×

เปิดรายชื่อ ‘10 บลจ. ของไทย’ ควักเงินจองซื้อหุ้น IPO ‘เบทาโกร’ หรือ BTG วงเงินรวมกันกว่า 3.63 พันล้านบาท

06.10.2022
  • LOADING...

จากกรณีที่ทาง บมจ.เบทาโกร หรือ BTG ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ 40 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดวันให้นักลงทุนทั่วไปสามารถจองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 10-12 และ 17 ตุลาคม 2565 และนักลงทุนสถาบันจองซื้อ 20-25 ตุลาคม 2565 และกำหนดวันเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565

 

โดยในการเสนอขายหุ้นสามัญของ BTG ในครั้งนี้มีจำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด (รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯ ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 434.80 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 21.7% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดหลัง IPO บนสมมติฐานว่ามีการใช้สิทธิซื้อหุ้นส่วนเกินเต็มจำนวน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


นอกจากนี้ อาจพิจารณาจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Over-allotment Option) จำนวนไม่เกิน 65,200,000 หุ้น หรือคิดเป็น 15.0% ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายตั้งต้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้ในการรักษาระดับราคาหุ้น (Stabilization) ในช่วง 30 วันแรกหลังจากที่หุ้น BTG เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อช่วยลดความผันผวนของราคาหุ้น และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน

 

ทั้งนี้ มีนักลงทุนสถาบันชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเข้าลงนามในสัญญาลงทุนในหุ้น BTG เพื่อเป็น Cornerstone Investors ทั้งหมด 25 ราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,286 ล้านบาท หรือคิดเป็น 77.1% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายให้แก่นักลงทุนสถาบันทั่วโลกในเบื้องต้น (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)

 

โดย THE STANDARD WEALTH ได้สำรวจข้อมูลพบว่ามีนักลงทุนสถาบัน หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของไทยที่ได้จองซื้อหุ้น IPO ของ BTG ในครั้งนี้รวมจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าวงเงินรวมกันประมาณ 3,631 ล้านบาท 

 

สำหรับรายชื่อ บลจ. ที่ได้เข้าจองซื้อหุ้น IPO ของ BTG ในครั้งนี้ ได้แก่

 

  1. บลจ.กรุงศรี จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 22 ล้านหุ้น มูลค่า 880 ล้านบาท 
  2. บลจ.ทิสโก้ จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 15 ล้านหุ้น มูลค่า 600 ล้านบาท
  3. บลจ.เกียรตินาคินภัทร จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 10 ล้านหุ้น มูลค่า 400 ล้านบาท
  4. บลจ.กรุงไทย จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 8.3 ล้านหุ้น มูลค่า 332 ล้านบาท
  5. บลจ.พรินซิเพิล จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 8.12 ล้านหุ้น มูลค่า 325 ล้านบาท
  6. บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 7.95 ล้านหุ้น มูลค่า 318 ล้านบาท
  7. บลจ.บางกอกแคปปิตอล จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 7.5 ล้านหุ้น มูลค่า 300 ล้านบาท
  8. บลจ.เอ็มเอฟซี จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 4.4 ล้านหุ้น มูลค่า 176 ล้านบาท
  9. บลจ.วรรณ จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 3.75 ล้านหุ้น มูลค่า 150 ล้านบาท
  10. บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำนวนหุ้นที่ตกลงซื้อ 3.75 ล้านหุ้น มูลค่า 150 ล้านบาท

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising