×

#สารภาพว่าติดบ้าน แคมเปญที่จะทำให้คุณเข้าใจว่าทำไมบ้านของ LPN ถึง #น่าอยู่ และได้รู้เสียทีว่า LPN สร้างบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมด้วย! [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
06.12.2023
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • น่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า LPN สร้างแต่คอนโดมิเนียม และไม่รู้แม้กระทั่งว่าโครงการคอนโด PARK 168, PLACE 168 หรือบ้านระดับพรีเมียม RESIDENCE 168, BAAN 365 รวมถึงบ้านและทาวน์โฮมในราคาที่จับต้องได้อย่าง MAISON 168, VENUE 24 และ HAUS 24 จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 
  • LPN จึงลุกขึ้นมาทำ Brand Refresh ผ่านแคมเปญ #สารภาพว่าติดบ้าน ปรับภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดูสดใหม่ แต่ยังคงรักษาแนวคิดของ LPN ที่เชื่อว่าการทำให้คนมีบ้านเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่และเป็นพื้นฐานที่จะทำให้สังคมดีขึ้น
  • โดยใช้ภาพยนตร์โฆษณาเป็นเครื่องมือกระตุกให้กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจและรู้จักแบรนด์ ผ่าน 3 เรื่อง 3 มุมมองของคนหลากเจน ได้แก่ เจ้านายที่รัก, เพื่อนที่รัก และ แฟนที่รัก ภายใต้คอนเซปต์ ‘ติดธุระที่บ้าน’ เพราะติดกับความ ‘น่าอยู่’ ของบ้าน ทาวน์โฮม และคอนโดของ LPN มากขึ้นจนไม่อยากออกไปไหนเลย

ขอสารภาพตามตรง ที่ผ่านมาเคยเข้าใจว่า LPN เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างแต่คอนโดมิเนียมทรงเรียบๆ ใช้โทนสีเหมือนกันทุกโครงการ ไม่ต้องเห็นโลโก้ก็รู้ว่านี่คือ ‘คอนโดลุมพินี’ มีจุดขายคือทำเลศักยภาพ เดินทางสะดวก ในราคาจับต้องได้ ยิ่งไปกว่านั้นน่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ไม่รู้ว่าโครงการคอนโด PARK 168, PLACE 168 หรือบ้านระดับพรีเมียม RESIDENCE 168, BAAN 365 รวมถึงบ้านและทาวน์โฮมในราคาที่จับต้องได้อย่าง MAISON 168, VENUE 24 และ HAUS 24 จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

 

 

โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) บอกว่าไม่แปลกใจ “สมัยก่อนพูดถึง LPN ไม่มีใครรู้จัก บางคนนึกว่าเราคือบริษัท เล้าเป้งง้วน เพราะใช้ตัวย่อ LPN เหมือนกัน”  

 

LPN เริ่มต้นธุรกิจจากการพัฒนาโครงการลุมพินี ทาวเวอร์ อาคารสำนักงานสูง 38 ชั้น บนถนนพระราม 4 ในปี 2532 ในยุคนั้นถือเป็นอสังหาน้องใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำอาคารสูงจนเป็นที่จับตามอง 

 

“ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 คอนโดกลายเป็นผู้ร้าย ผู้ประกอบการหลายรายก็เลิกสร้าง คนก็ไม่กล้าซื้อเพราะมีโครงการไม่ส่งมอบเยอะมาก แต่ผู้บริหารของเรากลับมองเห็นโอกาสในการพัฒนาโครงการซิตี้คอนโด โดยใช้ความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งปรับวิธีคิดและกระบวนการทำงานใหม่ทั้งหมด วัดดวงด้วยการเอาที่ดินที่เรามีริมถนนนราธิวาสราชนครินทร์มาทำคอนโด 8 ชั้น 4 อาคาร ตั้งราคาขายล้านต้นๆ และบอกว่าโครงการจะสร้างเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งเราก็ทำได้จริง” 

 

ความสำเร็จครั้งนั้นทำให้ LPN ได้โมเดลธุรกิจ ‘คอนโดราคาเข้าถึงง่าย ใจกลางเมือง’ มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ และค่อยๆ ขยายขนาดโครงการใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มองค์ประกอบของความเป็นชุมชนมากขึ้น จนได้รับฉายาว่าเป็น ‘เจ้าพ่อคอนโด’

 

 

ถึงภาพลักษณ์ของ ‘คอนโดลุมพินี’ จะไม่หวือหวา แต่ในแง่ของการอยู่อาศัยถือว่าตอบโจทย์ หรือจะซื้อเพื่อการลงทุนก็น่าสนใจ โอภาสบอกว่า แต่ปัญหาคือ LPN ไม่ได้พัฒนาแค่อาคารสูง ยังแตกไลน์พัฒนาบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมมาสักระยะ แต่กลับไม่เคยหยิบโปรดักต์เหล่านี้มาคุยกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้คนไม่รู้ว่า LPN มีโปรดักต์เหล่านี้ แถมภาพจำของคอนโดที่มีกลายเป็นความจำเจในสายตาของคนยุคใหม่ 

 

“ตอนนี้แบรนด์ก็ต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเจนใหม่เพื่อต่อยอดธุรกิจ ดังนั้นแม้ว่าแบรนด์จะแข็งแรงเรื่องของคุณภาพและความน่าเชื่อถือ แต่ต้องปรับภาพลักษณ์ให้สดใหม่ขึ้น สร้างคาแรกเตอร์ที่แตกต่างให้กับคอนโดโครงการใหม่ๆ เพื่อให้คนเจนใหม่ภูมิใจเวลาที่บอกใครๆ ว่าเขาอยู่ที่นี่ มันเป็นเรื่องของคุณค่าที่คนเจนใหม่ต้องการ”

 

 

นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา แบรนด์เริ่มปรับทิศทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่ให้แต่ละโครงการมีเอกลักษณ์ที่ต่างกัน เช่น ลุมพินี สวีท ดินแดง-ราชปรารภ, ลุมพินี สวีท เพชรบุรี-มักกะสัน และลุมพินี ซีเล็คเต็ด สุทธิสาร-สะพานควาย

 

“แม้เราจะปรับภาพลักษณ์ใหม่ในโครงการยุคหลัง แต่แนวคิดพื้นฐานของการทำโครงการไม่เปลี่ยน ตลอด 34 ปี เรายังคงให้ความสำคัญกับส่งมอบความ ‘น่าอยู่’ ให้กับลูกค้า” 

 

 

เพื่อตอกย้ำแนวคิดนี้ให้ชัดเจนขึ้น LPN จึงลุกขึ้นมาทำ Brand Refresh ผ่านแคมเปญ #สารภาพว่าติดบ้าน ปรับภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดูสดใหม่ แต่ยังคงรักษาแนวคิดของ LPN ที่เชื่อว่าการทำให้คนมีบ้านเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่และเป็นพื้นฐานที่จะทำให้สังคมดีขึ้น 

 

ในเฟสแรกแบรนด์เลือกใช้ภาพยนตร์โฆษณาเป็นเครื่องมือกระตุกให้กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจและจดจำแบรนด์มากขึ้นในอีกมิติหนึ่ง ผ่าน 3 เรื่อง 3 มุมมองของคนหลากเจน ได้แก่ เจ้านายที่รัก, เพื่อนที่รัก และ แฟนที่รัก ภายใต้คอนเซปต์ ‘ติดธุระที่บ้าน’ ประโยคที่ไม่ใช่ข้ออ้าง แต่เป็นเพราะลูกบ้านติดกับความ ‘น่าอยู่’ ของบ้าน ทาวน์โฮม และคอนโดของ LPN มากขึ้นจนไม่อยากออกไปไหนเลย

 

“สารภาพว่าติดบ้าน เป็นปลายทางของคำว่า ‘น่าอยู่’ เราอยากเล่นกับคอนเซปต์นี้ เลยเอามาเล่าว่าบ้าน LPN น่าอยู่จนลูกบ้านเรา ‘ติดบ้าน’ จะเห็นว่าหนังโฆษณาทั้ง 3 เรื่องเราต้องการสื่อให้เห็นถึงการตีความคำว่าน่าอยู่ในหลายมิติ อย่างเรื่อง เจ้านายที่รัก บ้านที่น่าอยู่คือบ้านที่ได้ใช้เวลาอยู่กับคนในครอบครัวมากขึ้น หรือ เพื่อนที่รัก คอนโดที่น่าอยู่ อาจหมายถึงพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมที่ชอบ” 

 

 

โอภาสยังบอกด้วยว่า หนังโฆษณาเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น นับจากนี้ต่อไปแบรนด์จะสื่อสารความน่าอยู่ของ LPN ต่อเนื่อง ตั้งแต่การพัฒนาโครงการและบริการหลังการขาย ซึ่งมีช่องทางการสื่อสารในรูปแบบคอนเทนต์ รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook: LPN Connect 

 

“จากนี้เราจะสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น ให้เขารู้ว่าเรามีโปรดักต์ที่รองรับทุกความต้องการ ขณะเดียวกันยังมีหลายเรื่องที่เราทำแต่ไม่เคยหยิบมาพูด อย่างเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือความใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่คุ้มค่าและเป็นบ้านที่น่าอยู่จริงๆ”  

 

 

ความคุ้มค่าในแบบ LPN คือการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ไม่สร้างภาระให้กับผู้อยู่อาศัยในระยะยาว อะไรฟุ่มเฟือยและเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกบ้านก็ตัดออก โอภาสยกตัวอย่าง Co-Living Space บางโครงการมีแต่ไม่เปิดแอร์ เพราะต้องการประหยัดค่าไฟ ถึงคนในโครงการจะไม่ได้ใช้แต่ก็ยังต้องจ่ายค่าส่วนกลางอยู่ดี 

 

“หรือฝ้าเพดาน คนอาจจะมองว่าทำไมไม่ทำฝ้าสูงๆ มันดูสวยจริงแต่เปลืองไฟนะ เราจึงเหลือไว้แค่ฟังก์ชันที่จำเป็น แต่ยุคหลังๆ บางโครงการเราก็เพิ่มฟังก์ชันเข้าไป เพื่อรองรับความต้องการของคนเจนใหม่ เจอกันคนละครึ่งทาง ผสมผสานข้อดีของการบริหารงานแบบคนยุคเก่าที่ให้คุณค่ากับความคุ้มค่าเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ อะไรที่ช่วยเพิ่มความคุ้มค่าเราก็ใส่ให้ เช่น โซลาร์เซลล์ เป็นต้น”  

 

 

แต่การจะพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ ‘น่าอยู่’ ต้องทำควบคู่ไปกับการสร้าง ‘ชุมชนน่าอยู่’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ LPN ยึดมั่นมาตลอด โอภาสบอกว่า เบื้องหลังความสำเร็จเกิดจากความใส่ใจของผู้บริหาร 

 

“ผมกล้าพูดเลยว่า LPN เป็นบริษัทที่เข้าไปดูแลลูกบ้านตลอดเวลา ผู้บริหารลงไปติดตามปัญหาของลูกบ้านด้วยตัวเองอยู่เสมอ ขณะเดียวกันคนหน้างานเราคัดคนที่มีความเห็นอกเห็นใจ บางครั้งปัญหาอาจเกิดจากการกระทบกระทั่งกันเล็กๆ น้อยๆ ลูกบ้านก็อยากระบายความรู้สึก พนักงานต้องรับฟังอย่างเข้าใจ ยิ่งไปกว่านั้นเราจะไม่ปล่อยที่อยู่อาศัยของลูกค้าเสื่อมโทรม เรามีหน้าที่ที่คอยดูแล ซ่อมแซม เพื่อทำให้บ้านหรือคอนโดอยู่ในสภาพสมบูรณ์”

 

 

โอภาสบอกว่า ตัวเขาเองเชื่อในแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยขององค์กรจะเป็นฐานรากที่แข็งแรงของการสร้างความ ‘น่าอยู่’ ให้กับบ้าน ทาวน์โฮม และคอนโดของ LPN ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่ผ่านมาหรือโครงการในอนาคต โดยมีแคมเปญ #สารภาพว่าติดบ้าน มาช่วยเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ 

 

“แน่นอนว่าเราคาดหวังให้คนรู้จักและเข้าใจโปรดักต์ของเรามากขึ้น และมองเห็นภาพลักษณ์มุมใหม่จากแคมเปญนี้ แต่ส่วนตัวผมเองยังหวังที่จะให้แคมเปญนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้คนอยู่บ้านและใช้เวลาอยู่บ้านให้มากขึ้น ถ้าคนในครอบครัวทำบ้านให้น่าอยู่ พอมันดีจากหน่วยเล็กๆ สังคมรอบตัวก็จะดีขึ้น และขยายต่อไปยังสังคมที่ใหญ่ขึ้นได้เอง” 

 

ติดตามความ ‘น่าอยู่’ ของ LPN ในมุมอื่นๆ ผ่านทาง https://www.lpn.co.th/  และ Facebook Official: LPN Connect

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising