ตัวละครสำคัญในการสู้รบที่เมียวดี รัฐกะเหรี่ยงของเมียนมา ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศไทย บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยขณะนี้การสู้รบเพื่อแย่งชิงความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ระหว่าง ‘กองทัพเมียนมา’ และ ‘กลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์’ ที่นำโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และพันธมิตรฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ แม้มีรายงานว่าบางจุดอย่างเมืองเมียวดีที่เคยเป็นพื้นที่สู้รบได้กลับมาสงบลงแล้วก็ตาม
และดูเหมือนว่า พ.อ. ชิต ตู่ ผู้นำกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA) จะหันกลับไปจับมือกับกองทัพเมียนมาอีกครั้ง ด้วยการคุ้มกันและช่วยเปิดทางให้ทหารเมียนมากลับเข้าค่ายผาซอง หรือกองพันทหารราบที่ 275 ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของกองทัพในเมียวดีได้เมื่อช่วงกลางสัปดาห์นี้
การเลือกข้างของ พ.อ. ชิต ตู่ และกลุ่ม KNA จึงอาจเป็น ‘จุดเปลี่ยนสำคัญ’ ที่จะส่งผลต่อการสู้รบในเมียวดี รวมถึงสงครามกลางเมืองในเมียนมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(ฝ่ายกองทัพเมียนมา)
พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย
ผู้นำกองทัพและรัฐบาลทหารเมียนมา
ภาพ: STR / AFP
(ฝ่ายกองทัพเมียนมา)
กองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF)
ภาพ: STR / AFP
(ฝ่ายกองทัพ หรือฝ่ายต่อต้าน?)
พ.อ. ชิต ตู่
ผู้นำกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA)
(กลุ่มกะเหรี่ยง BGF เดิม)
ภาพ: Karen Information Center
ทุนจีนสีเทา
ใกล้ชิด พ.อ. ชิต ตู่
ภาพ: The Irrawaddy
(ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร)
พะโด ซอ กวยทูวิน
ผู้นำสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU)
ภาพ: The Irrawaddy
(ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร)
กองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA)
ปีกทหารของ KNU
ภาพ: Karen National Union (KNU) / AFP
(ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร)
กองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF)
ภายใต้รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG)
ภาพ: Thierry Falise / LightRocket via Getty Images