เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ซอส สกิลส์ จำกัด (Sauce Skills) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ THE STANDARD และ Bluebik Group PLC. ที่มุ่งเน้นการสร้างผู้นำยุคใหม่ให้กับองค์กรชั้นนำ ได้จัด Forum ที่ชื่อว่า CHAMPION OF PEOPLE ORCHESTRATOR: Managing Super Talents 2024 ขึ้น เพื่อรวบรวมและส่งต่อทั้งความรู้และประสบการณ์ของผู้นำองค์กรในปัจจุบัน โดยได้รับเกียรติจากผู้สร้าง Talents หลากหลายวงการมาร่วมวงเสวนา
ทั้งนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก CEO และ CPO จากองค์กรชั้นนำกว่า 90 องค์กร รวมถึง สมโภชน์ อาหุนัย CEO บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA และ อัศวิน เตชะเจริญวิกุล CEO บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC เข้าร่วมรับฟังเนื้อหา
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด กล่าวในหัวข้อ Secret Sauce Skills Trends for Super Talents ว่า ความท้าทายขององค์กรในยุคปัจจุบันก็คือ การพัฒนาบุคลากรขึ้นมาเป็น Super Talents หรือเป็น Future Leader เพราะทักษะ หรือ Skill Set ของผู้นำในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับผู้นำองค์กรยุคก่อน
โดยรวมแล้วทักษะผู้นำในปัจจุบันที่ควรมีคือ ทักษะผสมผสานระหว่าง Hard Skill และ Soft Skill เพื่อให้ผู้นำในยุคปัจจุบันมีทั้งความเก่งเฉพาะทางและความยืดหยุ่น ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากความท้าทายด้านธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีหลากหลาย บริบทในการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
โดยรวบรวมออกมาเป็น 5 ความท้าทาย ดังนี้
- Hyper-Evolving: เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หากผู้นำไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่สามารถนำองค์กรให้เติบโตต่อไปได้
- Hyper-Polarized: เพราะสังคมสองเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่สองประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีนมีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงจุดยืน รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ กันอย่างเข้มข้น
- Hyper-Sensitive-Polarized: ปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นเยอะมาก การบริหารคนก็ต้องคำนึงถึง Well-being ด้วย
- Hyper-Informed: ทุกวันนี้มีข้อมูล หรือ Data เยอะมากขึ้น ทำให้การบริหารธุรกิจของผู้นำต้องรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร และนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
- Hyper-Connected: เมื่อโลกเชื่อมโยงกันอย่างเข้มข้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ ที่ที่หนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้ง Ecosystem
“อดีต ปัญหา และความท้าทาย เป็น Technical Challenge ซึ่งแก้ปัญหาได้ด้วยความเชี่ยวชาญ แต่ปัจจุบันเป็น Adaptive Challenge ปัญหามีความซับซ้อนขึ้นและปัญหาเกี่ยวโยงมากขึ้น แนวทางแก้ปัญหาคือ ต้องการ Paradigm Shift ใหม่ ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทั้งองค์กร เท่ากับว่าแค่ Talent อาจไม่พอ เราต้องการ Super Talent และต้องการแบบเร็วขึ้น” นครินทร์กล่าว
9 ทักษะที่ Super Talent ควรมี คือ
- Embrace Change
- Educate Continuously
- ESG Mind
- Enhance Strategy
- Employ AI
- Engage
- Empathize
- Empower & Develop
- Energize
ทั้ง 9 ทักษะผู้นำดังกล่าวสามารถแบ่งกลุ่มออกมาได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ Lead Self, Lead Organization และ Lead People
นครินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า เชื่อว่าทุกองค์กรล้วนตระหนักดีถึงความสำคัญของ Super Talent และคำถามสำคัญก็คือ จะหาบุคคลเหล่านี้ได้จากที่ใด ซึ่งวิธีการที่เคยทำก่อนหน้านี้ก็มีทั้งการสร้าง การยืม และการซื้อตัวบุคลากร อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้ควรเน้นไปที่การสร้าง Super Talent ดีกว่า เพราะทุกองค์กรไม่ได้ต้องการ Super Talent แค่คนเดียว แต่ต้องการทีมที่มีศักยภาพในการเป็น Super Talent ด้วย
ด้าน พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK กล่าวในงานเดียวกัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Generation of AI (GenAI) นั้นมีบทบาทสำคัญมากๆ ต่อการทำงานและการบริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือ เราควรรู้ว่าจะนำ AI มาใช้อย่างไร
ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Transformation แนะนำให้ทำความเข้าใจความสามารถของ AI ก่อน แล้วค่อยออกแบบการใช้งาน AI โดยบลูบิค กรุ๊ป ประเมิน AI Evolution ดังนี้
- Artificial Narrow Intelligence (ANI) ซึ่งก็คือ AI ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้มีความพื้นๆ มาก แต่ Scope ถนัดแค่อย่างเดียว เช่น AlphaGo, AI วาดรูป สามารถชนะคนได้ แต่ชนะได้แค่ด้านเดียว
- Artificial General Intelligence (AGI) ซึ่งก็คือยุคทองของ AI ความสามารถพื้นฐานคือตอบโต้ได้โดยไม่ต้องใช้การตัดสินใจของมนุษย์ ทั้งนี้ บางครั้งจะเรียก AGI ว่า Strong AI หรือ Human-Level AI ในระดับนี้ AI จะมีความสามารถและความฉลาดเทียบเท่ามนุษย์
- Artificial Super Intelligence (ASI) นับเป็นสุดยอด AI ที่มีปัญญาเหนือกว่ามนุษย์ และแน่นอนว่าในปัจจุบันเรายังไม่สามารถพัฒนา AI ประเภทนี้ขึ้นมาได้ แต่ไอเดียการมีอยู่ของ Artificial Super Intelligence (ASI) นั้นมักจะปรากฏอยู่ในสื่อต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกม ภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือนวนิยาย นั่นเอง
“ต่อคำถามที่ว่า AI จะมาแทนที่ (Replace) คนหรือไม่ คำตอบคือ AI จะแย่งงานคนที่ไม่ใช้ AI องค์กรที่ไม่ใช้ AI ก็จะไม่ Competitive แต่ถ้าเราใช้ AI เป็น เรารู้กว้าง ก็จะไม่ถูก AI Replace ง่ายๆ” พชรกล่าว
ทั้งนี้ สามารถแบ่งการยอมรับ AI ออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
- Assist – เครื่องมือทำ Task ง่ายๆ เหมือนใช้ Google เครื่องคิดเลข ช่วยให้มนุษย์ทำงานง่ายขึ้น โดยมาเป็นตัวเสริมให้เราทำงานปกติที่เราทำให้รวดเร็วขึ้น ทำให้ Productivity คนทำงานเพิ่มขึ้น
- Process – ใช้ AI คำนวณและประมวลผลแทนเรา เช่น Excel ใช้ GenAI องค์กรต้องเตรียมข้อมูลมากขึ้นเพื่อ Feed เข้าไป / คนเป็นคนส่งคำสั่ง ให้ AI Lead Task นั้นๆ แต่ก็ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานมารองรับมากขึ้น
- Integrate – ส่วนหนึ่งของกระบวนการในองค์กร เช่น ต้องมีระบบสักอย่างเพื่อเชื่อม AI ใช้ AI เสริมศักยภาพ ข้อมูล Specific – ระบบทำ Workflow อัจฉริยะมากขึ้น ให้ Recommendation โดย AI เป็นคนสั่ง Task ส่วนคนเป็นผู้ Made Decision
- Decision Making – ใช้ AI สร้าง Innovation ซึ่งองค์กรต้องมีความพร้อมสูง ต้อง Customize AI ได้ / บทบาทคน จะไปเป็นคนกำหนดกลยุทธ์ หรือ Vision เท่ากับ AI ตรงนี้ต้อง Customize สำหรับองค์กรนั้นๆ โดยเฉพาะ
เขากล่าวเพิ่มว่า คนยังตื่นเต้นกับเลเวลที่หนึ่งท่านั้น แต่เราสามารถวางแผนสำหรับสเต็ปถัดไปได้ ซึ่งทุกวันนี้เชื่อว่าองค์กรมีความพร้อมในการนำ AI มาใช้แล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ตัดสินใจว่าจะใช้หรือไม่ใช้คือ ความคุ้มทุน ยิ่ง Interaction กับผู้คนมาก AI ก็ยิ่งแพง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีจะถูกลงเรื่อยๆ ในอนาคต และจะเป็นจุดแตกต่าง ธุรกิจที่ Adopted AI ในเลเวลสูงๆ ก็จะยิ่งได้เปรียบ
กล่าวโดยสรุปคือ หากองค์กรจะนำ AI มาใช้ C-suite จะต้องทำดังนี้
– CEO / CFO Lens จะต้องดู AI Strategy และ Transformation
– COO Lens ดูเรื่อง Process และ Policy ขององค์กร
– CTO Lens ดูเรื่อง Data Platform AI Model ต่างๆ
– CPO Lens Start Build Awareness (ปรับใช้ AI ขององค์กร) > Reskill-Upskill (คนต้องรู้จักใช้ AI ให้เป็น ไม่อย่างนั้นจะถูก Replace) > Redesign Job (ตำแหน่งงานในโลกของ Digital, AI ต่อไปจะต้องมีตำแหน่งอะไร ตำแหน่งอะไรจะหายไป) > Build Culture ขององค์กร AI-First Culture
“AI ไม่ได้มา Replace คน แต่จะ Replace คนที่ไม่ได้ใช้ AI คนในองค์กรก็ต้องเป็น Generation AI ไม่ว่าจะเป็นคน Gen ไหนก็ต้องมีมายด์เซ็ตของ Generation AI ด้วย” พชรกล่าว
พชรกล่าวส่งท้ายว่า การผสมผสานความสามารถทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกัน ถือเป็นจุดแข็งของ Sauce Skills ในการออกแบบหลักสูตรและพัฒนาผู้นำยุคใหม่ขององค์กร เพื่อให้สามารถผลักดันองค์กรและเติบโตได้เต็มศักยภาพ ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้นทั่วโลก
สามารถดาวน์โหลด Leader Skill Checklist 2024 ได้ที่:
https://drive.google.com/file/d/1KaUpLXspyGc9ywLWVpzx0hQL-VMS1gka/view