นอกจาก ‘สายพันธุ์’ ของไวรัสโควิด-19 ที่อาจมีความรุนแรงขึ้นแล้ว ‘โรคประจำตัว’ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน แล้วใครล่ะที่มีความเสี่ยงสูงต่ออาการรุนแรงบ้าง
ผลการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลเทียบกับผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านในประเทศบราซิลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2020 ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene พบว่า
- ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็น 6.31 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า
- ผู้ชาย มีความเสี่ยงเป็น 1.74 เท่า เมื่อเทียบกับผู้หญิง
- โรคประจำตัว เมื่อเทียบผู้ที่ไม่มีโรคนั้นๆ มีความเสี่ยง ดังนี้
- โรคไต 7.43 เท่า
- สูบบุหรี่ 5.12 เท่า
- เบาหวาน 3.36 เท่า
- โรคหัวใจและหลอดเลือด 3.15 เท่า
- โรคปอด 2.38 เท่า
- ภาวะอ้วน 2.04 เท่า
เพราะฉะนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ควรป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อ สวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้าเมื่อต้องเดินทางออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสมาชิกคนอื่นในบ้าน และที่สำคัญควรฉีด ‘วัคซีน’ โควิด-19
โดยลงทะเบียนรับวัคซีนผ่าน 3 ช่องทาง 1. LINE OA / แอปพลิเคชัน ‘หมอพร้อม’ 2. โรงพยาบาลที่มีประวัติรับการรักษา หรือ 3. อสม. หรือรพ.สต. ในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ
พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล
อ้างอิง:
- Risk Factors for Hospitalization and Mortality due to COVID-19 in Espírito Santo State, Brazil https://doi.org/10.4269/ajtmh.20-0483