนวนผู้ใช้เติบโต
- การบริหารและตั้งเป้าหมายให้ทีม คุณยอดเป็นวิศวกรมาก่อน จะบ้าเรื่องตัวเลข ทุกอย่างที่ทำจะพยายามวัดอิมแพกต์
- คุณยอดเรียกทีมมาร์เก็ตติ้งว่าทีม Growth สมมติทีมจ่ายเงินไปเท่านี้ แล้วผลมันกลับมาเท่าไร ต้องวัดออกมาให้ได้ เราไม่ได้อยากเป็นการตลาดทั่วไปที่ทำมาร์เก็ตติ้ง ทำแคมเปญ ทำ commercial ad สิ่งที่ทำน่าจะ contribute ทุก growth ถ้า growth คือผู้ใช้ คือรีวิว สิ่งที่คุณทำ กิจกรรมที่คุณสร้าง ควรจะตอบแทนกลับมาทุก growth อะไรที่ทำแล้วฟุ้งเฟ้อ ทำแล้วไม่รู้ได้อะไรหรือเปล่า เราก็จะทำให้น้อยที่สุด
25.45
วิธีการตั้งเป้ากับทีม Growth
ใช้ OKR (Objective and Key Result) ซึ่งตั้งเป็นไตรมาส อย่างทีม Growth วัดผลว่าแต่ละอันต้องโตเป็นเท่าไร ซึ่งถ้าถามว่าแต่ละอันมันทำให้พนักงานกดดันไหม เราตั้งใจให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น เพราะเวลาเรารับคนเข้ามา เราชอบคนที่อยากทำอะไรให้มันเกิดอิมแพกต์อยู่แล้ว ชอบในการถูกวัดผล ไม่งั้นเขาก็จะรับไม่ได้ ดังนั้นการวัดผลก็เป็นคีย์อีกอย่างหนึ่งของวงใน
26.35
รับคนเข้าทีมอย่างไร
ดูว่าเขาเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรของเรา 4 ข้อนี้ไหม
Impact ชอบทำอะไรให้มันเกิดอิมแพกต์ รับความกดดันได้ ชอบทำงานใหญ่ สามารถวัดผลได้ ดังนั้นคำถามในการประชุม เช่น งานที่คุณทำแล้วภาคภูมิใจที่สุดคืออะไร ถ้าตอบสิ่งที่วัดผลได้ก็จะดี แต่ถ้าแค่ชอบก็ไม่ค่อยเข้าทางเท่าไร พูดถึงเรื่องการวัดผลมากกว่ากระบวนการทำ
Passion เชื่อมั่นในเป้าหมายของบริษัทและสิ่งที่ทำ อาจจะให้เขาพูดถึงสิ่งที่ชอบ เช่น งานอดิเรกของเขาคืออะไร แล้วฟังคำตอบว่าเขาลงลึกแค่ไหนในสิ่งที่ชอบ หรือแค่ตื้นเขิน
Speed ความเร็วในการทำงาน วงจรในการทำงาน ไม่ใช่แค่เร็ว แต่ต้องสามารถปรับปรุงผลงานตัวเองในทุกๆ วงจรได้ เช่น โปรแกรมเมอร์ 1 สัปดาห์ต้องมีผลงานใหม่ออกมาเพื่อที่จะได้ดูผล หรืออย่างบางคนบอกว่าเขียน 3 ตัวต่อสัปดาห์ ในขณะที่คนอื่นได้ 7 ตัว เขาจะทำยังไง
Flexible ความยืดหยุ่นของ job description โยกย้ายเขาไปตำแหน่งอื่น เขาพร้อมปรับตัวไหม หรือยึดติด
32.16
หน้าที่ของซีอีโอ
- ช่วงแรกๆ ต้องเข้าไปยุ่งในทุกๆ อย่าง การออกแบบโปรดักต์ การตลาด ทำบัญชี การจ้างคน ตอนนั้นมีพนักงานประมาณ 30 คน
- ยุคที่สอง เริ่มดีลกับภายนอกมากขึ้น หาทุนเพิ่ม ดีลพาร์ตเนอร์ชิปใหญ่ๆ เดย์ทูเดย์โอเปอเรชัน เริ่มมีการจ้าง C-level HR มาแบ่งเบาภาระ
- พอยุคที่สาม สื่อสารวิชัน สร้างคัลเจอร์ กลายเป็นว่าแมสเสจเราสำคัญมาก เป็นสิ่งที่คนยึดถือ ส่วนการสร้างคัลเจอร์เป็นตัวกำหนดว่าเขาควรทำอะไร อย่างไร เป็นตัวอย่างให้เขา สร้างค่านิยมส่งผ่านไปสู่พนักงานใหม่ๆ
“ถ้าวันนี้คุณทำอะไรที่มันอิมแพกต์ วันต่อมาคุณอาจได้ซองอิมแพกต์จากผมก็ได้ เป็นเงินสดเลย หรืออย่างบางคนทำงานได้ยืดหยุ่นมาก แม้บริษัทเราไม่มีโอที แต่คนนี้จะได้ซอง flexible ไป”
37.09
วัฒนธรรมองค์กร
ตอนปลายปีจะมีการประเมินพนักงาน ของเราก็จะมี core value rating ด้วย คือให้คะแนนเขาผ่านทัศนคติ สมมติว่าคนคนนี้อาจจะทำงานธรรมดา แต่ระหว่างปีเขาทำงานอะไรได้เจ๋งมาก เขาอาจจะได้ core value rating สูง ซึ่งสุดท้ายก็มีผลต่อโบนัสของเขา
“เราใช้ core value rating ในบทสนทนาทุกวัน มันมีประโยคที่คนบอกว่า บทสวดมนต์ พูดทุกวันยังไม่เสื่อมค่าลงเลย core value ก็เหมือนกัน มันใช้ได้ เช่น เวลามีคนบอกว่าอาทิตย์หน้าไม่ว่างประชุม คนปกติอาจจะเลื่อนออก แต่ผมเลื่อนเข้าเลย สปีด”
39.47
วิชันในอนาคต
- เราอยากเป็น super lifestyle platform ที่เชื่อมคนเข้ากับทุกโปรดักต์ ทำให้ชีวิตคนไทยดีขึ้น
- ตลาดของเรายังเป็นคนไทยอยู่ ยังไม่ไปต่างประเทศ เพราะมาร์เก็ตไซส์ไม่ได้ นักท่องเที่ยวมาแป๊บเดียวก็กลับ ความต้องการต่างกัน รสนิยมไม่เหมือนกัน และเรตติ้งการรีวิวของคนไทยใช้กับชาติอื่นไม่ได้ สุดท้ายก็คือพนักงานเราเข้าใจคนไทยด้วยกันมากที่สุด
- อยากขยายอีก 2-3 ทางไปรีวิวสิ่งอื่นๆ ขยายพื้นที่เพิ่มในหลายๆ จังหวัด เราอยากคอนเน็กต์คนเข้ากับสิ่งดีๆ อยากไปถึงความโลคัลมากขึ้น
- ตอนนี้ที่เราทำคือค้นหาและรีวิวร้าน แต่ยังไม่เคยไปมีความสัมพันธ์กับเขาลึกกว่านั้น เช่น การทำ POS (Point of Sale) จองโต๊ะ สั่งอาหารล่วงหน้า การจ่ายสตางค์ ซึ่งมันเป็นวิถีที่เราทำได้ แต่ยังไม่เคยทำ
42.40
การเข้าตลาดหุ้น
เราเหมือนเป็นรุ่นพี่ด้านสตาร์ทอัพ ถ้าเราไม่ทำให้คนอื่นดู แล้วรุ่นน้องอีกเป็นร้อยบริษัทจะเอาความหวังมาจากไหน นักลงทุน รัฐบาล ถ้าไม่มีบริษัทแบบนี้เข้าตลาดหุ้นได้จะมองว่าเมืองไทยยังขาด exit เราจะได้เป็นตัวอย่างให้รุ่นหลังได้อีกเยอะมากเลย
“สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุก 100 บาท เงินเข้าไปถึงธุรกิจคนไทย 5-10 บาทเท่านั้นเอง นอกนั้นไปอยู่ที่ Facebook, Google, Youtube บริษัทพวกนี้ไม่ได้จ่ายภาษี เจ้าของเป็นต่างชาติ เราก็คิดว่าการที่เราเป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยให้คนไทยใช้ก็น่าจะสู้กับต่างชาติได้มากขึ้น จะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นทางด้านเทคโนโลยีของต่างชาติมากเกินไป”
48.14
รายได้
มาจากการโฆษณาเยอะที่สุด ที่เหลือก็จะเป็น sponsorship กับพวกขายดีลอีกนิดหน่อย ถามว่าเราจะอยู่ได้ไหม ข้อเท็จจริงก็คือบริษัทใหญ่อย่าง Google, Facebook รายได้หลักยังมาจากโฆษณาอยู่ เราก็น่าจะไม่ต่างกัน ดังนั้นไม่มีอะไรต้องกลัวว่าการทำธุรกิจด้วยการทำโฆษณาจะไม่เติบโตหรือไม่ยั่งยืน
49.34
แนะนำคนทำธุรกิจด้านเทคสตาร์ทอัพ
1. การที่คนล้มเหลวเยอะเป็นเรื่องปกติ มีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดตั้งแต่ต้นว่าเราต้องมีสตาร์ทอัพเป็นจำนวนมาก แต่จริงๆ มีแค่ 5-10 บริษัทก็พอที่ใหญ่และเกี่ยวข้องกับผู้คน จำนวนนี้จะไดรฟ์มูลค่าถึง 80% ของธุรกิจเหมือน Top 5 ของอเมริกา หรือ Top 3 ของที่จีน ยิ่งมีเยอะ ยิ่งล้มเหลวเยอะ ถ้าธุรกิจคุณเล็กนิดเดียว เฟซบุ๊กออกมาฟีเจอร์เดียวก็ฆ่าคุณตายแล้ว
2. ต้องถึก อย่าไปคาดหวังว่าทำดีๆ แล้วขายบริษัทไปภายใน 3-4 ปี คุณยอดอยู่วงในมา 7 ปีแล้วยังเห็นทางไปต่อได้ ต่างชาติก็เหมือนกัน ดังนั้นคุณเป็นใครถึงคิดว่าจะประสบความสำเร็จได้เร็วขนาดนั้น
3. ไอเดียไม่ได้สำคัญเท่าการลงมือทำ ตอนที่ผมทำแรกๆ มักจะมีคนพูดว่า อยากทำเหมือนกัน อยากทำแบบนี้ แต่ไม่มีคนลงมือทำจริงสักคน
54.02
Secret Sauce
1. การสร้างความดีสะสม ทำโปรดักต์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้ใช้เข้ามามากขึ้น สร้างคุณค่าจนรายได้เข้ามาเอง
2. หา Monopoly ในตลาด ทำให้โปรดักต์มีคนใช้มากจนที่ 2 ที่ 3 ในตลาดไม่สามารถตามได้
3. วัฒนธรรมองค์กร เอาวัฒนธรรมองค์กรมาใช้และประเมินผลงานจริง
4. สื่อสารวิชันของซีอีโอให้ทั่วถึง พูดเป็นตัวอย่างให้เข้าใจตรงกัน คนจะได้ยึดถือและเห็นเป้าหมายเดียวกัน
Credits
The Host นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
The Guest ยอด ชินสุภัคกุล
Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
Episode Producers ปวริศา ตั้งตุลานนท์, อธิษฐาน กาญจนพงศ์
Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director กริณ ลีราภิรมย์
Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล
Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์
Music Westonemusic.com
- จดหมายที่คุณยอดเขียนถึงพนักงานทุกคนในวาระครบรอบ 7 ปี life.wongnai.com/ceo-letter-7th-anniversary-2da4b84890da
- เพจ Wongnai www.facebook.com/Wongnai
- เพจ Wongnai Beauty www.facebook.com/WongnaiBeauty
- เพจ Wongnai Cooking www.facebook.com/WongnaiCooking