×

ผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งตื่นมาดูแลสัตว์จรกว่า 2,000 ชีวิตในทุกๆ วัน คุยกับ ‘ป้าติ๋ม กวิพร’ คนไทยคนแรกบนแพ็กเกจช็อกโกแลต HERSHEY’S [ADVERTORIAL]

02.03.2023
  • LOADING...

คุณรู้หรือเปล่าว่ามีผู้หญิงธรรมดาๆ คนหนึ่งตื่นมาดูแลสัตว์จรกว่า 2,000 ตัวในทุกๆ วัน?

 

ในโอกาสของวันสตรีสากล (International Women’s Day) ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี แบรนด์ช็อกโกแลตที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปีอย่าง HERSHEY’S (เฮอร์ชีส์) ก็ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่อยากสนับสนุนพลังสตรี ยกย่องสตรีที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับสังคม ด้วยการปล่อยแคมเปญ #HerShe ยกย่องสตรีที่น่าชื่นชม นำรูปภาพของพวกเธอมาปรากฏตัวบนแพ็กเกจลิมิเต็ดเอดิชัน และในปีนี้แคมเปญได้มีการยกย่องสตรีจากประเทศในแถบอาเซียน ซึ่ง 1 ใน 4 คนนั้นเองก็เป็นคนไทยด้วย!

 

ก่อนหน้านี้คุณอาจได้เห็นตามหน้าข่าวที่ว่าด้วยเรื่องของผู้หญิงไทยที่ได้ขึ้นไปปรากฏตัวอยู่บนแพ็กเกจ HERSHEY’S มาแล้ว เธอคนนั้นคือ ป้าติ๋ม-กวิพร วินิจเถาปฐม ผู้ก่อตั้งบ้านนางฟ้าของสัตว์จร และวันนี้เราเดินทางมาหาเธอถึงอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อพบป้าติ๋ม และสัมผัสบรรยากาศของสถานที่ที่ผู้หญิงธรรมดาคนนี้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสุนัขและแมวจรที่มีอยู่กว่า 2,000 ตัว

 

สัมผัสชีวิตและทัศนคติของเธอ พร้อมแบ่งปันพลังงานดีๆ ที่อาจเป็นแรงบันดาลใจให้คุณอยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างก็ได้

 

 

ผู้หญิงที่ต้องเสียสละและมีความรับผิดชอบ

ป้าติ๋ม-กวิพร วินิจเถาปฐม เติบโตมาในย่านปากคลองตลาดช่วงปี 2493 เธอเป็นลูกสาวคนโตของครอบครัวและมีน้องๆ อีก 6 คน หน้าที่สำคัญของเธอคือการช่วยพ่อแม่ดูแลน้องๆ ในทุกๆ เรื่อง และนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า ‘ความช่วยเหลือ’ และ ‘ความรับผิดชอบ’ ที่ปลูกฝังป้าติ๋มมาตั้งแต่เด็กๆ

 

เมื่อเริ่มโตขึ้น ป้าติ๋มก็แสดงความเก่งกาจในเรื่องการจัดการต่างๆ ในชีวิตตัวเองได้เป็นอย่างดี เธอสามารถสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สำเร็จ และเธอยังศึกษาทางด้านบริหารงานบุคคลต่อในระดับปริญญาโท หลังจากนั้นได้ใช้ความรู้ความสามารถของตัวเองในการทำงานในบริษัทใหญ่ๆ มาแล้วมากมายในฐานะของฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ก่อนที่เธอจะละทิ้งทุกสิ่งไว้ข้างหลัง และเลือกใช้ทุนทรัพย์ในชีวิตที่มีเพื่อดูแลสัตว์จร

 

 

ผู้หญิงธรรมดาผู้เป็นเหมือนนางฟ้าของสัตว์จร

จุดเริ่มต้นที่แสนธรรมดาจากสุนัขเพียงหนึ่งตัว “เริ่มต้นจากสมัยที่ลูกสาวของป้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วเขาอยากเลี้ยงสุนัขตัวเล็กๆ สักตัว ก็เลยไปหามาเลี้ยงกัน แต่มันดูเงียบมาก ผิดวิสัยของสุนัข ป้ากลัวมันเหงาเลยไปหาลูกสุนัขตัวเล็กๆ ให้มาเป็นเพื่อนเล่นเพิ่ม ตอนที่ไปตลาดขายสุนัขหลายๆ ที่ก็สังเกตเห็นว่าเขาดูแลไม่ค่อยดี บางตัวก็ดูป่วยหรือถูกขังไว้นาน ป้าเอ็นดูและคิดว่าต้องช่วยมัน สุดท้ายป้าเลยซื้อลูกสุนัขที่ป่วยมาเลี้ยง ก็อยากเลี้ยงเขาให้กลับมาแข็งแรงแค่นั้น” 

 

แต่ปัญหาที่ป้าติ๋มพบก็คือ การนำเอาสุนัขมาปล่อยข้างทางหรือปล่อยในวัด ทำให้ประชากรสัตว์จรเหล่านี้เพิ่มขึ้นและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีนัก จนอาจเลยเถิดไปจนถึงขั้นสร้างความรำคาญให้แก่คนอื่นๆ และสุนัขอาจโดนวางยาเบื่อในสักวันหนึ่ง

 

“เราเห็นลูกสุนัขผอมๆ ที่วิ่งอยู่ข้างวัดเต็มไปหมดเลย เราก็มีความรู้สึกว่าเราน่าจะเอาอาหารไปให้มันนะ เสร็จแล้วเราก็คิดว่าสำหรับแม่สุนัขก็น่าจะต้องพาไปทำหมันจะได้ไม่ออกลูกอีก พอคิดว่าต้องทำหมัน ป้าก็คิดว่าเขาก็น่าจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เราก็คิดว่าไม่อยากจะให้มันมีสุนัขที่วัดเยอะๆ เรารู้สึกเวทนา เพราะสุนัขมันไม่รู้เรื่องอะไร ถ้าเขาหิวเขาก็ไม่รู้จะไปหาอะไรที่ไหนกินถ้าคนไม่ให้

 

 

“ป้ารู้สึกว่าที่ทำไปทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการช่วยเหลือมากกว่าการเสียสละ ป้าแค่อยากช่วยให้สุนัขได้รับความจำเป็นขั้นพื้นฐานแค่นั้นเองค่ะ เขาต้องการแค่อาหารวันละมื้อ ความปลอดภัย และที่พักพิงแค่นั้นเอง แต่ยังต้องมีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนสำหรับสัตว์จรจัด ไม่ว่าจะเป็นการทำหมันหรือฉีดวัคซีน ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ตั้งแต่ส่วนปกครองที่เล็กที่สุดอย่างหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดและรู้ดีที่สุดว่าสุนัขตัวนี้คือสุนัขใคร สุนัขบ้านไหน ไปจนถึงภาพใหญ่ที่จะออกกฎหมายมาช่วยจัดการตรงนี้

 

“สัตว์ก็เหมือนคน ความรู้สึกเขาเหมือนคนเลยนะ แล้วถ้าเราดูแลเขาไม่ดี วันหนึ่งก็เอาเขามาปล่อยทิ้ง ทำไมไม่สงสารเขา ทำไมไม่เห็นใจเขาบ้าง เขาก็มีชีวิตจิตใจ เพียงแต่เขาพูดไม่ได้แค่นั้นเอง”

 

 

ปัจจุบันป้าติ๋มมีสุนัขและแมวจรกว่า 2,000 ตัวในบ้านนางฟ้าของสัตว์จร ที่พวกเขาได้มีชีวิตที่ปลอดภัย มีอาหาร และที่พัก พวกเขาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้บรรยากาศแบบ Free-Field ที่ไม่ได้อุดอู้อยู่เพียงแค่ในกรง แต่ยังมีสถานที่ให้พวกเขาได้วิ่งเล่น และสำคัญที่สุดคือป้าติ๋มยังจัดหาพนักงานพร้อมสัตวแพทย์ไว้คอยดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด

 

 

ผู้หญิงไทยคนแรกบนแพ็กเกจลิมิเต็ดเอดิชันของ HERSHEY’S

“ตอนที่ HERSHEY’S เขามาคุยด้วย เขาก็บอกว่าเลือกเราเป็นตัวแทนผู้หญิงไทยในโอกาสฉลองวันสตรีสากลโลกนะ ป้าก็ไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงเลือกป้า เพราะป้าก็เป็นคนธรรมดา ไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังอะไร เขาก็บอกว่า เราทำดีให้กับสังคม เราก็ฟังเขาเล่า แล้วเมื่อประมาณสักอาทิตย์ก่อน ลูกชายไปแวะที่ 7-Eleven เขาก็บอกว่า ‘เจอช็อกโกแลตที่มีรูปแม่’ เราก็บอกว่า ไหนเอามาดูบ้างสิ ตอนนี้ป้าก็ซื้อช็อกโกแลตลายคนอื่นมาด้วย เต็มตู้เลย”

 

 

ป้าติ๋มเล่าอย่างอารมณ์ดีเมื่อเราถามถึงครั้งแรกที่ได้รับการติดต่อจากทาง HERSHEY’S เพื่อมารวมแคมเปญ #HerShe ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศบราซิลเมื่อปี 2563 และในปี 2566 ได้เปิดตัวในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เพื่อยกย่องและชื่นชมผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจจากทุกสาขาอาชีพ ผ่านการเปิดตัวช็อกโกแลตบาร์อันเป็นอัตลักษณ์ของ HERSHEY’S ในแพ็กเกจลิมิเต็ดเอดิชัน 4 ดีไซน์ 

 

จุดประสงค์หลักๆ คือเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเชิดชูสตรีต้นแบบทางวัฒนธรรม ความสำเร็จ และการอุทิศตนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมและประเทศของตนในวันสตรีสากลโลก ซึ่งแต่ละดีไซน์จะบอกเล่าเรื่องราวความน่าทึ่งของผู้หญิง ‘ผู้เป็นดั่งคนธรรมดาที่ทำในสิ่งที่ไม่ธรรมดา’ HERSHEY’S จึงรับหน้าที่เป็นกระบอกเสียง เพื่อชื่นชมผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจและควรค่าแก่การยกย่อง

 

 

“ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะได้ไปอยู่บนช็อกโกแลต HERSHEY’S ป้าเป็นแค่คนธรรมดา ไม่ได้คิดจะออกมาบอกให้โลกรู้ว่าป้าเป็นใคร การที่ป้าไปอยู่บนช็อกโกแลต HERSHEY’S แล้วมีคนมาทัก มาชื่นชม มาบอกว่าเราทำดี เราเป็นแรงบันดาลใจให้เขา มันทำให้เราภูมิใจ มีความสุข ป้าได้รับแรงบันดาลใจมาจากคนบางคนหรือบางสิ่งที่คนหลายคนทำ วันนี้สิ่งเหล่านั้นส่งต่อให้ป้าเป็นป้าในวันนี้” ป้าติ๋มตอบเราเมื่อเราถามถึงความรู้สึกที่เธอได้เป็นหญิงไทยคนแรกบนช็อกโกแลตบาร์ HERSHEY’S แพ็กเกจลิมิเต็ดเอดิชัน

 

 

ใครก็เป็นชีโร่ (SHERO) ได้

ถ้าหากคุณมีโอกาสได้ไปหาซื้อช็อกโกแลต HERSHEY’S ที่เป็นลิมิเต็ดเอดิชันจากแคมเปญ #HerShe คุณจะสามารถสแกน QR Code บนผลิตภัณฑ์ และรับรู้เรื่องราวของผู้หญิงธรรมดาทั้งสี่คนว่าพวกเธอได้สร้างเรื่องราวยิ่งใหญ่ให้กับสังคมและโลกใบนี้อย่างไร ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกย่องผู้หญิงที่น่าชื่นชมแล้ว แคมเปญนี้ยังถ่ายทอดคุณค่าของแบรนด์ และเป็นคุณค่าที่ HERSHEY’S อยากส่งต่อและแบ่งปันให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องราวและแรงบันดาลใจที่เกิดจากเรื่องจริงและสามารถส่งผลลัพธ์เชิงบวกโดยตรงต่อผู้บริโภคได้

 

“HERSHEY’S เราจริงจังในเรื่องการสนับสนุนความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำ เราเริ่มต้นแคมเปญ #HerShe ภายใต้ความคิดที่ต้องการเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้หญิงจำนวนมากที่กำลังทำในสิ่งที่น่าชื่นชมและน่ายกย่อง แต่ยังไม่มีใครรู้จักมากนัก แคมเปญนี้จะทำให้ทุกคนมีพื้นที่แบ่งปันมุมมอง เรื่องราว และสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน และให้ผู้คนมองเห็นว่าใครก็เป็น SHERO ได้เช่นกัน”

 

คุณสิระพร ลิ้มวัฒนชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เฮอร์ชีส์ ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียวันออกเฉียงใต้ กล่าวไว้เกี่ยวกับแคมเปญ #HerShe

 

  

นอกจาก HERSHEY’S จะยกย่องและชื่นชมเหล่าสตรีที่สร้างพลังบวกให้กับสังคมแล้ว ยังได้เปิดพื้นที่ให้กับทุกคนได้ชื่นชมและบอกกับ SHERO ของพวกเขาเหล่านั้นว่าเธอมีส่วนในการสร้างแรงบันดาลใจและเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร ด้วยการชื่นชมเธอ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว คนรัก เพื่อน หรือใครก็ตามที่สร้างรอยยิ้มให้กับคุณ เพื่อส่งต่อ แบ่งปันเรื่องราว และสร้างแรงบันดาลใจให้กันผ่านทางเว็บไซต์ https://celebratehershe.com/th-th 

 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธกิจของบริษัทเฮอร์ชีส์ในการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ คลิกที่นี่

 

นี่คือเรื่องราวของป้าติ๋ม กวิพร นางฟ้าของสัตว์จรกว่า 2,000 ตัว ซึ่งกำลังสะท้อนบทบาทของเพศหญิงที่ลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่สังคม ซึ่งเราเชื่อว่า ยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่กำลังทำสิ่งที่น่าชื่นชมและน่ายกย่องในทุกๆ วัน โดยที่ยังไม่มีใครรู้จักพวกเธอมากนัก 

 

เราจึงอยากส่งต่อแคมเปญ #HerShe เพื่อทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ได้มีพื้นที่ในการแบ่งปันแรงบันดาลใจ มุมมอง เรื่องราว และสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน และให้ผู้คนมองเห็นว่า แม้จะเป็นผู้หญิงที่ดูแลสัตว์จร เธอก็สามารถเป็น SHERO ได้เช่นกัน

FYI
  • รู้หรือไม่ว่า HERSHEY’S ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคทางเพศอย่างมาก พวกเขามีซีอีโอหญิงอย่าง มิเชล บัค ซึ่งดำรงตำแหน่งมา 6 ปีแล้ว และปัจจุบันมีพนักงานผู้หญิง 48% อยู่ใน HERSHEY’S ทั่วโลก และยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายในการมีพนักงานในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน
  • HERSHEY’S ยังได้รับการเสนอชื่อในปี 2564 ให้เป็นบริษัทที่เป็นมิตรต่อสตรีเป็นอันดับ 1 ของโลก หรือ 1 World’s Top Female-Friendly Companies โดยนิตยสาร Forbes อีกด้วย! 
  • นอกจากนี้พวกเขายังได้จัดตั้งกลุ่มทรัพยากรธุรกิจสตรี (Women’s Business Resource Group) และความมุ่งมั่นในการจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ภายในปี 2568
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising